เคเอฟซี

ร้านอาหารฟาส์ตฟูด

เคเอฟซี (อังกฤษ: KFC) หรือ ไก่ทอดเคนทักกี (อังกฤษ: Kentucky Fried Chicken) เป็นร้านอาหารจานด่วนที่มีหลายสาขาทั่วโลกและเน้นอาหารประเภทไก่ทอด เคเอฟซีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองหลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี สหรัฐ เคเอฟซีเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ดหลายสาขาที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากแมคโดนัลด์ ด้วยจำนวนร้าน 18,875 ร้านใน 118 ประเทศนับถึงเดือนธันวาคม 2013 เคเอฟซีเป็นบริษัทย่อยของยัม! แบรนด์ส ไอเอ็นซี บริษัทภัตตาคารที่เป็นเจ้าของพิซซ่าฮัท และทาโก้ เบลล์ อีกด้วย

เคเอฟซี
ประเภทบริษัทย่อย
อุตสาหกรรมภัตตาคาร
รูปแบบภัตตาคารอาหารจานด่วน
ก่อตั้ง
ผู้ก่อตั้งฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์
พีต ฮาร์แมน
สำนักงานใหญ่1441 การ์ดิเนอร์เลน
ลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี สหรัฐ
แดลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐ (ทั่วโลก)
จำนวนที่ตั้ง28,000 (2022)
ผลิตภัณฑ์
รายได้US$27.9 พันล้าน (2020)[1]
บริษัทแม่ยัม! แบรนด์ส
เว็บไซต์www.kfc.com

เคเอฟซีก่อตั้งโดยฮาร์แลนด์ แซนเดอส์ นักลงทุนที่เริ่มขายไก่ทอดจากร้านอาหารข้างถนนในคอร์บิน รัฐเคนทักกี ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แซนเดอส์เริ่มเห็นความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหาร และแฟรนไชส์ "เคนทักกีฟรายด์ชิกเคน" (Kentucky Fried Chicken - ไก่ทอดเคนทักกี) ร้านแรกเปิดที่รัฐยูทาห์ในปี 1952 เคเอฟซีทำอาหารประเภทไก่ให้เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารจานด่วน และกระจายตลาดโดยท้าทายผู้นำด้านร้านอาหารประเภทแฮมเบอร์เกอร์ หลังจากตั้งชื่อตราสินค้าของตนเป็น "เคอเนลแซนเดอส์" (Colonel Sanders) ฮาร์แลนด์กลายเป็นบุคคลโดดเด่นในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอเมริกัน และรูปภาพของเขาเป็นที่รู้จักกว้างขวางในภาพโฆษณาเคเอฟซี อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริษัททำให้แซนเดอส์รู้สึกว่ายากที่จะรับมือ และในปี 1964 เขาขายบริษัทให้กับกลุ่มนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่นำโดยจอห์น วาย. บราวน์ จูเนียร์ และแจ็ก ซี. แมสซีย์

เคเอฟซีเป็นหนึ่งในกิจการอาหารจานด่วนกิจการแรก ๆ ที่ขยายตัวเข้าสู่สากล เปิดสาขาในสหราชอาณาจักร เม็กซิโก และจาไมกาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1970-1980 เคเอฟซีประสบกับโชคชะตาทั้งร้ายและดีคละกันไป หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเกี่ยวกับหุ้นส่วนที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องธุรกิจร้านอาหาร หรือมีประสบการณ์เพียงน้อยนิด เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เคเอฟซีถูกขายให้กับผู้จำหน่ายสุรา ฮิวไบลน์ (Heublein) ซึ่งก็ถูกธุรกิจอาหารและยาสูบ อาร์.เจ. เรย์โนลด์ และขายกิจการให้กับบริษัท เป๊ปซี่โค กิจการขยายตัวต่อไปอีกหลายประเทศ และในปี 1987 เคเอฟซีกลายเป็นกิจการร้านอาหารตะวันตกกิจการแรกที่เปิดที่ประเทศจีน กิจการได้ขยายตัวในจีนอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท เป๊ปซี่โคแยกแผนกร้านอาหารออกเป็นไทรคอนโกลบอลเรสเตอรอนส์ (Tricon Global Restaurants) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ยัม! แบรนด์ส ไอเอ็นซี ในปัจจุบัน

ผลิตภัณฑ์แรกเริ่มของเคเอฟซีคือไก่ทอดที่ทอดด้วยอุณหภูมิสูง (pressured frying) ปรุงรสด้วยสูตรสมุนไพรและเครื่องเทศ 11 ชนิดของแซนเดอส์ ส่วนผสมของสูตรนี้เป็นความลับทางการค้า ไก่ทอดหากมีปริมาณมากจะเสิร์ฟใน "ถัง" ที่ทำจากกระดาษแข็ง ซึ่งกลายเป็นลักษณะที่รู้จักกันดีของกิจการตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกโดยลูกค้าแฟรนไชส์ พีต ฮาร์แมน ในปี 1957 ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เคเอฟซีขยายเมนูให้มีอย่างอื่นนอกจากไก่ทอด เช่น เบอร์เกอร์ไก่ไม่มีกระดูก และแซนด์วิชไก่ไม่มีกระดูกชนิดห่อด้วยแป้ง รวมถึงสลัด และเครื่องเคียง เช่น เฟรนช์ฟรายส์ และโคลสลอว์ ขนมหวาน และน้ำอัดลม ซึ่งจัดหาโดยบริษัทเป๊ปซี่โค เคเอฟซีเป็นที่รู้จักด้วยสโลแกนว่า "finger linkin' good" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "Nobody does chicken like KFC" และ "So Good"

ประวัติ

แก้
 
เคเอฟซีในศูนย์การค้า ตัวเมืองจังหวัดกระบี่ ประเทศไทย

ร้านแรกของเคเอฟซีเปิดเมื่อปี 1939 โดยผู้พันฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์ ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเมืองคอร์บิน รัฐเคนทักกี และเปิดร้านสัมปทานสาขาแรกเมื่อ 1952 ในภายหลังเมื่อกิจการได้รับความนิยม ผู้พันแซนเดอส์จึงขายกิจการให้กับกลุ่มนักลงทุนอื่นในปี 1962 ด้วยมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในภายหลังแบรนด์เคเอฟซีถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มบริษัทเป๊ปซี่โค ซึ่งได้แยกธุรกิจเกี่ยวกับอาหารออกมาเป็นบริษัทไทรคอน ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น ยัม! แบรนด์ส ไอเอ็นซี ในปัจจุบัน

ชื่อ

แก้

เคเอฟซีได้เปลี่ยนจากชื่อเต็ม "เคนทักกีฟรายด์ชิกเคน "(Kentucky fried chicken) มาเป็นชื่อย่อ "เคเอฟซี"(KFC) เมื่อปี 1991 โดยให้เหตุผลว่าต้องการลดความสำคัญของคำว่า "ชิคเก้น" หรือ "ไก่" ลง เนื่องจากมีผู้ประท้วงเกี่ยวกับการใช้ไก่ดัดแปลงพันธุกรรมของเคเอฟซี เหตุผลอีกข้อหนึ่งคือต้องการทิ้งคำว่า "ฟรายด์" แปลว่า "ทอด" (Fried) เพื่อให้เข้ากับกระแสสุขภาพในการลดการบริโภคของทอด อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2005 เคเอฟซีเปิดร้านอาหารใหม่ในรัฐเคนทักกี ได้ใช้ชื่อว่า "เคนทักกีฟรายด์ชิกเคน" เช่นเดิม และมีแผนจะใช้ชื่อเดียวกันนี้ในอนาคต

เคเอฟซีในประเทศไทย

แก้

ในประเทศไทย เคเอฟซีเคยเปิดในช่วงปี 1970 บริเวณถนนสีลม และปากซอยวัฒนา แต่ปิดตัวหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง[2] ต่อมาเซ็นทรัลพัฒนา ซื้อคืน โดยมีสาขาแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อปี 1984[3] ปัจจุบันเคเอฟซี ประเทศไทย เป็นแบรนด์ร้านอาหารบริหารด่วนอันดับหนึ่งที่มีสาขามากที่สุดในประเทศมากกว่า 1,000 แห่ง KFCในไทย ติด Top 10 ของ KFC ทั่วโลกที่มีสาขามากสุดจากจำนวนสาขาทั้งหมดทั่วโลก 28,000 สาขา (อันดับ 1 คือ จีน มีสาขา KFC มากที่สุดในโลก ตามมาด้วย, ญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้, อังกฤษ, สหรัฐฯ) (ณ เดือนธันวาคม 2022) โดยมีบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้บริหารแบรนด์และแฟรนไชส์ และมีบริษัทเซ็นทรัล เรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด, บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท คิวเอสอาร์ออฟเอเชีย จำกัด เป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการบริหารร้านเคเอฟซี (แฟรนไชส์ซี่) เคเอฟซี ประเทศไทย ยังคงเดินหน้าครองความเป็นหนึ่งด้วยการพัฒนาด้านนวัตกรรมและการขยายสาขา

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เคเอฟซีได้แต่งตั้ง กันต์พิมุกต์ ภูวกุล เป็น Friend of KFC คนแรกของประเทศไทย[4] และในเดือนตุลาคมปีเดียวกันเคเอฟซีประเทศไทยได้เปิดสาขาที่ 500 ในศูนย์การค้าพาเหรด แอท วัน แบงค็อก[5]

รายชื่อเคเอฟซีสาขาทั่วโลก

แก้
 
  แผนที่แสดงประเทศที่มีร้านเคเอฟซี

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "KFC". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-05.
  2. https://e-research.siam.edu/wp-content/uploads/2020/03/MBA-2019-IS-Factors-Affecting-the-Decision-to-Use-KFC-Restaurant-Services-compressed.pdf ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร้านเคเอฟซีในห้างสรรพสินค้า
  3. "KFC สาขาแรกของภาคใต้ อยู่ที่ไดอาน่า หาดใหญ่". https://www.hatyaifocus.com (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  4. "เปิดตัวเป็นทางการ 'แบมแบม' Friend of KFC คนแรกของประเทศไทย". bangkokbiznews. 2024-04-25.
  5. "เปิดร้าน KFC Flagship Store สาขาที่ 500 ที่ One Bangkok". ryt9.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  NODES