ทรวงอก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ทรวงอก หรือ หน้าอก (อังกฤษ: chest) เป็นส่วนหนึ่งของกายวิภาคศาสตร์มนุษย์และในสัตว์หลายชนิด ซึ่งบางครั้งเรียกว่า อก (thorax)
กายวิภาคศาสตร์ของทรวงอก
แก้ในสัตว์วงศ์ Hominidae ทรวงอกเป็นบริเวณของร่างกายที่อยู่ระหว่างคอและท้องทางด้านหน้าของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะภายในและโครงสร้างอื่น ๆ ด้วย โครงสร้างส่วนใหญ่ถูกปกป้องและค้ำจุนโดยกระดูกซี่โครง, กระดูกสันหลัง และกระดูกโอบอก ส่วนประกอบในทรวงอกที่สำคัญมีดังนี้
- อวัยวะ
- กล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้อเพคทอราลิส เมเจอร์ (pectoralis major)
- กล้ามเนื้อเพคทอราลิส ไมเนอร์ (pectoralis minor)
- กล้ามเนื้อทราพีเซียส (trapezius muscle)
- โครงสร้างภายใน
- หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
- หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (aorta)
- หลอดเลือดดำใหญ่ซุพีเรียร์เวนาคาวา (superior vena cava)
- หลอดเลือดดำใหญ่อินฟีเรียร์เวนาคาวา (inferior vena cava)
- หลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary artery)
- กระดูก
- เบ้าไหล่ ประกอบด้วยส่วนบนของกระดูกต้นแขน (humerus)
- กระดูกสะบัก (scapula)
- กระดูกอก (sternum)
- กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebrae)
- กระดูกไหปลาร้า (collarbone)
- กระดูกซี่โครง (ribcage)
- ซี่โครงลอย (floating ribs)
- โครงสร้างภายนอก
- ส่วนท้องที่อยู่ในช่องอก (thoracic abdomen) เช่น กระเพาะอาหาร ไต ตับอ่อน ม้าม และหลอดอาหารส่วนล่าง
อกในสัตว์ชนิดอื่น ๆ
แก้ในแมลงและสัตว์ชนิดอื่นที่มีโครงกระดูกภายนอก บริเวณระหว่างส่วนหัวและท้องเรียกว่า อก (thorax)
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสี่ขา ต่อมน้ำนมและหัวนมจะอยู่ใกล้ ๆ กับขาหลัง ซึ่งไม่เป็นส่วนหนึ่งของอก ส่วนอวัยวะภายในอื่น ๆ ก็เหมือนกับมนุษย์เพียงแต่มีการเรียงตัวแตกต่างกัน
การบาดเจ็บที่ทรวงอก
แก้การบาดเจ็บที่ทรวงอก (chest trauma, thoracic injury หรือ thoracic trauma) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงร้อยละ 25 ของสาเหตุการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางกายภาพในสหรัฐอเมริกา[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ Shahani, Rohit, MD. (2005). Penetrating Chest Trauma. eMedicine. Retrieved 2005-02-05.