วงศ์กก
พืชวงศ์กก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperaceae) เป็นวงศ์ที่มีจำนวนสปีชีส์ที่เป็นที่รู้จัก 5,500 ชนิดในประมาณ 90 สกุล[3][4]
วงศ์กก | |
---|---|
ดอกของ Cyperus polystachyos | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว |
เคลด: | Commelinids |
อันดับ: | อันดับหญ้า |
วงศ์: | วงศ์กก Juss.[1] |
สกุล | |
88, ดูข้างล่าง[2] |
สปีชีส์นี้แพร่กระจายพันธุ์ทั่วโลก โดยมีศูนย์กลางความหลากหลายที่แถบเขตร้อนในเอเชียและอเมริกาใต้ ในขณะที่บางส่วนพบในเกือบทุกสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือบริเวณที่มีดินแย่ ใน 46 ประเทศจัดพืชวงศ์กกเป็นวัชพืช มีหลายชนิดใช้เป็นอาหารเช่น Eleocharis toberosa และ Scirpus toberosus และหลายชนิดนำมาทำเครื่องจักสานได้อย่าง เสื่อ กระจาด กระเช้า หมวก เช่นกกชนิด Scirpus mucronatus, Lepironia mucronata, Carex brizoides เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้กกมีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก มีลักษณะที่แตกต่างจากหญ้าคือ กกมักมีลำต้นตัน และเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุม บางชนิดมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องๆ มีกาบใบอยู่ชิดกันมาก และที่สำคัญคือเกือบไม่มีลิ้นใบ บางชนิดไม่มีเลย ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของกกคือ ดอกแต่ละดอกจะมีกาบช่อย่อยห่อหุ้มหรือรองรับเพียงอันเดียว กกมีไหลเลื้อยไปใต้ดินและจากไหลก็จะแตกเป็นลำต้นที่ตัน โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน และเมื่อผ่าลำต้นดูตามขวาง จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมดังได้กล่าวมาแล้ว ลำต้นกกจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ใบของกกเหมือนกับใบของหญ้า แต่จะเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นสามมุมหรือสามตำแหน่งรอบโคนต้นและมีกาบห่อหุ้มลำต้นและไม่มีลิ้นใบ
ช่อดอกกกจะเกิดที่ปลายลำต้นเป็นหลายแบบ เช่น ช่อแยกแขนง, ช่อซี่ร่ม หรือ ช่อเชิงลด และมีดอกขนาดเล็กเป็นทั้งดอกที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์เพศ โดยมีดอกรวมเรียกว่าช่อดอกย่อย ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยหนึ่งหรือหลายดอก แต่ละดอกมีริ้วประดับรองรับ ส่วนกลีบดอกนั้นไม่มีหรืออาจมีแต่เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นเกล็ด หรือขนแข็งเล็ก ๆ ในดอกกกจะมีเกสรเพศผู้แยกกันอยู่ ส่วนเกสรเพศเมียจะมีก้านแยกเป็นสอง-สามแฉก หรือบางครั้งแยกเป็นสอง-สามเส้น และมีรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก ภายในมีห้องเดียวและมีหนึ่งเมล็ด
สกุล
แก้ข้อมูลเมื่อ 2020[update] Plants of the World Online ของสวนพฤกษศาสตร์คิวยอมรับเพียง 88 สกุล:[2]
- Actinoschoenus Benth.
- Actinoscirpus (Ohwi) R.W.Haines & Lye
- Afroscirpoides García-Madr. & Muasya
- Afrotrilepis (Gilly) J.Raynal
- Amphiscirpus Oteng-Yeb.
- Androtrichum (Brongn.) Brongn.
- Arthrostylis R.Br.
- Becquerelia Brongn.
- Bisboeckelera Kuntze
- Blysmus Panz. ex Schult.
- Bolboschoenus (Asch.) Palla
- Bulbostylis Kunth
- Calliscirpus C.N.Gilmour, J.R.Starr & Naczi
- Calyptrocarya Nees
- Capeobolus Browning
- Capitularina J.Kern
- Carex L.
- Carpha Banks & Sol. ex R.Br.
- Caustis R.Br.
- Cephalocarpus Nees
- Chorizandra R.Br.
- Chrysitrix L.
- Cladium P.Browne
- Coleochloa Gilly
- Costularia C.B.Clarke
- Cyathochaeta Nees
- Cyathocoma Nees
- Cyperus L.
- Cypringlea M.T.Strong
- Diplacrum R.Br.
- Diplasia Pers.
- Dracoscirpoides Muasya
- Dulichium Pers.
- Eleocharis R.Br.
- Eriophorum L.
- Erioscirpus Palla
- Evandra R.Br.
- Everardia Ridl.
- Exocarya Benth.
- Ficinia Schrad.
- Fimbristylis Vahl
- Fuirena Rottb.
- Gahnia J.R.Forst. & G.Forst.
- Gymnoschoenus Nees
- Hellmuthia Steud.
- Hypolytrum Pers.
- Isolepis R.Br.
- Khaosokia D.A.Simpson, Chayam. & J.Parn.
- Koyamaea W.W.Thomas & G.Davidse
- Lagenocarpus Nees
- Lepidosperma Labill.
- Lepironia Pers.
- Machaerina Vahl
- Mapania Aubl.
- Mesomelaena Nees
- Microdracoides Hua
- Morelotia Gaudich.
- Neesenbeckia Levyns
- Nelmesia Van der Veken
- Nemum Desv.
- Oreobolopsis T.Koyama & Guagl.
- Oreobolus R.Br.
- Paramapania Uittien
- Phylloscirpus C.B.Clarke
- Pleurostachys Brongn.
- Principina Uittien
- Pseudoschoenus (C.B.Clarke) Oteng-Yeb.
- Ptilothrix K.L.Wilson
- Reedia F.Muell.
- Rhodoscirpus Léveillé-Bourret, Donadío & J.R.Starr
- Rhynchocladium T.Koyama
- Rhynchospora Vahl
- Schoenoplectiella Lye
- Schoenoplectus (Rchb.) Palla
- Schoenus L.
- Scirpodendron Zipp. ex Kurz
- Scirpoides Ség.
- Scirpus Tourn. ex L.
- Scleria P.J.Bergius
- Sumatroscirpus Oteng-Yeb.
- Tetraria P.Beauv.
- Trachystylis S.T.Blake
- Trianoptiles Fenzl ex Endl.
- Trichophorum Pers.
- Trichoschoenus J.Raynal
- Tricostularia Nees
- Trilepis Nees
- Zameioscirpus Dhooge & Goetgh.
อ้างอิง
แก้- ↑ Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x.
- ↑ 2.0 2.1 "Cyperaceae". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
- ↑ Christenhusz, M. J. M.; Byng, J. W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. Magnolia Press. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1.
- ↑ R. Govaerts; D. A. Simpson; with J. Bruhl; T. Egorova; P. Goetghebeur; K. Wilson (2007). Word Checklist of Cyperaceae: Sedges. Royal Botanic Gardens, Kew. ISBN 978-1-84246-199-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- จเร สดากร. ข่าวกองพฤกษศาสตร์และวัชพืช. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2538, กรมวิชาการเกษตร.