โลก (สันสกฤต: लोक, บาลี: loka; อังกฤษ: world; สัญลักษณ์: 🜨) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์[1] รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก[2]

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน อพอลโล 17

ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ

  1. โลกที่เป็นเอกภพทางกายภาพทั้งหมด
  2. โลกในแบบภววิทยา

ในทางเทววิทยา โลก หมายถึง โลกที่เป็นวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพเจตะ อุตรภาพ หรือศักดิ์สิทธิ์

คำว่า "โลกาวินาศ" หมายถึง สภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบในศาสนาต่าง ๆ

ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบันนี้

ประชากรโลก หมายถึง จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึง สภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์

คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมด

ส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์ แต่หมายถึงดาวเคราะห์โลก

อ้างอิง

  1. "พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
  2. Merriam-webster.com
  NODES