พ.ศ. 2544
ปี
พุทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1363 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2544 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2001 MMI |
Ab urbe condita | 2754 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1450 ԹՎ ՌՆԾ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6751 |
ปฏิทินบาไฮ | 157–158 |
ปฏิทินเบงกอล | 1408 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2951 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 49 Eliz. 2 – 50 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2545 |
ปฏิทินพม่า | 1363 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7509–7510 |
ปฏิทินจีน | 庚辰年 (มะโรงธาตุโลหะ) 4697 หรือ 4637 — ถึง — 辛巳年 (มะเส็งธาตุโลหะ) 4698 หรือ 4638 |
ปฏิทินคอปติก | 1717–1718 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3167 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1993–1994 |
ปฏิทินฮีบรู | 5761–5762 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2057–2058 |
- ศกสมวัต | 1923–1924 |
- กลียุค | 5102–5103 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12001 |
ปฏิทินอิกโบ | 1001–1002 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1379–1380 |
ปฏิทินอิสลาม | 1421–1422 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 13 (平成13年) |
ปฏิทินจูเช | 90 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4334 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 90 民國90年 |
เวลายูนิกซ์ | 978307200–1009843199 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม - ประเทศกรีซกลายเป็นประเทศที่ 12 ที่เข้าร่วมยูโรโซน[1]
- 11 มกราคม – การควบรวมกิจการของเอโอแอลกับวอร์เนอร์มีเดียมีผลบังคับใช้[2]
- 15 มกราคม - เปิดตัววิกิพีเดียอย่างเป็นทางการ[3]
- 20 มกราคม - จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 43[4]
- 26 มกราคม - เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในรัฐคุชราตของประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 คนและบาดเจ็บมากกว่า 166,000 คน[5]
- 29 มกราคม - นักศึกษาในประเทศอินโดนีเซียก่อจลาจลบุกรัฐสภา เรียกร้องให้ประธานาธิบดี อับดุรเราะห์มาน วาฮิด ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นในคดีทุจริตในตำแหน่งหน้าที่[6]
กุมภาพันธ์
แก้- 6 กุมภาพันธ์ - เอเรียล ชารอน ชนะการเลือกตั้ง และขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิสราเอล
- 12 กุมภาพันธ์ - ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ลงแตะพื้นดินดาวเคราะห์น้อยอีรอส เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย
- ไม่ทราบวัน - สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก เสด็จพระราชดำเนินเยือน ราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วย เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี
มีนาคม
แก้- 4 มีนาคม - เกิดระเบิดพลีชีพในเมืองเนทันยา ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต 3 คน กลุ่มฮามาสออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 9 มีนาคม - ตาลีบันทำลายพระพุทธรูปบามิยันด้วยระเบิดไดนาไมต์
- 15 มีนาคม - สลัดอากาศชาวเชเชน 3 คน บุกจี้เครื่องบินรัสเซียที่บินไปกรุงมอสโก ให้ไปลงที่เมืองมะดีนะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หน่วยความมั่นคงของซาอุดิอาระเบียได้บุกยึดเครื่องบิน สังหารสลัดอากาศได้ มีผู้โดยสารเสียชีวิตด้วย
- 23 มีนาคม - รัสเซียบังคับให้สถานีอวกาศมีร์ ทำลายตัวเองในชั้นบรรยากาศ ชิ้นส่วนสถานีตกลงในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับเกาะฟิจิ
พฤษภาคม
แก้- 27 พฤษภาคม - กลุ่มอาบูไซยาฟจับตัวนักท่องเที่ยว 13 คนบนเกาะปาลาวันและอีก 3 คนบนเกาะบาสิลัน กองทัพฟิลิปปินส์เข้าช่วยเหลือ มีตัวประกันหนีมาได้ 9 คน เสียชีวิต 2 คน
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน - การสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล
- 7 มิถุนายน - พรรคแรงงาน นำโดย โทนี แบลร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาลสมัยที่ 2 ในสหราชอาณาจักร
- 12 มิถุนายน - กลุ่มอาบูไซยาฟเข้ายึดโรงพยาบาลในเมืองลามิงตัน เพื่อจับตัวประกัน
- 20 มิถุนายน - เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีปากีสถาน
สิงหาคม
แก้- 11 สิงหาคม - เหตุการณ์โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 147 คน ราษฎรกว่า 1,700 หลังคาเรือน ไร้ที่อยู่อาศัย
กันยายน
แก้- 9 กันยายน - เกิดระเบิดพลีชีพในอัฟกานิสถาน ทำให้อาหมัด ชาห์ มาซูด ผู้นำกลุ่มพันธมิตรฝ่ายเหนือ ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต
- 11 กันยายน - วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544: ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินโดยสาร 3 ลำ เพื่อโจมตีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ อาคารแฝดในนครนิวยอร์ก และอาคารเพนทากอน ที่ตั้งกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. เครื่องบินลำที่ 4 ตกในรัฐเพนซิลเวเนีย มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้เกือบ 3,000 คน
ตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม - เกิดระเบิดพลีชีพที่ประตูสภานิติบัญญัติเมืองศรีนาคา ประเทศอินเดีย มีมือปืนสองคนบุกเข้าจับตำรวจเป็นตัวประกัน ก่อนจะถูกสังหาร มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 40 คน
- 7 ตุลาคม - สงครามต่อต้านการก่อการร้าย: การรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 23.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ด้วยการทิ้งระเบิดโจมตีกองกำลังตาลิบันและอัลไกดาทางอากาศ
- 17 ตุลาคม - รีฮาแวม ซีวี รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวอิสราเอลถูกลอบสังหารโดยมือปืนชาวปาเลสไตน์ ทั้งนี้ กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 23 ตุลาคม - บริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ วางจำหน่ายไอพ็อด
- 25 ตุลาคม
- บริษัทไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์เอกซ์พี
- เกิดเหตุการณ์คลังเก็บวัตถุระเบิดของแผนกที่ 5 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ระเบิด ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน บาดเจ็บ 90 คน
- 26 ตุลาคม - ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ลงนามในรัฐบัญญัติความรักปิตุภูมิ
- 28 ตุลาคม - มือปืนสวมหน้ากาก 6 คนกราดยิงเข้าไปในโบสถ์คริสต์ในเมืองบาฮาวาลเทอร์ ประเทศปากีสถาน มีผู้เสียชีวิต 15 คน
พฤศจิกายน
แก้- 10 พฤศจิกายน - จอห์น โฮเวิร์ด ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ในประเทศออสเตรเลีย
- 13 พฤศจิกายน - การเจรจาการค้ารอบโดฮา: องค์การการค้าโลกปิดการประชุมที่ยาวนาน 4 วัน ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์
- 26 พฤศจิกายน - คอนดรุซ ที่มั่นสุดท้ายของตาลีบันถูกพันธมิตรฝ่ายเหนือยึดครองได้
- 27 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม - การแข่งขันฟุตซอลไทเกอร์ไฟว์ส ณ สนามสิงคโปร์อินดอร์สเตเดียม สาธารณรัฐสิงคโปร์
ธันวาคม
แก้- 2 ธันวาคม
- สิ้นสุดการแข่งขันฟุตซอลไทเกอร์ไฟว์ส : ทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศระดับคัพ ได้แก่ ทีมฟุตซอลทีมชาติสเปน ทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศระดับเพลท ได้แก่ ทีมฟุตซอลทีมชาติอิหร่าน และทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศระดับโบวล์ ได้แก่ ทีมฟุตซอลทีมชาติไทย
- เกิดระเบิดพลีชีพรถประจำทางที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต 15 คน กลุ่มฮามาสออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 11 ธันวาคม - สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หลังจากการเจรจานาน 15 ปี
- 13 ธันวาคม - ผู้ก่อการร้ายโจมตีรัฐสภาอินเดีย มีผู้เสียชีวิต 14 คน และเกือบทำให้เกิดสงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน
วันเกิด
แก้- 29 มกราคม - พลอย ศรนรินทร์ นักแสดงชาวไทย
- 14 กุมภาพันธ์ - อัลบาโร ซานซ์ นักฟุตบอลชาวสเปน
- 24 กุมภาพันธ์ - แพรวา สุธรรมพงษ์ ไอดอลชาวไทย
- 13 มีนาคม - แมตทิว ฮอปปี นักฟุตบอลชาวอเมริกัน
- 24 มีนาคม - สุภทัต โอภาส (อาไท กลมกิ๊ก) นักแสดงชาวไทย
- 27 เมษายน - อันเดรอา อากิเลรา นางแบบและนางงามชาวเอกวาดอร์
- 5 มิถุนายน - อี แช-รย็อง นักร้องชาวเกาหลีวงอิดจี
- 9 มิถุนายน - กรภัทร์ นิลประภา ไอดอลชาวไทย
- 16 มิถุนายน - นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ นักแสดงชาวไทย
- 28 มิถุนายน - จินเจษฎ์ วรรธนะสิน นักร้องสัญชาติไทย-อเมริกัน
- 5 กรกฎาคม - แฮนน่า โรสเซ็นบรูม นักร้อง และนักแสดงในไทย ลูกครึ่งลาว-อเมริกัน
- 19 กรกฎาคม - อาภัสรา เลิศประเสริฐ นักแสดงชาวไทย
- 6 กันยายน - ปณิศา ศรีละเลิง ไอดอลชาวไทย
- 4 ตุลาคม - ณัฐกุล พิมพ์ธงชัยกุล ไอดอลชาวไทย
- 7 ตุลาคม - เจ้าหญิงซีนาตี เซโอโซแห่งเลโซโท
- 9 ตุลาคม - ณัฏฐธิดา อาสานนิ ไอดอลชาวไทย
- 23 ตุลาคม - วีรยา จาง ไอดอลชาวไทย
- 25 ตุลาคม - เจ้าฟ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ มกุฎราชกุมารีแห่งเบลเยียม
- 27 ตุลาคม - เอริอิ ชิบะ สมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต
- 1 พฤศจิกายน - วรรษมณฑ์ พงษ์วานิช นักร้องชาวไทย
- 6 พฤศจิกายน - ปวีณ์ธิดา สกุลพิพัฒน์ ไอดอลชาวไทย
- 28 พฤศจิกายน - พิมพ์นิภา ตั้งสกุล ไอดอลชาวไทย
- 1 ธันวาคม - เจ้าหญิงไอโกะแห่งญี่ปุ่น
วันถึงแก่กรรม
แก้- 31 กรกฎาคม - พอล แอนเดอร์สัน นักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469)
- 3 กันยายน - จรัล มโนเพ็ชร นักดนตรีชาวไทย (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2498)
- 18 กันยายน - บุษบา อธิษฐาน นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย (เกิด 2 เมษายน พ.ศ. 2510)
- 24 ตุลาคม - นิยม มารยาท นักร้องลูกทุ่งและนักแต่งเพลงชาวไทย
- 26 ธันวาคม - เสาว์ บุญเสนอ นักเขียนชาวไทย (เกิด 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2452)
บันเทิงคดีที่อ้างถึงปีนี้
แก้- อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก และ สแตนลีย์ คูบริก กำหนดให้เนื้อหาใน 2001 จอมจักรวาล ภาพยนตร์ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2511 เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21
- เนื้อหาในภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง ยูไนเต็ด 93 (ไฟลท์ 93) และ เวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ที่เกิดขึ้นในปีนี้
- สาขาเคมี – William S. Knowles, Ryoji Noyori, K. Barry Sharpless
- สาขาวรรณกรรม – เซอร์ วี เอส ไนปอล
- สาขาสันติภาพ – สหประชาชาติ, โคฟี อันนัน
- สาขาฟิสิกส์ – อีริค แอลลิน คอร์เนลล์, วูล์ฟกาง เคทเทอร์ลี, คาร์ล เอดวิน ไวอ์แมน
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ลีแลนด์ เอช. ฮาร์ทเวลล์, อาร์ ทิโมธี ฮันท์, เซอร์ พอล เอ็ม. เนิร์ส
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – George A. Akerlof, Michael Spence, Joseph E Stiglitz
อ้างอิง
แก้- ↑ "Greece joins euro". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2001-01-01. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
- ↑ "AOL-Time Warner deal gets OK". CNN. 2001-01-11. สืบค้นเมื่อ 2022-12-01.
- ↑ Kock, N., Jung, Y., & Syn, T. (2016). Wikipedia and e-Collaboration Research: Opportunities and Challenges. เก็บถาวร กันยายน 27, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Journal of e-Collaboration (IJeC), 12(2), 1–8.
- ↑ "President Bush sworn in" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2001-01-20. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
- ↑ "M7.7 Bhuj " Republic Day " Earthquake, 2001". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007. สืบค้นเมื่อ 18 November 2006.
- ↑ "Clashes as 10,000 besiege Indonesian parliament". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2001-01-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
อ่านเพิ่ม
แก้- McGuinness, Phillipa (2018). The Year Everything Changed: 2001. Vintage Books. ISBN 9780143782421.
- "Review: The Year Everything Changed: 2001 by Phillipa McGuinness by Miriam Cosic, The Australian, June 9, 2018