ฟูโรซีไมด์

(เปลี่ยนทางจาก Furosemide)

ฟูโรซีไมด์ (อังกฤษ: Furosemide) ขายภายใต้ชื่อการค้า ลาซิกซ์ (อังกฤษ: Lasix) ฯลฯ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการบวมน้ำเนื่องจากภาวะหัวใจวาย โรคตับแข็งหรือโรคไต[1] นอกจากนี้ยังอาจใช้รักษาความดันโลหิตสูง ปริมาณยาที่ใช้แล้วแต่บุคคล ให้ได้ทั้งเข้าหลอดเลือดดำและทางปาก เมื่อรับประทานตรงแบบยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าเข้าหลอดเลือดดำตรงแบบจะเริ่มออกฤทธิ์ในห้านาที[1]

ฟูโรซีไมด์ (INN, BAN)
ข้อมูลทางคลินิก
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: C
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
ช่องทางการรับยาปาก, IV, IM
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล43-69%
การเปลี่ยนแปลงยาปฏิกิริยาเติมกรดกลูคูโรนิกที่ตับและไต
ระยะเริ่มออกฤทธิ์30 ถึง 60 นาที (PO), 5 นาที (IV)[1]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพถึง 100 นาที
การขับออกไต 66%, น้ำดี 33%
ตัวบ่งชี้
  • 4-chloro-2-[(furan-2-ylmethyl)amino]- 5-sulfamoylbenzoic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.185
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC12H11ClN2O5S
มวลต่อโมล330.745 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=S(=O)(N)c1c(Cl)cc(c(C(=O)O)c1)NCc2occc2
  • InChI=1S/C12H11ClN2O5S/c13-9-5-10(15-6-7-2-1-3-20-7)8(12(16)17)4-11(9)21(14,18)19/h1-5,15H,6H2,(H,16,17)(H2,14,18,19) checkY
  • Key:ZZUFCTLCJUWOSV-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ผลข้างเคียงทั่วไปมีความดันเลือดตกเมื่อยืนขึ้น เสียงในหูและภาวะไวแสง ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้มีการเสียดุลอิเล็กโทรไลต์ ความดันเลือดต่ำ และหูหนวก แนะนำให้ทดสอบเลือดเป็นประจำสำหรับผู้ที่ได้รับยาเพื่อรักษา ฟูโรซีไมด์เป็นยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ที่ลูป (loop diuretic) ชนิดหนึ่งซึ่งออกฤทธิ์โดยลดการดูดกลับโซเดียมที่ไต[1]

ฟูโรซีไมด์ถูกค้นพบเมื่อปี 2505[2] อยู่ในรายการยาหลักของตัวแบบองค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) คือ ยาที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน[3] ราคาขายส่งทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.004 ถึง 0.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน[4] ในสหรัฐมีขายเป็นยาสามัญ ราคาประมาณ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ฟูโรซีไมด์อยู่ในรายการยาต้องห้ามขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกเนื่องจากกังวลว่าอาจบดบังยาอื่น[5] ยานี้ใช้ป้องกันและรักษาม้าแข่งที่มีภาวะเลือดออกในปอดที่ชักนำด้วยการออกกำลังกาย (exercise-induced pulmonary hemorrhage)[6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Furosemide". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ Oct 23, 2015.
  2. Rang, Humphrey (2013). Drug discovery and development [electronic resource] (2nd ed.). Edinburgh: Churchill Livingstone. p. Chapter 1. ISBN 9780702053160.
  3. "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  4. "Furosemide". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
  5. "THE 2014 PROHIBITED LIST INTERNATIONAL STANDARD" (pdf). 2014. p. 5. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
  6. Sullivan, S; Hinchcliff, K (April 2015). "Update on exercise-induced pulmonary hemorrhage". The Veterinary clinics of North America. Equine practice. 31 (1): 187–98. doi:10.1016/j.cveq.2014.11.011. PMID 25770069.
  7. Hinchcliff, KW; Couetil, LL; Knight, PK; Morley, PS; Robinson, NE; Sweeney, CR; van Erck, E (2015). "Exercise induced pulmonary hemorrhage in horses: American College of Veterinary Internal Medicine consensus statement". Journal of veterinary internal medicine / American College of Veterinary Internal Medicine. 29 (3): 743–58. doi:10.1111/jvim.12593. PMID 25996660.
  NODES
INTERN 5
Verify 1