ฝิ่น (อังกฤษ: Opium, poppy tears: ชื่อวิทยาศาสตร์: Lachryma papaveris)[4] เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคาลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ที่เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า

ฝิ่น
ผลฝิ่นมียางไหลออกมาเนื่องจากการกรีด
Source plant(s)Papaver somniferum
Part(s) of plantน้ำยาง แคปซูล หรือ ผลแห้งแตก และเมล็ด
Geographic originUncertain, possibly Asia Minor,[1] or Spain, southern France and northwestern Africa[2]
Active ingredients
Main producers
Main consumersWorldwide (#1: Iran)[3]
Legal status

แอลคาลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมาและเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคาลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคาลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)
  • ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่าแอลคาลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติดแต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ

ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 ฟุตขึ้นไป เป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่นมากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำ เนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากการนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก

ฝิ่นมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นอัลคาลอยด์มากกว่า 30 ชนิด ที่สำคัญและในปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ได้แก่

  1. มอร์ฟีน พบในฝิ่นราวร้อยละ 4-21 ใช้เป็นยาแก้ปวดที่อาจทำให้เสพติด เป็นยานอนหลับและทำให้เสพติดอย่างแรง ใช้ในรูปยาฉีดเท่านั้น เมื่อเอามอร์ฟีนไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกับอะเซติกแอนไฮดรายด์ จะได้สารกึ่งธรรมชาติเรียก เฮโรอีน มีฤทธิ์เหมือนกับมอร์ฟีน แต่แรงกว่าและติดได้ง่ายกว่ามาก
  2. โคดีอีน พบในฝิ่นร้อยละ 0.8-2.5 ใช้เป็นยาแก้ปวดที่อาจทำให้เสพติดเป็นยาระงับอาการไอ ใช้เป็นยานอนหลับให้ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับเนื่องจากอาการไอ มีฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีน แต่อ่อนกว่า และผู้ใช้ติดยาได้น้อยกว่ามาก ใช้ได้ทั้งในรูปกินและฉีด
  3. นอสคาพีน หรือ นาร์โคทีน พบในฝิ่นร้อยละ 4-8 ใช้เป็นยาระงับอาการไอไม่ทำให้เสพติดรุนแรง
  4. พาพาเวอรีน พบในฝิ่นราวร้อยละ 0.5-2.5 ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อเรียบใช้ได้ทั้งรูปยากินและยาฉีด

อ้างอิง

แก้
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Schiff
  2. Professor Arthur C. Gibson. "The Pernicious Opium Poppy". University of California, Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 20, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 22, 2014.
  3. "The Global Heroin Market" (PDF). October 2014.
  4. "ประเภทของยาเสพติด". www.phichai.ac.th.
  NODES