ผู้ใช้:Trai/menu


จากวันแม่ ถึงวันพ่อ
116 วัน สร้างสามัคคี
thผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่
ผู้ใช้คนนี้ จังหวัดเชียงราย
500ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
วิทยาศาสตร์
600ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี
ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียน HTML
ผู้ใช้คนนี้ใช้ไฟร์ฟอกซ์
ผู้ใช้นี้อยู่ในเขตเวลา UTC+7
แม่แบบ:User โลก

ประวัติส่วนตัว

แก้

ผมชื่อ ตรัย เป๊กทอง เป็นอาจารย์สอนทางด้านจุลชีววิทยา สิ่งแวดล้อม ที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บทสัมภาษณ์ดร.ตรัย เป๊กทอง- ดอกเตอร์ตั้งแต่วัย 28 นักสิ่งแวดล้อมและนักเขียน โดยวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

วงศ์ทนง: อยากให้ตรัยเล่าเรื่องเส้นทางการศึกษาของตัวเองที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่? ตรัย: เลือกเรียนคณะที่คนเรียนกันเยอะๆ คือวิทยาศาสตร์ครับพี่โหน่ง แต่จริงๆ ตอนสอบโควตาแอบเลือกหมอกับเภสัชฯ เอาไว้ด้วยเพราะว่าคุณพ่อกับคุณแม่อยากให้เรียนหมอตามค่านิยมของสังคมในสมัยนั้นครับ ส่วนพี่ชายอยากให้เรียนเหมือนกันกับพี่ชายคือเภสัชฯ แต่สุดท้ายคะแนนไม่ถึงเลยได้อันดับสามที่เลือกคือวิทยาศาสตร์แล้วก็เลือกสาขาวิชาจุลชีววิทยาครับ แต่จริงๆ อยากเรียนคอมพิวเตอร์นะครับ ไม่ได้ตั้งใจจะเป็นนักจุลชีววิทยาตั้งแต่แรก

วงศ์ทนง: แต่มันก็เป็นสิ่งที่อยู่ในพื้นฐานความสนใจอยู่แล้วใช่ไหม? ตรัย: ก็อยู่ใน 1 ใน 3 ของอันดับที่เราเลือกๆ ไว้อยู่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อันดับแรกที่เราเลือกอยากจะเรียนเอาไว้ก็ตาม

วงศ์ทนง: รู้สึกผิดหวังไหมที่ไม่ได้อันดับแรกที่เราเลือก? ตรัย: อืม...มาถึงวันนี้แล้วรู้สึกดีครับ เพราะว่ามันเหมือนเป็นเส้นทางที่ถูกขีดเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าเราต้องมาอยู่ตรงนี้ มานั่งให้สัมภาษณ์วันนี้ มาลงในอะเดย์เล่มนี้ ก็เลยเฉยๆ ครับ (ยิ้ม)

วงศ์ทนง: ได้อะไรจากการเรียนวิทยาศาสตร์ จุลชีววิทยา มันสนุกตรงไหน? ตรัย: อืม...ได้เห็นโลกที่ในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อนคือโลกของจุลินทรีย์ครับ ตอนนั้นได้เรียนหมดไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส สาหร่าย เห็ด ยีสต์ ไมโครพลาสม่า ฯลฯ ทั้งในด้านที่เป็นโทษและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโลก สนุกตรงที่เมื่อส่องกล้องซึ่งเป็นอาวุธคู่ชีพของนักจุลชีววิทยาได้เห็นเซลล์เล็กๆ ของมัน บางครั้งเมื่อเรียนก็ได้รู้เรื่องราวของเซลล์เล็กๆ ของมันว่าทำงานอย่างไร สืบพันธุ์อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องราวแปลกๆ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ชวนให้จินตนาการ เมื่อเรากลับเข้ามาสู่โลกความเป็นจริงแล้วเราก็สามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เราได้ศึกษามาสู่ชีวิตของคนเรา สังคมเรา โลก และเอกภพที่เราอาศัยอยู่ในที่สุด สังเกตว่างานเขียนของผมจะปรากฏคำว่า “เอกภพ” อยู่เยอะมาก

วงศ์ทนง: พี่เคยได้ยินอะไรประมาณนี้ดูจากสารคดี Discovery ว่าโลกของจุลินชีพมันเปรียบเทียบได้กับการค้นพบเอกภพ? ตรัย: ตอนนี้การค้นพบของเอกภพเราเป็นไปในสองทางครับพี่โหน่ง คือค้นหาสิ่งที่ใหญ่ที่สุดกับการค้นหาสิ่งที่เล็กที่สุด อย่างตอนนี้นักวิทยาศาสตร์เองก็ค้นพบสิ่งที่เล็กไปยิ่งกว่าคว้าก (Quark) แล้ว ยิ่งกว่าระดับนาโนที่เราเคยๆ ได้ยินกัน เพราะเราสามารถประดิษฐ์เครื่องมือที่ใช้ 2

ในการตรวจสอบการมีอยู่ของสิ่งที่เราสนใจจะศึกษาได้ครับ ก็เลยเขียนหนังสือที่พยายามจะบอกให้คนที่ไม่ได้เรียนทางวิทยาศาสตร์มาว่า วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ศึกษาได้ไม่สิ้นสุด

วงศ์ทนง: แสดงว่าพอเรียนไปแล้วมันทำให้เรารู้สึกชอบเลยทำให้เรารู้สึกอยากจะเรียนต่อ เป้าหมายของการเรียนต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกคืออะไร? ตรัย: ตอนแรกที่เรียนจบก็สมัครงานเอาไว้ด้วยครับ หมดรูปไปเป็นโหลๆ ลงไปสัมภาษณ์งานที่กรุงเทพฯ ด้วย พอประกาศผลแล้วก็ไม่ได้ เพื่อนที่เรียนเก่งกว่าได้ไป แล้วก็สมัครทุนเรียนต่อไปด้วย แบบว่าสร้างโอกาสให้ตัวเองทุกทาง คิดว่าตัวเองเป็นคนมีโชคทางด้านการศึกษานะครับที่ได้ทุนเรียนต่อในระดับปริญญาโทคือทุนสวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) มีเงินเดือนให้ทุกเดือนเป็นเวลา 2 ปีแบบรัฐบาลจ้างให้เราเรียน ทุนให้เปล่าด้วย จบแล้วไม่ต้องชดใช้เลยเรียนปริญญาโทจบเร็วมากคือ 2 ปีกับหนึ่งซัมเมอร์ คือช่วงนั้นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีค่าเฉลี่ยจำนวนปีของบัณฑิตศึกษาคือ 3.7 ปีครับ ดีใจที่เราดึงค่าเฉลี่ยลง

วงศ์ทนง: เรียนทางด้านไหนครับ ปริญญาโท? ตรัย: เรียนทางด้านชีววิทยานี่แหละครับ เพียงแต่ลงลึกไปในด้านที่เราได้ศึกษามาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ก็คือด้านสาหร่าย ด้านสิ่งแวดล้อม

วงศ์ทนง: เออ! ตรงนี้อยากถามว่าไปลงลึกสนใจที่จะศึกษาเรื่องสาหร่ายได้อย่างไร? ตรัย: ต้องบอกว่าเป็นดวงครับคือโชคดีจับพลัดจับผลูไปเจออาจารย์ที่ปรึกษาคนหนึ่งที่ตอนนี้บอกได้เลยว่าเปรียบเสมือนแม่คนที่สองของเราคือ รศ.ดร.ยุวดี พีรพรพิศาลและเราก็เป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่จบจากอาจารย์เป็นคนแรก อาจารย์จบดอกเตอร์มาจากอินส์บรูค ประเทศออสเตรีย (Innsbruck, Austria) จำได้ว่าอาจารย์เป็นคนชวนเรียนต่อโทเพราะเห็นว่าเราเรียนได้ มีศักยภาพและสนใจเลยพยายามหาทุนให้ มันก็ไหลเรื่อยมาเรื่อยๆ จนได้มาเรียนในระดับปริญญาเอกต่ออีก 4 ปีรวมเป็น 10 ปีที่อยู่ที่เชียงใหม่โดยได้ทุนมาเรื่อยๆ ตอนปริญญาเอกได้ทุน Biodiversity Research and Training Program หรือเรียกย่อๆ ง่ายๆ ว่าทุน BRT ของศาสตราจารย์ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วงศ์ทนง: ตอนเรียนดอกเตอร์มันหนักหนามากไหมครับ ยิ่งเรียนจบเร็วแบบเพิ่งอายุ 27-28 ปีเพราะมักจะรู้สึกว่าใครจะจบดอกเตอร์ต้อง 30 ขึ้นไป? ตรัย: หนักมากครับ ส่งงานไม่ผ่านร้องไห้ตั้ง 2 ครั้ง ไม่มีใครรู้ถ้าไม่เล่าให้ฟัง คือเรียนปริญญาเอกมันมีกำแพงอยู่หลายด่านที่ต้องข้ามผ่านไปให้ได้ อย่างเช่นสอบภาษาอังกฤษต้องผ่าน 3

เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ต้องผ่าน ทำงานวิจัยที่ละเอียดลึกซึ้งให้สำเร็จแบบมั่วไม่ได้เหมือนตอนที่เรียนปริญญาตรี ปริญญาโทและสุดท้ายก็สอบป้องกันวิทยานิพนธ์ให้ผ่านถึงจะจบได้ก็ใช้เวลาถึง 4 ปีกว่าจะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นมาได้ ก็รู้สึกดีและโล่งใจในที่สุดเพราะว่าเราทำได้สำเร็จแล้ว

วงศ์ทนง: ตอนนี้วุฒิของตรัยที่ได้มาคือ Ph.D. ทางด้านอะไร? ตรัย: อ่า...ปร.ด.จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ถ้าจะเอาให้ละเอียดกันจริงๆ นะครับ แต่ในใบปริญญาบอกแค่ปริญญาดุษฎีบัณฑิตชีววิทยาเพียงเท่านั้น ใครที่จบจากเมืองไทยก็จะเป็นภาษาไทย ส่วนที่จบจากเมืองนอกก็จะได้ Ph.D. หรือ Philosophy of Doctor หรือเรียกกันสั้นๆ ง่ายๆ ว่าดอกเตอร์นั่นแหละครับ เหมือนกันทั้งหมดทั้งประเทศเพราะเรียกง่าย

วงศ์ทนง: เท่ไหมเป็นดอกเตอร์ (หัวเราะ)? ตรัย: เออ...โดยส่วนตัวไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเท่อะไรเลย รู้สึกว่ามันเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่มีไว้ก็ดี เพื่อความมั่นใจในตัวเองแล้วก็เพื่อให้คนอื่นได้มั่นใจในสิ่งที่เราได้แสดงความคิดเห็นไป แต่...ก็บอกไว้ในที่นี้ว่ามันก็ไม่ได้ถูกเสมอไป เพราะว่าวิชาการมันเปลี่ยนไปทุกวันคือเรามั่นใจมากที่สุดในวันที่เราเพิ่งจบมาวันนั้นแหละ ว่ารู้เยอะ แต่อีกวันหนึ่ง อีกปีหนึ่งที่ผ่านๆ ไป อีก 5 ปีผ่านไปถ้าเราไม่ขวานขวายหาความรู้เพิ่มเติม อ่านหนังสือต่อ ทำวิจัยต่อตามวันเวลาที่โลกได้หมุนไปมันก็จะไม่มีความหมายอะไรในสิ่งที่เราเคยได้รู้

วงศ์ทนง: จริงๆ คนเราก็ยังต้องเรียนอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นดอกเตอร์แล้ว? ตรัย: ใช่ครับ คนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่เมื่อได้ดอกเตอร์แล้วชีวิตไม่ใช่จบแค่นั้นนะครับ มันยังมีตำแหน่งทางวิชาการที่เราต้องไต่ระดับให้สูงขึ้นไปอีกคือการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ (ผศ.ดร.) รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์ (รศ.ดร.) และศาสตราจารย์ดอกเตอร์ (ศ.ดร.) ต้องลองไปสัมภาษณ์คนที่ได้ศาสตราจารย์ดอกเตอร์แล้วว่าชีวิตสุดหรือหรือยังซึ่งตรัยคิดว่าเขาเองก็คงจะตอบว่ายังไม่สุดเพียงแค่นั้น

วงศ์ทนง: จบมาแล้วต้องเป็นอาจารย์อย่างเดียวเหรอครับ หรือว่าต้องชดใช้ทุนที่เรียนมาไหม? ตรัย: อ๋อ เผอิญทุนที่ได้มานี่เป็นทุนให้เปล่าครับพี่โหน่ง รัฐบาลเขาให้เราเรียนฟรี ไม่ต้องชดใช้ จบมาแล้วจะไม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ได้ ไปนอนเล่นอยู่ที่บ้านก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นอาจารย์ครับ รัฐบาลมีทุนแบบที่ต้องใช้ทุนด้วยเช่นทุน พสวท. (ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) แต่ต้องเป็นเด็กเก่งเกรดสูงๆ 3 กว่าเกือบ

4

4.00 เผอิญโชคดีเรียนได้เกรดน้อยๆ แบบเรียนไปด้วยทำกิจกรรมไปด้วยเลยได้มาพอที่จะใช้เรียนต่อปริญญาโทได้ เกรดตรัยตอนปอตรีเรียนได้แค่ 2.63 ช่วงนั้นจะเรียนต่อปริญญาโทได้ต้องเกรด 2.50 ขึ้นไปครับ

วงศ์ทนง: เดินมาสมัครเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้อย่างไร? ตรัย: สมัครมาเป็นอาจารย์ที่นี่ก่อนที่จะเรียนจบด้วยซ้ำไปและเขารับให้มาสอนที่นี่ก่อนที่จะเรียนจบด้วยซ้ำไปครับ แต่จริงๆ แอบไปขอใบสมัครที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเอาไว้ด้วยเพราะพี่ชาย (พี่ตุลย์) เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่นั่น พี่ชายเรียนเภสัชฯ ครับตอนนี้ไปเรียนต่อดอกเตอร์ตามน้องชายอยู่ที่ฝรั่งเศส ยังไม่ทันได้กรอกใบสมัครที่ม.นเรศวร ก็ทราบผลการสัมภาษณ์ที่ม.แม่ฟ้าหลวงเสียก่อนครับ

วงศ์ทนง: นี่ก็มาสอนที่นี่ได้ 5-6 ปีแล้ว ประสบการณ์ของการเป็นอาจารย์สอนชีววิทยา สอนสิ่งแวดล้อมให้เด็กรุ่นใหม่นี่เป็นอย่างไร? ตรัย: เท่าที่ค้นพบและเขียนลงไปในหนังสือก็คือค้นพบว่า การสอนคือการเรียนรู้แบบหนึ่ง (Teaching is learning) เท่าที่ตัวเองได้นะครับ เพราะว่าการสอนหนังสือคือการเรียนซ้ำอีกรอบหนึ่ง เราเคยเรียนเรื่องนี้มา อาจารย์เคยสอนเรา ตอนนี้เราก็เอามาสอนเด็กอีกรุ่นหนึ่งคือลูกศิษย์เรา และเราก็ได้สอนตัวเองไปด้วยเหมือนเรามีกระจกให้ส่องว่า อ๋อ เมื่อเราได้มองต่างมุมเราก็เคยนั่งฟังอาจารย์สอนเมื่อวันก่อนเราจะไม่ทำผิดพลาดอย่างที่อาจารย์เคยทำผิดพลาดกับเราคือสอนเราไม่รู้เรื่องในเรื่องนี้ เราก็จะพยายามสอนให้เด็กรู้เรื่องกว่าที่อาจารย์สอนเรา อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่เราได้มาจากการมีอาชีพเป็นอาจารย์ครับ

วงศ์ทนง: ในแง่วิชาชีพทางชีววิทยาที่ตรัยทำ เรื่องสาหร่ายนี่มันมีงานด้านอื่นๆ ธุรกิจอื่นๆ อีกบ้างไหม? ตรัย: หมายถึงงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ใช่ไหมครับ มีครับ อย่างเป็นนักวิจัยมืออาชีพตามสถาบันวิจัยต่างๆ เช่นสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) ไปอยู่แผนก R&D (Research and Develope) ตามฟาร์มต่างๆ บริษัทเอกชนก็มีที่ทำงานทางด้านผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร โปรตีนจากสาหร่าย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ไบโอดีเซลก็ได้เพราะว่าเหล่านี้เป็นผลิตผลของสาหร่ายแทบทั้งสิ้น

วงศ์ทนง: เรายังขาดบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่เยอะไหม ประเทศไทยเรา? ตรัย: ถ้าถามว่าสาขาวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้ถือว่ามีคนเรียนน้อยไหม คิดว่าน้อยนะครับ น้อยกว่าสาขาอื่นๆ เมื่อเทียบกันกับสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือว่าสื่อสารมวลชน 5

วงศ์ทนง: ถามตรัยให้วิเคราะห์ดูว่า แล้วทำไมเด็กไทยถึงเรียนวิทยาศาสตร์น้อย? ตรัย: ตอนนี้วิเคราะห์กับตัวเองก่อนดีกว่าว่า การที่นักวิทยาศาสตร์มีน้อยในโลกนี้ ดีไหม? ตอบว่าดีแล้วครับ เพราะว่าถ้านักวิทยาศาสตร์มีเยอะมากในโลกนี้จะทำให้โลกไปสู่หายนะเร็วขึ้นครับ กำลังเขียนบทความเรื่องนี้อยู่ครับ อะไรที่นักวิทยาศาสตร์คิดค้นขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์อันทันสมัยต่างๆ ล้วนแต่ใช้พลังงานและทรัพยากรของโลกมากยิ่งขึ้น อย่างเรื่องโลกร้อนที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่ในตอนนี้ก็สาเหตุหลักมาจากนักวิทยาศาสตร์แทบทั้งสิ้นครับ ถ้านักวิทยาศาสตร์ไม่ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้นมา น้ำมันก็ไม่ถูกใช้ใช่ไหมครับ อันนี้ลองคิดดูเอาเอง

วงศ์ทนง: หลายอย่างพอเข้าระบบธุรกิจ เศรษฐกิจแล้วมันทำให้เป็นอย่างนี้ไปใช่ไหมครับ? ตรัย: ใช่แล้วครับ เพราะฉะนั้นการที่นักวิทยาศาสตร์มีจำนวนเท่านี้ของโลกมันอาจจะดีแล้ว อย่ามีมากกว่านี้เลย (หัวเราะ) โดยส่วนตัวอาจจะแย้งต่อวิชาชีพของตัวเองคือไม่อยากให้มีนักวิทยาศาสตร์มากไปกว่านี้เลยครับ เดี๋ยวโลกมันจะแย่ไปกว่านี้

วงศ์ทนง: พี่โหน่งว่าน่าจะมีได้แต่ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีจิตสำนึกต่อโลกและสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้เช่นนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามคิดค้นเรื่องพลังงานทดแทน ถูกไหม? ตรัย: อืม..ผมว่านักวิทยาศาสตร์มีอยู่ 2 ประเภทคือหนึ่งประเภทที่มีจิตสำนึกดีๆ แต่ต่อต้านเรื่องวัตถุนิยมกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีจิตสำนึกดีๆ ก็จริงแต่รับเอาวัตถุนิยมเข้ามาใช้ เอาพลังงานมาใช้ ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ซึ่งเขาอาจจะชั่งน้ำหนักดูแล้วเห็นผลกระทบที่จะตามมา ตระหนักแต่ก็ยังทำก็มี

วงศ์ทนง: อีกภาคหนึ่งเท่าที่พี่รู้ก็คือตรัยเป็นคนเขียนหนังสือมาตั้งแต่สมัยที่เรียนมหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังหน่อย? ตรัย: เขียนหนังสือมาตั้งแต่มัธยมเลยครับแต่...ไม่เป็นโล้เป็นพาย เขียนบันทึกด้วย ตอนนี้ถ้าจะนับก็เขียนบันทึกทุกวันมา 18 ปีแล้ว ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 ตอนวันเกิดคือเพื่อนสนิทซื้อสมุดบันทึกให้ ตั้งแต่นั้นก็เขียนเรื่อยมา หายไปบางวันบ้างแต่ปีนี้เป็นปีที่บอกกับตัวเองว่าจะเขียนทุกวันไม่ให้ขาด ปลายปีก็จะมีหนังสือทำมือชื่อ “มายไดอารี่” คลอดออกมา ไม่ขายนะครับแต่จะแปลงเป็น PDF File แล้วแจกให้คนรู้จักเอาไปอ่าน ให้ดาว์นโหลดได้ฟรีทางอินเตอร์เน็ตด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่คิดๆ ไว้ตั้งแต่ต้นปี หนังสือเล่มแรกในชีวิตที่ได้พิมพ์คือตอนเรียนปอตรีปีหนึ่งคือหนังสือกลอน เขียนกลอนเปล่ารักๆ ใคร่ๆ ส่งสำนักพิมพ์วัยรุ่น วัยรุ่น ซึ่งเป็นความภูมิใจเป็น 6

อย่างมากเพราะเป็นการจุดประกายให้เข้าสู่วงการนักเขียน และได้เงินค่าต้นฉบับด้วย เลยไม่นึกว่าเอ้อ! ตัวหนังสือเราก็ขายได้ด้วยแฮะ และก็เขียนมาอีกเล่มหนึ่งติดๆ กัน ตอนเรียนปริญญาโทมีโอกาสได้ไปประชุมที่เมืองนอก มหาวิทยาลัยที่อาจารย์ยุวดีท่านจบมาเลยเขียนสารคดีเรื่อง “ไปมาแล้วอินส์บรูค” ส่วนตอนที่เรียนปอเอกนี่แทบจะหยุดเขียนหนังสือไปเลยเพราะว่าเรียนหนักมาก แต่หลังจากที่เรียนจบปุ๊บเนี่ยหัวสมองมันโล่ง สวิทช์ตัวเองไปอยู่อีกภาคหนึ่งเลยคือจากภาควิชาการเป็นอวิชาการไปเลย ตะลุยอ่านนิยาย หนังสืออื่นๆ ที่ไม่ใช่วิชาการแล้วก็เขียนหนังสือออกมาเป็นคุ้งเป็นแควด้วยความอัดอั้นตันใจ งานเขียนหลังปีพ.ศ. 2545 ที่เรียนจบมาจะสังเกตเห็นได้ว่ามีผลงานออกมาเรื่อยๆ ปีละมากกว่า 1 เล่มก็มี จนมาถึงวันนี้มีผลงานมา 20 เล่มแล้วและกำลังจะเขียนเล่มที่ 21 คือเรื่อง “นิพพานแล้วไปไหน?” โปรดติดตามครับ

วงศ์ทนง: เดี๋ยวพี่จะไปไล่ดูว่ามีเล่มไหนบ้าง เพราะเห็นจากรายชื่อหนังสือที่เขียนมากับหนังสือที่ให้พี่มา 2-3 เล่ม? ตรัย: อ๋อครับ แล้วก็มีรายชื่อหนังสือที่อยากเขียนอีกเยอะคือบางเล่มตั้งชื่อเอาไว้แล้ว บางเรื่องคิดโครงเรื่องคร่าวๆ เอาไว้ บางเล่มเขียนไปครึ่งค่อนเล่มแล้วแต่ยังไม่สามารถเขียนต่อจนจบได้ นิยายทั้งสองเรื่องก็เขียนค้างเอาไว้ เคยบอกพี่โหน่งเอาไว้ว่าจะลาออกจากการเป็นอาจารย์ไปเขียนหนังสืออย่างเดียว แต่ถูกคุณพ่อกับคุณแม่ยั้งเอาไว้ว่าเสียดายเงินเดือน เสียดายความรู้และการทำอาชีพอาจารย์สอนหนังสือคน ถ้าไม่ได้เป็นอาจารย์แล้วผมคิดว่าตัวเองจะเขียนหนังสือได้เยอะมาก และมากกว่าที่เคยเขียนมาด้วย แต่ก็ไม่เป็นไร

วงศ์ทนง: แล้วเป็นไงมาไงถึงมาตั้งชมรมหนังสือทำมือที่แม่ฟ้าหลวง? ตรัย: อ๋อ...เคยพูดไว้ในบทบรรณาธิการหนังสือกล้าไม้ของชมรมฯ เล่มแรกว่า หนึ่งเป็นความชอบส่วนตัวและสองทนคำรบเร้าของเด็กๆ ที่โพสไว้ในกระดานสนทนาของเวปไซต์มหาวิทยาลัยไม่ได้ที่ต้องการจะตั้งชมรมนักเขียนขึ้นมาในรั้วมหาวิทยาลัยจึงปรึกษากันกับเพื่อนรักอีกคนคืออาจารย์ภัททิรา วิภวภิญโญ จนได้ออกมาเป็น “ชมรมหนังสือทำมือ” เพราะว่าตอนนั้นกระแสทำมือกำลังมาแรง จนได้สมาชิกชมรมฯ ประธานชมรมฯ มีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานเขียนบ้างไม่ใช่งานเขียนบ้างเรื่อยมา ตอนนี้ทำมา 5 ปีแล้ว

วงศ์ทนง: เด็กๆ มีความสนใจดีไหมครับ? ตรัย: อืม...ถ้าจะวัดความสนใจเป็นผลสัมฤทธิ์ก็คงจะวัดที่ปริมาณงานเขียนหรือหนังสือที่ทำกันออกมามากกว่าเพราะว่าชมรมหนังสือทำมือก็ต้องเขียนหนังสือกันออกมา ถือว่ายังน้อยอยู่ ยังไม่มาก ตัวจริงเท่านั้นที่จะเขียน ใบสมัครสมาชิกวันแรกที่ได้มาเป็นพันคนก็จริงแต่เวลาเรียก 7

ประชุมก็เหลือแค่หลักร้อย พอถึงเวลาทำหนังสือเขียนหนังสือก็มีตัวจริงแต่ 10 กว่าคน ก็เป็นธรรมดาก็ถือว่าตัวจริงก็คือตัวจริง แต่ชมรมฯ เราเปิดกว้างอยู่แล้ว ถึงแม้ไม่ใช่สมาชิกชมรมฯ บางครั้งก็สามารถส่งงานเขียนเข้ามาได้ เพื่อนข้างนอกมหาวิทยาลัยเราก็เคยอีเมล์ของานเขียนเข้ามาทำหนังสือชมรมฯ

วงศ์ทนง: เออ...ลองเล่ากิจกรรมของชมรมฯ ให้ฟังหน่อยครับ? ตรัย: เรารับสมัครสมาชิกชมรมฯ ใหม่ในงานเปิดโลกกิจกรรมทุกปีอยู่แล้ว มีกิจกรรมออกค่ายเป็นประจำทุกปี อย่างค่ายเหลาดินสอนี่ทำมาตั้งแต่รุ่นแรกที่เชิญวิทยากรมาอบรมการเขียน พี่จุ้ย (ศุ บุญเลี้ยง) ก็เคยมาเป็นวิทยากรเรื่อง “เขียนอย่างไรไม่ให้ลงตะกร้า” พี่ธรรมศักดิ์ พึ่งตนเพียรก็มาอบรมเรื่องการทำหนังสือ การเป็นบรรณาธิการหนังสือ นอกจากการอบรมแล้วเรายังมีการทำหนังสือทำมือของชมรมฯ ปีละอย่างน้อยหนึ่งเล่ม นี่ไม่นับหนังสือทำมือส่วนตัวที่ใครอยากทำก็ทำเองได้เลยก็มี พอมีงานในมหาวิทยาลัยเราก็เอาออกมาอวดกัน หรือจะขายแบบไม่ซีเรียสเรื่องเงินๆ ทองๆ ก็มีครับ

วงศ์ทนง: คาดหวังอะไรกับการทำชมรมหนังสือทำมือขึ้นมาในมหาวิทยาลัยที่อยู่ต่างจังหวัดอย่างนี้? ตรัย: อ๋อ...แน่นอนครับเคยได้ยินพี่จุ้ยบอกเอาไว้ครับเมื่อครั้งที่ทำหนังสือไปยาลใหญ่ก็คือสิ่งที่เขาภูมิใจมากที่สุดก็คือการที่นักเขียนที่เคยเขียนลงในนั้น ทุกวันนี้กลายเป็นนักเขียนชื่อดังกันไปหลายคนแล้ว อย่างพี่ปราย พันแสง เพลงดาบแม่น้ำร้อยสายเป็นต้น ก็เหมือนกันกับที่คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรีที่ลูกศิษย์ลูกหาของเขาในช่อการะเกดทุกวันนี้ก็สร้างชื่อในวงการวรรณกรรมกันหลายต่อหลายคน เขียนหนังสือดีๆ ทำอะไรที่ดีๆ ให้กับบรรณภิภพครับ สักวันหนึ่งอาจจะมีนักเขียนที่บอกว่าครั้งหนึ่งเขาเคยอยู่ในชมรมหนังสือทำมือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงก็เป็นได้ครับ นั่นคือความภูมิใจและความคาดหวังของคนที่ก่อตั้งชมรมฯ นี้ขึ้นมาครับ

วงศ์ทนง: โอเคครับ คำถามสุดท้ายแล้วกัน ตรัยทำงานเท่าที่พี่โหน่งคุยดูแล้ว เหมือนกับว่าอยู่สองโลกเลย แต่จริงๆ แล้วสองโลกนี้มันมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไหม? ตรัย: จริงๆ มีสามโลกครับ พี่โหน่งอาจยังไม่รู้

วงศ์ทนง: โลกติ๊งต๊องอีกโลกหนึ่งที่เคยคุยกันเหรอครับ (หัวเราะ)? ตรัย: (หัวเราะด้วย) เอาเป็นจริงๆ ดีกว่าครับ เคยเขียนไว้ในหนังสือว่าเรามีมุมที่คนอื่นอยากให้เราเป็น แล้วก็อีกมุมก็คือมุมที่เราอยากจะเป็น ส่วนมุมสุดท้ายนี้ไม่มีใครรู้ ก็คือมุมที่เราเป็น 8

จริงๆ มุมนี้อ่ะลึกที่สุด เพราะฉะนั้นต้องตามอ่านหนังสือที่เราเขียนเอาเอง (หัวเราะเริงร่า) โฆษณาแฝง แต่อย่าคิดว่า เราเป็นอย่างตัวละครที่เราเขียนในหนังสือนะครับ บางคนเห็นเราเป็นนักวิชาการ เป็นอาจารย์ หรือมองเราเป็นเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งก็ได้เพราะสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็นเสมอไป ใช่ไหมครับ...

สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2551 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วิชาที่ผมสอน

แก้

ความสนใจ

แก้
  • Bioindicator
  • Diatoms taxonomy
  • Trophic Diatom Index (TDI)
  • Waste water treatment
  • Biofuel from algae

โครงการปัจจุบัน

แก้
  NODES
os 1
Training 1