องุ่น
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 60Ma
Paleocene- Recent
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
ชั้นย่อย: Rosidae
อันดับ: Vitales[1]
วงศ์: Vitaceae
สกุล: Vitis
L.[2]
สปีชีส์

องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลำต้น กิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อกลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด[3]

ความเชื่อของผลองุ่น

แก้

ถ้าให้พูดถึงผลไม้มงคลที่นิยมนำมาไหว้เจ้ามีหลากหลายชนิด แต่ผลไม้ที่นิยมคือ องุ่น โดยเฉพาะ องุ่นแดง ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะนำมงคลมาให้กับผู้ไหว้พระ ขอพร และเสริมความเป็นมงคลให้กับตัวเองและครอบครัว ที่สำคัญต้องเป็นองุ่นแดงเพราะว่าด้วยเรื่องของเคล็ดลับเรื่องสีที่เป็นมงคล สีที่นำโชคการที่นำองุ่นมาไหว้จะทำให้ผู้ไหว้และครอบครัวมีความรุ่งเรืองและเติบโตเจริญงอกงาม โดยสื่อความหมายไปในทางภาษาจีน โดยชาวจีนแต้จิ๋วจะเรียกว่า ผู้ท้อ หมายถึงความเจริญงอกงาม และตามศาสตร์ฮวงจุ้ยแล้วองุ่นหมายถึงความสมบูรณ์ ตัวแทนของความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้เราเห็นว่าบ้านของคนจีนบางบ้านจะมีต้นองุ่นปลูกอยู่ และยังมีความเชื่ออีกว่าองุ่นจะเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี [4]

ประวัติการปลูก

แก้

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีการบ่งบอกว่ามีการปลูกองุ่นกันมามากกว่า 5,000 ปี แต่จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จากการจัดเรียงลำดับจีโนมของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ พบว่า มนุษย์รู้จักและบริโภคองุ่นมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 15,000 ปีแล้ว ซึ่งนับว่าตั้งแต่ยุคที่มนุษย์จะรู้จักการเพาะปลูก[5]

องุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาในสมัยใด แต่คาดว่าน่าจะนำเข้ามาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ท่านได้นำพันธุ์ไม้แปลก ๆ จากต่างประเทศที่ได้เสด็จประพาสมาปลูกในประเทศไทย และเชื่อว่าในจำนวนพันธุ์ไม้แปลก ๆ เหล่านั้นน่าจะมีพันธุ์องุ่นรวมอยู่ด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีหลักฐานยืนยันว่าเริ่มมีการปลูกองุ่นกันบ้างแต่ผลองุ่นที่ได้มีรสเปรี้ยว การปลูกองุ่นจึงซบเซาไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้เริ่มมีการปลูกองุ่นอย่างจริงจัง โดย หลวงสมานวนกิจ ได้นำพันธุ์องุ่นมาจากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และปี พ.ศ. 2497 ดร.พิศ ปัญญาลักษณ์ ได้นำพันธุ์องุ่นมาจากทวีปยุโรปซึ่งสามารถปลูกได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นับแต่นั้นมาการปลูกองุ่นในประเทศไทยจึงแพร่หลายมากขึ้น

อนึ่ง ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา มีข้อความกล่าวถึง "ป้อมสวนองุ่น"[6] จึงเป็นไปได้ว่าน่าจะมีการนำพันธุ์องุ่นมาปลูกแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา

สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร

แก้
 
องุ่นม่วงหรือเขียว
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน288 กิโลจูล (69 กิโลแคลอรี)
18.1 g
น้ำตาล15.48 g
ใยอาหาร0.9 g
0.16 g
0.72 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(6%)
0.069 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(6%)
0.07 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(1%)
0.188 มก.
(1%)
0.05 มก.
วิตามินบี6
(7%)
0.086 มก.
โฟเลต (บี9)
(1%)
2 μg
วิตามินบี12
(0%)
0 μg
วิตามินซี
(13%)
10.8 มก.
วิตามินเค
(21%)
22 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
10 มก.
เหล็ก
(3%)
0.36 มก.
แมกนีเซียม
(2%)
7 มก.
แมงกานีส
(3%)
0.071 มก.
ฟอสฟอรัส
(3%)
20 มก.
โพแทสเซียม
(4%)
191 มก.
โซเดียม
(0%)
3.02 มก.
สังกะสี
(1%)
0.07 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

องุ่นมีสารอาหารที่สำคัญคือ น้ำตาลและสารอาหารจำพวกกรดอินทรีย์ เช่น น้ำตาลกลูโคส, น้ำตาลซูโคส, วิตามินซี, เหล็กและแคลเซียม องุ่นยังสามารถนำไปทำเป็นเหล้าองุ่นซึ่งเป็นเหล้าบำรุงใช้เป็นยา การรับประทานองุ่นเป็นประจำมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง, บำรุงหัวใจ, แก้กระหาย, ขับปัสสาวะและบำรุงกำลัง คนที่ร่างกายผอมแห้ง แก่ก่อนวัยและไม่มีเรี่ยวแรง หากรับประทานองุ่นเป็นประจำจะสามารถช่วยเสริมทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนเครือและรากมีฤทธิ์ในการขับลม, ขับปัสสาวะ, รักษาโรคไขข้ออักเสบ, ปวดเอ็นและปวดกระดูก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ระงับประสาท, แก้ปวดและแก้อาเจียนอีกด้วย

การปลูกองุ่นในประเทศไทย

แก้

ประเทศไทยนิยมปลูกองุ่นในแถบภาคตะวันตก เช่น

ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เกษตรกรบางรายได้เปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น เนื่องจากมีปัญหาโรคแมลงระบาดมาก และแมลงดื้อยาไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นในแถบนี้ลดลง พื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย แต่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงระบาดมากทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นไม่ค่อยขยายเท่าที่ควร

พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก

แก้
  1. พันธุ์ไวท์มะละกา มี 2 สายพันธุ์ คือ ชนิดผลกลมและผลยาว ลักษณะช่อใหญ่ยาว การติดผลดีผลมีสีเหลืองอมเขียว รสหวานแหลม เปลือกหนาและเหนียว ในผลหนึ่งๆ มี 1-2 เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง ปีหนึ่งให้ผลผลิต 2 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง
  2. พันธุ์คาร์ดินัล มีลักษณะช่อใหญ่ ผลดก ผลกลมค่อนข้างใหญ่ มีสีแดงหรือม่วงชมพู รสหวาน กรอบ เปลือกบาง จึงทำให้ผลแตกง่ายเมื่อผลแก่ในช่วงฝนตกชุก ในผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 1-2เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ใช้เวลา 3-3 เดือนครึ่ง ในเวลา 2 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 5 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 กิโลกรัม/ต้น

อ้างอิง

แก้
  1. Angiosperm Phylogeny Group (2009). An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III เก็บถาวร 2017-05-25 ที่ Archive-It. Botanical Journal of the Linnean Society 161: 105-121.
  2. "PLANTS Profile for Vitis (grape)". USDA. สืบค้นเมื่อ November 16, 2009.
  3. "องุ่น".สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สืบค้นเมื่อ 2567-06-17
  4. องุ่น กับความเชื่อเรื่องความมงคล หรือปลูกเพื่อสร้างรายได้ก็ดี สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564
  5. หน้า 7, มนุษย์รู้จักกินองุ่นเมื่อกว่า 15,000 ปีก่อน. "ทันโลก". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21848: วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 แรม 12 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา
  6. วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ). กฎมณเทียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ผลงานวิจัย. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. "กฎหมายตราสามดวง: ประมวลกฎหมายไทยในฐานะมรดกโลก", 2548, หน้า 74.
  NODES