แรดชวา
แรดชวา, แรดซุนดา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Early Pleistocene - Recent 1.5–0Ma | |
---|---|
แรดชวาอินโดนีเซียที่สวนสัตว์ลอนดอน มีนาคม พ.ศ. 2417 ถึง มกราคม พ.ศ. 2428 | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Perissodactyla |
วงศ์: | Rhinocerotidae |
สกุล: | Rhinoceros |
สปีชีส์: | R. sondaicus |
ชื่อทวินาม | |
Rhinoceros sondaicus Desmarest, 1822[3] | |
สปีชีส์ย่อย | |
แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยของแรดชวาในปัจจุบัน |
แรดชวา หรือ แรดซุนดา (อังกฤษ: Javan Rhinoceros[4]) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคี่ในวงศ์แรด อยู่ในสกุลเดียวกันกับแรดอินเดีย เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว
แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่า ไม่มีแรดชวาจัดแสดงในสวนสัตว์ แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก[5] มีประชากรแรดน้อยกว่า 40-50 ตัวในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนบนเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย และประชากรจำนวนเล็กน้อย (ประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2550) ไม่เกิน 8 ตัวในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนในประเทศเวียดนาม แต่ในปัจจุบันมีการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว[6] การลดลงของแรดชวาเกิดจากการล่าเอานอซึ่งเป็นสิ่งมีค่าในการแพทย์แผนจีนซึ่งมีราคาถึง $30,000 ต่อกก.ในตลาดมืด[5] การสูญเสียถิ่นอาศัยโดยเฉพาะผลของสงครามอย่างสงครามเวียดนาม มีส่วนในการลดลงและขัดขวางการฟื้นฟูของจำนวนประชากร[7] แม้พื้นที่ถิ่นอาศัยที่เหลือจะได้รับการปกป้องแต่แรดชวายังคงเสี่ยงต่อการถูกล่า โรคภัยไข้เจ็บ และการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งจะนำไปสู่การผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน
แรดชวามีอายุประมาณ 30-45 ปีในธรรมชาติ อาศัยอยู่ในป่าดินชื้น ป่าหญ้าชื้นแฉะ และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ แรดชวาเป็นสัตว์สันโดษมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะรวมฝูงกันเมื่อลงแช่ปลักโคลนหรือลงกินโป่ง มีอาหารหลักเป็น ใบไม้อ่อน ยอดไม้ ตาไม้ และผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน นอกจากมนุษย์แล้วแรดชวาไม่มีศัตรูอื่นอีก แรดชวาจะหลีกเลี่ยงมนุษย์แต่จะโจมตีเมื่อรู้สึกถูกคุกคาม เป็นการยากที่นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์จะศึกษาในแรดชวาโดยตรงเพราะพบยากมากและเป็นอันตรายต่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดจากการรบกวน นักวิจัยอาศัยเพียงกับดักกล้องและตัวอย่างมูลเพื่อประเมินสุขภาพและพฤติกรรม ดังนั้นจึงมีการศึกษาในแรดชวาน้อยกว่าในแรดทุกชนิด
อนุกรมวิธานและชื่อ
แก้การศึกษาแรดชวาครั้งแรกเกิดขึ้นโดยนักธรรมชาติวิทยาจากภายนอกพื้นที่ในปี พ.ศ. 2330 เมื่อมีการยิงแรดชวาได้ 2 ตัวในชวา กะโหลกถูกส่งไปให้เปตรึส กัมเปอร์ (Petrus Camper) นักธรรมชาติวิทยาชาวดัตช์ที่มีชื่อเสียง แต่เขากลับเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2332 ก่อนที่เขาจะทันได้ตีพิมพ์การค้นพบของเขาที่ว่าแรดชวาเป็นแรดชนิดใหม่ แม้ว่าอาลแฟรด ดูว์โวแซล (Alfred Duvaucel) จะยิงแรดชวาได้บนเกาะของสุมาตราและส่งตัวอย่างให้กับฌอร์ฌ กูว์วีเย (Georges Cuvier) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นพ่อเลี้ยงของเขา แต่กูว์วีเยกลับระลึกว่าเป็นสัตว์ชนิดใหม่ได้ในปี พ.ศ. 2365 และในปีเดียวกันนั้นเอง อ็องแซลม์ กาเอต็อง เดมาแร (Anselme Gaëtan Desmarest) ระบุเป็น Rhinoceros sondaicus แรดชวาเป็นแรดชนิดสุดท้ายที่มีการจำแนก[8] ในตอนแรกเดมาแรระบุว่าแรดชนิดนี้มาจากสุมาตรา แต่ภายหลังแก้ว่ามาจากชวา[3]
ชื่อสกุล Rhinoceros ซึ่งรวมถึงแรดอินเดียด้วยนั้น มาจากภาษากรีกโบราณ rhino แปลว่า จมูก และ ceros แปลว่า เขา หรือ นอ sondaicus มาจาก ซุนดา ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และเกาะเล็ก ๆ ที่ล้อมรอบบริเวณนั้น แรดชวานั้นรู้จักกันในชื่อ Lesser One-Horned Rhinoceros (แรดนอเดียวเล็ก) โดยเทียบกับแรดอินเดียที่ได้ชื่อว่า Greater One-Horned Rhinoceros (แรดนอเดียวใหญ่)
แรดชวามีสามสปีชีส์ย่อยได้แก่:
- Rhinoceros sondaicus sondaicus หรือ แรดชวาอินโดนีเซีย อาศัยอยู่ในชวาและสุมาตรา ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรประมาณ 40–50 ตัวในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนบนปลายแหลมด้านตะวันตกของเกาะในชวา มีนักวิจัยเสนอว่าแรดชวาบนสุมาตราควรแบ่งเป็นชนิดย่อย R.s. floweri แต่ไม่ค่อยได้รับความยอมรับนัก[9][10]
- Rhinoceros sondaicus annamiticus หรือ แรดชวาเวียดนาม หรือ แรดเวียดนาม อาศัยอยู่ในเวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย และมาเลเซีย Annamiticus มาจากชื่อเทือกเขาอันนัม (Annamite) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของแรด มีประชากรเหลือประมาณ 12 ตัว อาศัยอยู่ในป่าต่ำในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียน (Cat Tien) ในเวียดนาม จากการศึกษาทางพันธุวิทยาพบว่าแรดชวาทั้งสองชนิดย่อยที่เหลืออยู่มีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 300,000 ถึง 2 ล้านปีมาแล้ว[10][11]
- Rhinoceros sondaicus inermis หรือ แรดชวาอินเดีย อาศัยอยู่ในเบงกอลจนถึงพม่า คาดว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1900 Inermis แปลว่า ไม่มีอาวุธ ซึ่งหมายถึงว่าชนิดย่อยนี้มีนอเล็กมากในเพศผู้และแทบไม่มีเลยในเพศเมีย ตัวอย่างดั้งเดิมของสปีชีส์นี้เพศเมียไม่มีนอ สถานะการณ์ทางการเมืองของพม่าอาจยังช่วยรักษาแรดชนิดย่อยนี้ไว้ก็เป็นได้ แต่มีความเป็นไปได้ต่ำมาก[12][13][14]
วิวัฒนาการ
แก้บรรพบุรุษของแรดได้วิวัฒนาการแยกตัวออกจากสัตว์กีบคี่อื่นในสมัยตอนต้นยุคแรกเริ่มที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถือกำเนิดขึ้นมา (Eocene) การเปรียบเทียบทางไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ (Mitochondrial DNA) แสดงว่าบรรพบุรุษของแรดในปัจจุบันแยกตัวจากบรรพบุรุษของม้าราว ๆ 50 ล้านปีมาแล้ว[15] ในวงศ์แรดที่เหลืออยู่ในปัจจุบันปรากฏขึ้นครั้งแรกในตอนปลายยุคอีโอซีนในทวีปยูเรเชีย และบรรพบุรุษของแรดในปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์จากเอเชีย เริ่มต้นในยุคไมโอซีน (Miocene)[16]
แรดอินเดียและแรดชวาซึ่งเป็นสมาชิกในสกุล Rhinoceros ปรากฏตัวครั้งแรกบันทึกซากดึกดำบรรพ์ในเอเชียประมาณ 1.6–3.3 ล้านปีมาแล้ว จากการประเมินเชิงโมเลกุลแสดงว่าสปีชีส์แยกตัวออกมาก่อนหน้านั้นนานมาแล้ว ประมาณ 11.7 ล้านปีมาแล้ว[15][17] แม้ว่าแรดชวาและแรดอินเดียจะเป็นกลุ่มเดียวกับสกุลต้นแบบแต่ก็เชื่อกันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแรดชนิดอื่น ๆ จากการศึกษาต่าง ๆ มีสมมติฐานว่าอาจจะเป็นญาติใกล้ชิดกับ Gaindetherium หรือ Punjabitherium ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว จากรายละเอียดการวิเคราะห์แบบสัมพันธ์เป็นลำดับขั้นของแรดได้วาง Rhinoceros และ Punjabitherium (สูญพันธุ์) ในเครือบรรพบุรุษเดียวกับ Dicerorhinus แต่ในการศึกษาอื่นเสนอว่ากระซู่เป็นญาติใกล้ชิดกับแรดแอฟริกา[18] กระซู่อาจแยกตัวจากแรดเอเชียอื่นเมื่อ 15 ล้านปีมาแล้ว[5][16]
ลักษณะ
แก้แรดชวามีขนาดเล็กกว่าแรดอินเดียซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับมัน มันมีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ ลำตัวยาว (รวมหัว) 3.1–3.2 ม. สูง 1.4–1.7 ม. เมื่อโตเต็มที่หนัก 900-2,300 กก. เนื่องจากแรดชวาอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์จนถึงขั้นวิกฤติการวัดที่แม่นยำจึงไม่เคยกระทำและไม่มีความสำคัญ[5] ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศเด่นชัด แต่เพศเมียอาจใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย แรดชวาในเวียดนามมีขนาดเล็กกว่าในชวาโดยคำนวณจากรูปถ่ายและรอยเท้า[19]
แรดชวามีนอเดียวเหมือนแรดอินเดีย (ชนิดอื่นมีสองนอ) จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว นอของมันมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาแรดทั้งหมด ปกติยาวน้อยกว่า 20 ซม. เท่าที่มีการบันทึกนอที่ยาวที่สุดยาว 27 ซม. ไม่ปรากฏว่าแรดชวาใช้นอในการต่อสู้ น่าจะมีไว้ใช้ในการขุดโคลน ดันต้นไม้ลงเพื่อกิน และดันสิ่งของที่กีดขวางทางเดิน แรดชวามีปากบนยาวแหลมไว้ช่วยคว้ากับอาหารเหมือนแรดเล็มกินชนิดอื่น (แรดดำ สุมาตรา และ อินเดีย) มันมีฟันหน้าล่างยาวและคมซึ่งเมื่อเกิดการต่อสู้มันจะใช้ฟันนี้กัด หลังฟันหน้ามีฟันกรามที่มีปุ่มเตี้ย ๆ สองแถวใช้สำหรับเคี้ยวพืชหยาบ ๆ แรดชวามีประสาทการดมกลิ่นและฟังเสียงดีแต่มีสายตาที่แย่เหมือนกันกับแรดทุกชนิด ประมาณกันว่ามันมีอายุ 30-45 ปี[19]
แรดชวาไม่มีขน มีหนังสีเทาหรือน้ำตาลเทา มีรอยพับที่ไหล่ หลังขาหน้า และสะโพก ทำให้ดูคล้ายกับว่ามันสวมเสื้อเกราะอยู่ รอยพับที่คอของแรดชวาเล็กกว่าของแรดอินเดีย แต่จะมีรูปร่างคล้ายอานม้าปกคลุมไปที่ไหล่ ง่ามก้นไม่เป็นร่อง ดังนั้นหางของแรดชวาจึงโด่งออกไปผิดกับแรดอินเดียที่มีง่ามก้นซึ่งตามปกติจะซุกหางไว้ในนั้น เพราะการเข้าไปรบกวนอาจทำให้แรดชวาเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทำให้การศึกษาในขั้นต้นทำได้เพียงศึกษาจากมูลตัวอย่างและกับดักกล้อง แรดชวานั้นยากที่จะพบเจอ สังเกตพฤติกรรม และวัดได้โดยตรง[20]
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
แก้แม้จะมีการประมาณในแง่ดีว่ามีแรดชวามากกว่า 100 ตัวในป่า แต่แแรดชวาก็ยังจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่ากระซู่จะมีจำนวนมากกว่าแต่แหล่งการกระจายพันธุ์ของมันก็ไม่ได้รับการปกป้องเท่ากับของแรดชวา ทำให้มีนักอนุรักษ์บางคนคิดว่ากระซู่มีอัตราเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากกว่า ปัจจุบันเท่าที่ทราบ มีแรดชวาหลงเหลืออยู่เพียง 2 แห่งเท่านั้นคืออุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนที่อยู่ปลายทางทิศตะวันตกของชวาและอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนซึ่งอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางเหนือประมาณ 150 กม.[10][21]
แรดชวามีการกระจายพันธุ์จากรัฐอัสสัมถึงเบงกอล (ที่ซึ่งกระจายพันธุ์ซ้อนทับกับกระซู่และแรดอินเดีย[14]) ไปทางตะวันออกถึงพม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และทางใต้ไปถึงคาบสมุทรมลายูและเกาะในสุมาตรา ชวา และอาจในบอร์เนียวด้วย[22] ในปี พ.ศ. 2514 ประเทศไทยมีรายงานว่าพบแรดชวาตามเทือกเขาตะนาวศรี[23] และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี[24] แต่ปัจจุบัน แรดชวาถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทย[25]
แรดชวาอาศัยอยู่ในป่าต่ำที่เป็นป่าดิบชื้น หญ้าสูงและมีต้นกกปกคลุมริมแม่น้ำ ที่ลุ่มขนาดใหญ่ หรือพื้นที่ชุ่มชื้นที่มีปลักโคลน แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วแรดชวาจะอาศัยอยู่ในที่ราบ แต่ชนิดย่อยในเวียดนามกลับอาศัยอยู่ในป่าสูง (มากถึง 2,000 ม.) อาจเป็นเพราะการล่าและการบุกรุกถิ่นอาศัยจากมนุษย์[12]
พิสัยถิ่นอาศัยของแรดชวาหดตัวลงในเวลาไม่ถึง 3,000 ปี เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พิสัยทางทิศเหนือแผ่ขยายถึงประเทศจีน และเริ่มเคลื่อนไปทางใต้ประมาณ 0.5 กม.ต่อปีจากการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่[26] แรดชวาสูญพันธุ์ไปจากประเทศอินเดียภายใน 10 ปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20[14] ในมาเลเซียตะวันตกแรดชวาโดนล่าจนสูญพันธุ์ในปี พ.ศ. 2475[27] เมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามเชื่อกันว่าแรดเวียดนามสูญพันธุ์ไปจากบนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว แม้ว่ามีรายงานว่าพบแรดชวาที่ภูเขากระวาน (Cardamom) ในกัมพูชาโดยพรานป่าและคนตัดไม้แต่การสำรวจของพื้นที่จะยังไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่แสดงว่ามีแรดชวาอาศัยอยู่[28] อาจมีประชากรแรดชวาหรือกระซู่กลุ่มเล็ก ๆ อยู่ในเกาะของบอร์เนียว[22]
พฤติกรรม
แก้แรดชวาเป็นสัตว์สันโดษปกติจะอยู่เพียงตัวเดียวลำพังยกเว้นจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะมีการรวมฝูงเล็ก ๆ ที่โป่งหรือปลักโคลน การลงแช่ปลักเป็นพฤติกรรมที่พบได้ในแรดทุกชนิด เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายและช่วยป้องกันผิวหนังจากปรสิตภายนอกและแมลงอื่น ๆ โดยปกติแรดชวาจะไม่ขุดปลักเองแต่จะใช้ปลักของสัตว์อื่นหรือปลักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและให้นอของมันขุดเพื่อขยายปลักเท่านั้น ดินโป่งเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญของแรดชวาที่ขาดไม่ได้ แรดชวาเพศผู้จะมีอาณาเขตขนาดใหญ่ประมาณ 12–20 กม.² ขณะเพศเมียมีอาณาเขตเพียง 3–14 กม.² ดังนั้นอาณาเขตของเพศผู้จึงมักเหลื่อมทับกับแรดชวาตัวอื่นมากกว่าในเพศเมีย การต่อสู้เพื่อชิงอาณาเขตนั้นยังไม่เป็นที่ทราบ[29]
แรดชวาเพศผู้จะทำเครื่องหมายบอกอาณาเขตด้วยกองมูลและละอองเยี่ยว การขูดพื้นดินด้วยเท้าและการบิดงอไม้หนุ่มดูเหมือนใช้ในการสื่อสาร แรดชนิดอื่น ๆ มีพฤติกรรมประหลาดคือเมื่อมันถ่ายมูลกองใหญ่ออกมามันจะใช้ขาหลังตะกุยกองมูลมันเอง แต่ในกระซู่และแรดชวาเมื่อมันถ่ายเสร็จมันจะไม่ทำเช่นนั้น พฤติกรรมที่มีการปรับตัวเช่นนี้คาดว่าเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นป่าฝน ด้วยวิธีนี้จึงไม่อาจใช้เพื่อกระจายกลิ่นได้[29]
แรดชวาไม่เปล่งเสียงร้องมากเท่ากับกระซู่ มีเสียงร้องน้อยมากที่มีการบันทึกไว้ สำหรับแรดชวาที่โตเต็มที่จะไม่มีศัตรูอื่นอีกนอกจากมนุษย์ แรดชวาโดยเฉพาะในเวียดนามเมื่อมีมนุษย์เข้ามาอยู่ใกล้ ๆ มันจะตื่นตกใจและวิ่งหนีเข้าไปในป่าทึบซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีประโยชน์ในการอยู่รอด แต่ก็ทำให้เป็นการยากที่จะศึกษาในแรดชวา[7] แต่กระนั้นเมื่อคนเข้ามาใกล้เกินไป แรดชวาจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวและเข้าโจมตี ด้วยการแทงด้วยฟันหน้าของขากรรไกรล่างในขณะที่โดนดันขึ้นด้วยหัวของมัน[29] พฤติกรรมสันโดษของแรดชวานั้นอาจเป็นการปรับตัวซึ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้จากความเครียดทางสังคม จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าแรดชวาเคยอยู่รวมเป็นฝูงมาก่อนเหมือนกันกับแรดชนิดอื่น ๆ [10]
อาหาร
แก้แรดชวาเป็นสัตว์กินพืชและกินได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะ หน่อ กิ่ง ใบ และผลไม้ที่ตกลงบนพื้นดิน พืชหลายชนิดเติบโตในบริเวณพื้นที่โล่ง ป่าโปร่ง ป่าไม้พุ่ม แรดจะรื้อไม้หนุ่มลงมาเพื่อหาอาหารและคว้าจับด้วยริมฝีปากบน มันไม่ใช่นักกินที่ปรับตัวเก่งเหมือนแรดชนิดอื่น แรดชวาเป็นสัตว์เล็มกินและอาจเป็นทั้งสัตว์เล็มกินและสัตว์เล็มหญ้า แรดกินอาหารประมาณ 50 กก.ต่อวัน แรดชวาเหมือนกับกระซู่ มันจำเป็นต้องกินเกลือเป็นอาหาร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นดินโป่ง แต่ไม่ใช่แรดในอูจุงกูลน แรดชวาที่นั่นดื่มน้ำทะเลที่มีสารอาหารที่มันต้องการเหมือนกับดินโป่งแทน[19]
การสืบพันธุ์
แก้พฤติกรรมการสืบพันธุ์ของแรดชวายากที่จะทำการศึกษาจากการสังเกตโดยตรงและไม่มีแรดชวาในสวนสัตว์ แรดเพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 3–4 ปีในขณะที่เพศผู้ที่ประมาณ 6 ปี ตั้งท้องประมาณ 16–19 เดือน ให้กำเนิดลูกห่างกัน 4–5 ปี ลูกแรดจะอยู่กับแม่จนถึงอายุ 2 ปี พฤติกรรมการจับคู่คาดว่าคล้ายกับแรดชนิดอื่น[29]
การอนุรักษ์
แก้ปัญหาหลักที่ทำให้จำนวนประชากรของแรดชวาลดลงก็คือการล่าเอานอซึ่งเป็นปัญหาในแรดทุกชนิด การซื้อขายนอแรดในประเทศจีนมีมานานกว่า 2,000 ปี คนจีนเชื่อกันว่านอแรดเป็นยาในการแพทย์แผนจีน ตามประวัติศาสตร์มีการนำหนังมาทำเกราะสำหรับทหารจีนและคนในบางพื้นที่ของประเทศเวียดนามเชื่อกันว่าหนังสามารถแก้พิษงูได้[30] เนื่องจากการกระจายพันธุ์ของแรดชวาอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่อยู่ในพื้นที่ยากจน ทำให้ยากที่จะชักจูงให้คนในพื้นที่ไม่ฆ่าสัตว์ที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีประโยชน์นี้เพราะแรดสามารถขายได้ในราคาที่สูงมาก[26] เมื่ออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์เริ่มบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2518 มีการจัดแรดชวาให้อยู่ในบัญชีอนุรักษ์ที่ 1 ดังนั้นการซื้อขายแรดและชิ้นส่วนจึงเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย[31] จากการสำรวจราคานอแรดในตลาดมืดปรากฏว่านอแรดเอเชียมีราคาสูงถึง $30,000 ต่อกก.ซึ่งสูงกว่านอแรดแอฟริกาถึงสามเท่า[5]
การสูญเสียที่อยู่จากการเกษตรกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งของการลดลงในประชากรแรดชวา แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญนักเพราะประชากรแรดชวานั้นอาศัยอยู่ในอุทยานเพียงสองแห่งที่ได้รับการปกป้องอย่างดี ถิ่นอาศัยที่เสื่อมโทรมจะขัดขวางการฟื้นตัวของประชากรให้ตกเป็นเหยื่อของการล่าสัตว์ได้โดยง่าย แม้ว่าจะมีความพยายามในการอนุรักษ์แต่โอกาสในการอยู่รอดของแรดชวาก็ยังน้อยมาก เพราะประชากรจำกัดอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ สองที่ทำให้อ่อนแอต่อโรคและเกิดการผสมพันธุ์กันเองในหมู่ญาติ การอนุรักษ์ทางพันธุกรรมประมาณว่าประชากรแรดทั้ง 100 ตัวนี้ควรรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมไว้[21]
ในประเทศไทยแรดชวาเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
อูจุงกูลน
แก้คาบสมุทรอูจุงกูลนโดนทำลายล้างด้วยการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในปี พ.ศ. 2426 แรดชวากลับมาสร้างอาณานิคมอีกครั้งหลังการระเบิดแต่มนุษย์กลับมาเพียงจำนวนเล็กน้อยทำให้ที่นั่นเป็นสวรรค์ของแรด[21] ในปี พ.ศ. 2474 เมื่อแรดชวาเกือบจะสูญพันธุ์จากสุมาตรา รัฐบาลของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ได้ประกาศกฎหมายอนุรักษ์แรดที่เหลืออยู่[12] ในปี พ.ศ. 2510 เมื่อมีการสำรวจจำนวนประชากรแรดชวาครั้งแรกในอูจุงกูลน พบว่ามีประชากรแรดเพียง 25 ตัว ในปี พ.ศ. 2523 ประชากรเพิ่มเป็นเท่าตัวคือประมาณ 50 ตัว แม้ว่าแรดชวาในอูจุงกูลนจะไม่มีศัตรูในธรรมชาติ แต่แรดก็ยังต้องแข่งขันในเรื่องทรัพยากรที่ขาดแคลนกับสัตว์ป่าชนิดอื่นซึ่งทำให้มีจำนวนของแรดชวาต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ของคาบสมุทร[32] อูจุงกูลนบริหารโดยกรมป่าไม้ของอินโดนีเซีย[12] มีหลักฐานการพบลูกแรดสี่ตัวในปี พ.ศ. 2549 มีเอกสารเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้มากมาย[33]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีการเผยแพร่ภาพจากกล้องกับดักที่แสดงถึงแรดชวาที่โตเต็มที่และแรดวัยอ่อน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการจับคู่ผสมพันธุ์ของแรดชวาในอูจุงกูลนเมื่อไม่นานมานี้[34]
ก๊าตเตียน
แก้R.s. annamiticus สปีชีส์ย่อยที่ครั้งหนึ่งกระจายพันธุ์อยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ตัวนั้นอาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนในประเทศเวียดนาม หลังสงครามเวียดนาม คาดกันว่าแรดชวาสูญพันธุ์ไปแล้ว กลยุทธ์ที่ใช้ในสงครามสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระเบิดเพลิง ฝนเหลือง การทิ้งระเบิดทางอากาศ และการใช้กับระเบิด สงครามยังนำมาซึ่งอาวุธสงครามราคาถูกในพื้นที่ หลังจากสงคราม ชาวบ้านยากจนที่แต่ก่อนใช้เพียงหลุมดักกลายเป็นนายพรานที่น่ากลัวจากอาวุธร้ายแรงที่มีการจัดจำหน่าย สมมุติฐานของการสูญพันธุ์นั้นเปลี่ยนไปเมื่อปี พ.ศ. 2531 เมื่อนายพรานยิงแรดเพศเมียที่โตเต็มที่ได้จึงพิสูจน์ได้ว่ามีแรดชวาเหลือรอดจากสงคราม ในปี พ.ศ. 2532 นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจป่าทางตอนใต้ของเวียดนามเพื่อค้นหาหลักฐานของแรดที่รอดชีวิต รอยเท้าที่พบแสดงว่ามีแรดอย่างน้อย 15 ตัวตามริมฝั่งแม่น้ำด่งไน (Dong Nai River)[35] การมีอยู่ของแรดชวาทำให้ถิ่นอาศัยของมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนในปี พ.ศ. 2535[30]
เป็นที่กลัวกันว่าประชากรของแรดชวาจะลดลงจนเลยจุดที่จะสามารถฟื้นฟูได้แล้ว ซึ่งนักอนุรักษ์บางคนประเมินว่าเหลือรอดเพียง 3-8 ตัวเท่านั้นและอาจจะไม่มีเพศผู้เลย[21][33] นอกจากนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าแรดเวียดนามยังมีโอกาสที่จะอยู่รอดหรือไม่ นักอนุรักษ์บางคนอ้างว่าควรนำแรดจากอินโดนีเซียเข้ามาเพื่อรักษาจำนวนประชากรเอาไว้ แต่บางคนอ้างว่าประชากรแรดยังสามารถฟื้นฟูได้[7][36]
ในต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีการพบซากแรดชวาในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียน แรดถูกยิงและตัดนอโดยพราน[37] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 มูลนิธิแรดระหว่างประเทศ (International Rhino Foundation- IRF) และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลได้ยืนยันว่าแรดชวาได้สูญพันธุ์จากประเทศเวียดนามแล้ว[38][39] โดยมีข้อยืนยันจากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมในตัวอย่างมูลสัตว์ 22 ตัวอย่าง[39] ที่องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลในประเทศเวียดนามและอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนรวบรวมไว้ในระหว่างการสำรวจตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 แสดงว่ามีแรดชวาเพียงตัวเดียวเท่านั้นในอุทยาน และแรดชวาตัวนั้นถูกฆ่าตายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 จึงเป็นไปได้ที่แรดชวาชนิดย่อยนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว ปัจจุบันมีแรดชวาเหลืออยู่ที่อูจุงกูลนเพียงแห่งเดียวเท่านั้น[40] [41]
ในกรงเลี้ยง
แก้ไม่มีการจัดแสดงแรดชวาในสวนสัตว์มากว่าศตวรรษ ในคริสต์ทศวรรษ 1800 มีแรดชวาอย่างน้อยสี่ตัวจัดแสดงในแอดิเลด กัลกัตตา และ ลอนดอน มีแรดชวาอย่างน้อย 22 ตัวที่มีเอกสารบันทึกว่าอยู่ในกรงเลี้ยงซึ่งบางทีอาจมีมากกว่านั้นเพราะบางครั้งมีการจำแรดอินเดียสับสนกับแรดชวา[42] แรดชวาไม่ได้อยู่สุขสบายนักในกรงเลี้ยง มีอายุสูงสุดเพียงแค่ 20 ปีซึ่งเป็นแค่ครึ่งเดียวของแรดที่อาศัยอยู่ในป่า แรดชวาในที่เลี้ยงตัวสุดท้ายตายลงที่สวนสัตว์แอดิเลดในประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2450 ซึ่งได้รับการจัดแสดงในชื่อแรดอินเดีย[19] เนื่องจากโปรแกรมการขยายพันธุ์กระซู่ในสวนสัตว์ที่แพงและยาวนานในคริสต์ทศวรรษ 1980-1990 ได้ล้มเหลวลง ความพยายามที่จะปกป้องแรดชวาในสวนสัตว์นั้นจึงไม่มีทางเป็นไปได้[5]
แรดชวาในเชิงวัฒนธรรม
แก้ในอดีตมีแรดชวาอาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา มีรูปแรดอย่างน้อยสามรูปในรูปแกะสลักนูนต่ำในวิหารของนครวัด ปีกตะวันตกของเฉลียงด้านเหนือมีรูปแกะสลักที่แสดงภาพแรดซึ่งเป็นพาหนะของพระอัคนี แรดนั้นคาดว่าเป็นแรดชวามากกว่าแรดอินเดียซึ่งมีนอเดียวเหมือนกัน จากรอยพับบนไหล่ที่ต่อเนื่องไปทางด้านหลังแบบเดียวกับแรดชวาทำให้มีลักษณะคล้ายอาน ภาพของแรดในปีกด้านตะวันออกของเฉลียงด้านใต้แสดงรูปแรดกำลังโจมตีคนบาปในแผ่นหินที่พรรณนาถึงสวรรค์และนรก สถาปนิกที่ออกแบบวัดแห่งนี้เชื่อว่าเป็นพราหมณ์ชาวอินเดียที่ชื่อทิวการบัณฑิต (Divakarapandita) (ค.ศ. 1040–1120) ผู้รับใช้กษัตริย์พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6, พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 และ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สถาปนานครวัด เป็นที่เชื่อกันว่าทิวการบัณฑิตซึ่งเสียชีวิตก่อนการสร้างนครวัด ตั้งใจจะให้มีปุ่มบนผิวหนังซึ่งเป็นไปตามลักษณะของแรดอินเดีย แต่ช่างแกะสลักท้องถิ่นชาวเขมรแกะสลักรายละเอียดอื่นๆของแรดตามแรดชวาซึ่งเป็นแรดท้องถิ่นที่คุ้นเคยมากกว่า[43] ความคิดที่เชื่อมโยงแรดเป็นพาหนะของพระอัคนีเป็นไปตามวัฒนธรรมเขมร[44][45] มีภาพแรดตัวอื่นๆสลักอยู่ตรงกลางของการจัดเรียงเป็นวงกลมในแถวเดียวกับวงกลมอื่นๆที่มีภาพช้างและควายป่าในปราสาทตาพรหม เนื่องจากรูปตรงกลางถูกพิจารณาว่าเป็นสเตโกซอรัส ทำให้แผ่นหินสลักนี้มีชื่อเสียง[46]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ van Strien, N.J., Steinmetz, R., Manullang, B., Sectionov, Han, K.H., Isnan, W., Rookmaaker, K., Sumardja, E., Khan, M.K.M. & Ellis, S. (2008). Rhinoceros sondaicus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 28 November 2008.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อiucn
- ↑ 3.0 3.1 Rookmaaker, L.C. (1982). "The type locality of the Javan Rhinoceros (Rhinoceros sondaicus Desmarest, 1822)". Zeitschrift fur Saugetierkunde. 47 (6): 381–382.
- ↑ Wilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005). Mammal Species of the World[ลิงก์เสีย] (3rd edition ed.). Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-8221-4.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Dinerstein, Eric (2003). The Return of the Unicorns; The Natural History and Conservation of the Greater One-Horned Rhinoceros. New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-08450-1.
- ↑ Kinver, Mark (25 October 2011). "Javan rhino 'now extinct in Vietnam'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Santiapillai, C. (1992). "Javan rhinoceros in Vietnam". Pachyderm. 15: 25–27.
- ↑ Rookmaaker, Kees (2005). "First sightings of Asian rhinos". ใน Fulconis, R. (บ.ก.). Save the rhinos: EAZA Rhino Campaign 2005/6. London: European Association of Zoos and Aquaria. p. 52.
- ↑ Asian Rhino Specialist Group (1996). Rhinoceros sondaicus ssp. sondaicus เก็บถาวร 2008-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2007 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2007. Retrieved on January 13, 2008.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Fernando, Prithiviraj (2006). "Genetic diversity, phylogeny and conservation of the Javan hinoceros (Rhinoceros sondaicus)". Conservation Genetics. 7 (3): 439–448. doi:10.1007/s10592-006-9139-4.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Asian Rhino Specialist Group (1996). Rhinoceros sondaicus ssp. annamiticus เก็บถาวร 2008-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2007 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2007. Retrieved on January 13, 2008.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Foose, Thomas J. (1997). Asian Rhinos – Status Survey and Conservation Action Plan. IUCN, Gland, Switzerland, and Cambridge, UK. ISBN 2-8317-0336-0.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Rookmaaker, Kees (1997). "Records of the Sundarbans Rhinoceros (Rhinoceros sondaicus inermis) in India and Bangladesh". Pachyderm. 24: 37–45.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Rookmaaker, L.C. (2002). "Historical records of the Javan rhinoceros in North-East India". Newsletter of the Rhino Foundation of Nature in North-East India (4): 11–12.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ 15.0 15.1 Xu, Xiufeng (1 November 1996). "The Complete Mitochondrial DNA Sequence of the Greater Indian Rhinoceros, Rhinoceros unicornis, and the Phylogenetic Relationship Among Carnivora, Perissodactyla, and Artiodactyla (+ Cetacea)". Molecular Biology and Evolution. 13 (9): 1167–1173. PMID 8896369. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 16.0 16.1 Lacombat, Frédéric (2005). "The evolution of the rhinoceros". ใน Fulconis, R. (บ.ก.). Save the rhinos: EAZA Rhino Campaign 2005/6. London: European Association of Zoos and Aquaria. pp. 46–49.
- ↑ Tougard, C. (2001). "Phylogenetic relationships of the five extant rhinoceros species (Rhinocerotidae, Perissodactyla) based on mitochondrial cytochrome b and 12s rRNA genes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 19 (1): 34–44. doi:10.1006/mpev.2000.0903. PMID 11286489.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Cerdeño, Esperanza (1995). "Cladistic Analysis of the Family Rhinocerotidae (Perissodactyla)" (PDF). Novitates. American Museum of Natural History (3143). ISSN 0003-0082. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 van Strien, Nico (2005). "Javan Rhinoceros". ใน Fulconis, R. (บ.ก.). Save the rhinos: EAZA Rhino Campaign 2005/6. London: European Association of Zoos and Aquaria. pp. 75–79.
- ↑ Munro, Margaret (May 10, 2002). "Their trail is warm: Scientists are studying elusive rhinos by analyzing their feces". National Post.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 Derr, Mark (July 11, 2006). "Racing to Know the Rarest of Rhinos, Before It's Too Late". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- ↑ 22.0 22.1 Cranbook, Earl of (2007). "The Javan Rhinoceros Rhinoceros Sondaicus in Borneo" (PDF). The Raffles Bulletin of Zoology. University of Singapore. 55 (1): 217–220. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-15. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ นายแพทย์ บุญส่ง เลขะกุล เหล่าแรด เก็บถาวร 2010-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสารนิยมไพร ฉบับเยาวชน มกราคม พ.ศ. 2514
- ↑ แรดชวา[ลิงก์เสีย] กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ↑ แรด เก็บถาวร 2015-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทย
- ↑ 26.0 26.1 Corlett, Richard T. (2007). "The Impact of Hunting on the Mammalian Fauna of Tropical Asian Forests". Biotropica. 39 (3): 202–303. doi:10.1111/j.1744-7429.2007.00271.x.
- ↑ Ismail, Faezah (June 9, 1998). "On the horns of a dilemma". New Straits Times.
- ↑ Daltry, J.C. (2000). Cardamom Mountains biodiversity survey. Cambridge: Fauna and Flora International.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 Hutchins, M. (2006). "Rhinoceros behaviour: implications for captive management and conservation". International Zoo Yearbook. Zoological Society of London. 40: 150–173. doi:10.1111/j.1748-1090.2006.00150.x.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 30.0 30.1 Stanley, Bruce (June 22, 1993). "Scientists Find Surviving Members of Rhino Species". Associated Press.
- ↑ Emslie, R. (1999). African Rhino. Status Survey and Conservation Action Plan. IUCN/SSC African Rhino Specialist Group. IUCN, Gland, Switzerland and Cambridge, UK. ISBN 2831705029.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Dursin, Richel (January 16, 2001). "Environment-Indonesia: Javan Rhinoceros Remains At High Risk". Inter Press Service.
- ↑ 33.0 33.1 Williamson, Lucy (September 1, 2006). "Baby boom for near-extinct rhino". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16.
- ↑ Rare rhinos captured on camera in Indonesia, video, ABC News Online, 1 March 2011 (Expires: 30 May 2011)
- ↑ Raeburn, Paul (April 24, 1989). "World's Rarest Rhinos Found In War-Ravaged Region of Vietnam". Associated Press.
- ↑ "Javan Rhinoceros; Rare, mysterious, and highly threatened". องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล. March 28, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
- ↑ "Rare Javan rhino found dead in Vietnam". WWF, 10 May 2010
- ↑ Kinver, Mark (2011-10-24). "Javan rhino 'now extinct in Vietnam'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2011-10-24.
- ↑ 39.0 39.1 ประกาศอย่างเป็นทางการ แรดชวาสูญพันธุ์แล้วในเวียดนาม เก็บถาวร 2011-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554
- ↑ Gersmann, Hanna (25 October 2011). "Javan rhino driven to extinction in Vietnam, conservationists say". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
- ↑ http://wwf.panda.org/who_we_are/wwf_offices/vietnam/news/?202075/Inadequate-protection-causes-Javan-rhino-extinction-in-Vietnam
- ↑ Rookmaaker, L.C. (2005). "A Javan rhinoceros, Rhinoceros sondaicus, in Bali in 1839". Zoologische Garten. 75 (2): 129–131.
- ↑ de Longh, H. H.; Prins, H. H. T.; van Strien, N.; Rookmaaker, L. G. (2005). "Some observations on the presence of one-horned rhinos in the bas reliefs of the Angkor Wat temple complex, Cambodia" (PDF). Pachyderm. 38: 98–100.
- ↑ Poole, C. M.; Duckworth, J. W. (2005). "A documented 20th century record of Javan Rhinoceros Rhinoceros sondaicus from Cambodia". Mammalia. 69 (3–4). doi:10.1515/mamm.2005.039.
- ↑ Stönner, H. (1925). "Erklärung des Nashornreiters auf den Reliefs von Angkor-Vat". Artibus Asiae. 1 (2): 128–130. doi:10.2307/3248014. JSTOR 3248014.
- ↑ Switek, B. (2009). "Stegosaurus, Rhinoceros, or Hoax?". Smithsonian Magazine.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Javan Rhino Info เก็บถาวร 2011-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน & Javan Rhino Pictures เก็บถาวร 2007-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the Rhino Resource Center
- International Rhino Foundation dedicated to the conservation of rhinos: Javan Rhino เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ARKive - images and movies of the Javan Rhinoceros (Rhinoceros sondaicus) เก็บถาวร 2007-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- UNEP & WCMC เก็บถาวร 2008-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน species sheet on the Javan Rhinoceros.
- Desmarest (1822). "Rhinoceros sondaicus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2008. International Union for Conservation of Nature.