ฦๅ
ฦๅ หรือ ตัวลือ สามารถใช้เป็นสระลอย ไม่มีพยัญชนะสะกด ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล, ฦ และก่อนหน้า ว อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต ॡ/ॣ เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ลฺรี"
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฦๅ | |||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | –ั | า | –ํ | –ิ | ' | " | |
–ุ | –ู | เ | โ | ใ | ไ | –็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
–่ | –้ | –๊ | –๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
–์ | –๎ | –ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | |||||
๏ | ๚ | ๛ | ┼ |
เดิมตำราหลักภาษาไทยมักกำหนดให้ "ฦ" และ "ฦๅ" เป็นสระ ตามหลักอักขรวิธีในภาษาสันสกฤต แต่การใช้ "ฦๅ" ในภาษาไทยนั้น ใช้เป็นคำ ๆ หาได้ใช้อย่างสระเพื่อประสมกับพยัญชนะอย่างในสันสกฤตไม่ ดังนั้นในตำราภาษาไทยรุ่นใหม่ จึงไม่จัด ฦๅ เป็นสระ ส่วนทางภาษาศาสตร์นั้น ถือว่า ฦๅ เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย พยัญชนะ (ล) และสระ (อือ) จึงไม่ใช่เป็นสระหรือพยัญชนะ แต่โดยทั่วไป ในแผนผังอักษรไทย ก็ยังจำแนกไว้ตามแบบเดิม
ถึงแม้ภาษาสันสกฤตจะถือว่า ฦๅ (และ ฦ) เป็นสระตัวหนึ่ง ใช้ประสมกับพยัญชนะอื่นได้ แต่ก็ปรากฏอยู่น้อยคำ เช่น "ฦๅ" หมายถึง พระฦๅ เป็นมารดาของเหล่าทานพ, ชายาของไทตย เป็นต้น แต่ในคำศัพท์ภาษาไทย เท่าที่ปรากฏในพจนานุกรม เสียง ฦๅ มีใช้กับคำไทยโบราณเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยคำ ใช้ในหนังสือเก่า คำต่าง ๆ ที่เคยใช้ ฦๅ ได้เปลี่ยนไปใช้ ฤ, ฤๅ หรือ "ลือ" แทน เช่น
- [เลื่อง]ฦๅ → [เลื่อง]ลือ
- ฦๅชา → ฤชา, ลือชา
- ฦๅสาย → ฤๅสาย, ลือสาย
ปัจจุบันยังสามารถพบเห็น ฦๅ ได้กับชื่อเฉพาะบางชื่อเช่น ฦๅไชย (ลือไชย) ฦๅชัย (ลือชัย) ฦๅนาม (ลือนาม) ฦๅกำลัง (ลือกำลัง) (นามสกุล)