กวางมูส
กวางมูส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน | |
---|---|
ตัวผู้ | |
ตัวเมีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Cervidae |
สกุล: | Alces Gray, 1821 |
สปีชีส์: | A. alces |
ชื่อทวินาม | |
Alces alces (Linnaeus, 1758) | |
ถิ่นที่พบ |
กวางมูส (อังกฤษ: moose) คือกวางขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตหนาวและอบอุ่นซีกโลกเหนือ สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือสายพันธุ์อะแลสกา[2] สามารถพบได้ในบริเวณป่าไทกา ในทวีปอเมริกาเหนือจะเรียกว่า มูส ในยูเรเชียจะเรียกว่า เอลก์ พบมากในบริเวณประเทศแคนาดา, ประเทศลัตเวีย, ประเทศเอสโตเนีย และประเทศรัสเซีย
พวกมันเป็นสัตว์ที่ไม่รวมกันเป็นฝูงและมีขนาดใหญ่แถมยังมีเขาที่ค่อนข้างใหญ่ทำให้มันเคลื่อนที่ได้ค่อยข้างช้าทำให้พวกมันตกเป็นเหยื่อของนักล่าอย่างหมาป่าและมนุษย์ โดยปกติพวกมันจะเคลือนไหวช้าแต่ถ้าพวกมันโกรธหรือตกใจพวกมันก็สามารถวิ่งได้เร็วเช่นกัน
พวกมันจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูใบไม้ร่วงซึ่งช่วงนั้นมันจะมีการต่อสู้อย่างดุเดือดของตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมีย
การตั้งชื่อ
แก้คำว่า moose เป็นชื่อเรียกของกวางในอเมริกาเหนือส่วนคำว่า elk เป็นคำเรียกในแถบยูเรเชีย เหตุผลที่ใช้ชื่อเรียกไม่เหมือนกันก็เพราะว่าคำว่า elk ในอเมริกาเหนือนั้นเอาไวใช้ในการเรียกชื่อกวางในสายพันธุ์อื่นไปแล้วนั้นก็คือกวางเอลก์ ซึ่งคำว่า elk ดังเดินมาจากภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษเก่าที่พัฒนาขึ้น[3]
ส่วนคำว่า moose เริ่มนำมาใช้ในปี 1606[4]ซึ่งยืมมาจากภาษาแอลกองเควียน[5][6] คำว่า "กวางมูส" เป็นชื่อของแหล่งกำเนิดในอเมริกาเหนือและชื่อวิทยาศาสตร์ของมันมาจากชื่อภาษาละติน[7]
กวางมูสหรือเอลก์สูญพันธุ์ไปจากเกาะบริเตนใหญ่ตั้งแต่ยุคสำริดซึ่งโครงกระดูกที่พบในประเทศสกอตแลนด์นั้นมีอายุถึง 3,900 ปี[8]แต่คำว่า elkก็ยังใช้เป็นชื่อกวางชนิดอื่นอยู่จนพจนานุกรมของศตวรรษที่ 18 ได้อธิบายว่าความหมายของคำว่า elk ว่าเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่เท่าม้า[9]
ที่อยู่อาศัย
แก้อเมริกาเหนือ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยูเรเชีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จำนวนประชากรและชนิด
แก้จำนวนประชากร
แก้อเมริกาเหนือ
แก้- ในประเทศแคนาดา: มีกวางมูสประมาณ 500,000 ถึง 1,000,000 ตัว[10]และในนิวฟันด์แลนด์มีประมาณ150,000ตัว[11]
- ในสหรัฐอเมริกา : อาจจะมีกวางมูสประมาณ 300,000 ตัว ดังนี้ :
ยูเรเชีย
แก้- ประเทศฟินแลนด์ : ในปี 2009 มีประมาณ 11,500 ตัว[16]
- ประเทศนอร์เวย์ : ในปี 2009 มีประมาณ 120,000 ตัว[17] ในปี 2015 มีกวางมูสถูกยิง 31,131 ตัวมีกวางมูสตายในปี 1999 จำนวน 39,422 ตัว[18]
- ประเทศลัตเวีย : ในปี 2015 มีประมาณ 21,000 ตัว[19]
- ประเทศเอสโตเนีย : 13,260 ตัว[20]
- ประเทศโปแลนด์ : 2,800 ตัว[21]
- ประเทศเช็กเกีย : สูงสุด 50 ตัว[21]
- ประเทศรัสเซีย : ในปี 2008 มีประมาณ 730,000 ตัว[ต้องการอ้างอิง]
- ประเทศสวีเดน : ประชากรฤดูร้อนประมาณ 300,000-400,000 ตัว มีคนล่าพวกมันประมาณ 100,000 ตัว[22][23]
ชนิด
แก้เอลก์ยูเรเชีย | A. a. alces | พบในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออกประเทศฟินแลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศลัตเวีย, ประเทศเอสโตเนีย และประเทศรัสเซีย ไม่สามารถพบได้ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันตกยกเว้นประเทศโปแลนด์, ประเทศลิทัวเนีย และประเทศเบลารุส เพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 320 ถึง 475 กก. (705 ถึง 1,047 ปอนด์) และเพศเมียมีน้ำหนัก 275 to 375 กก (606 ถึง 827 ปอนด์) ความสูงถึงไหล่มีความสูงตั้งแต่ 1.7 ถึง 2.1 เมตร (5.6 ถึง 6.9 ฟุต)[24] |
มูสซาฮาหรือมูสไซบีเรียกลาง/มูสเลนา[25] | A. a. pfizenmayeri | พบในไซบีเรียตะวันออก, ประเทศมองโกเลีย และแมนจูเรีย ส่วนใหญ่พบในป่าทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย เป็นกวางมูสที่พบมากที่สุดในทวีปเอเชียมีขนาดใกล้เคียงกับ Western Moose of Canada |
มูสอุสซูรีหรือมูสอามูร์[25] | A. a. cameloides | พบได้มากทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย สายพันธุ์นี้แตกต่างจากสายพันธุ์กวางมูสพันธุ์อื่น ๆ ตรงที่พวกมันมีขนาดตัวและเขาขนาดเล็ก เป็นกลุ่มย่อยที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียและทั่วโลกโดยทั้งเพศผู้และเพศเมียมีความสูงถึงไหล่เพียง 1.65 ถึง 1.85 เมตร (5.4 ถึง 6.1 ฟุต) และมีน้ำหนักระหว่าง 200 ถึง 350 กิโลกรัม (441 และ 772 ปอนด์)[26] |
มูสชูคอตคาหรือมูสไซบีเรียตะวันออก[25] | A. a. burulini | พบได้ที่ไซบีเรีย เป็นกวางที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและเอเชีย สามารถสูงได้ประมาณ 2.15 เมตร (7.1 ฟุต) และมีน้ำหนักระหว่าง 500 ถึง 725 กิโลกรัม (1,102 และ 1,598 ปอนด์) ; เพศเมียค่อนข้างเล็ก |
มูสตะวันออก | A. a. americana | ภาคตะวันออกของแคนาดา ได้แก่ ภาคตะวันออกของรัฐออนแทรีโอ, รัฐควิเบกทั้งหมด และรัฐในแถบมหาสมุทรแอตแลนติก; รัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ รัฐเมน, รัฐนิวแฮมป์เชียร์, รัฐเวอร์มอนต์, รัฐแมสซาชูเซตส์, รัฐโรดไอแลนด์, รัฐคอนเนตทิคัต และทางภาคเหนือของรัฐนิวยอร์กใกล้ภูเขาแอดิรอนแด็ก จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น เพศหญิงมีน้ำหนักเฉลี่ย 270 กิโลกรัม (595 ปอนด์) เพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 365 กิโลกรัม (805 ปอนด์) และสูงประมาณ 2 เมตร (6.6 ฟุต) |
มูสตะวันตก | A. a. andersoni | รัฐบริติชโคลัมเบีย ไปทางตะวันตกถึงรัฐออนแทรีโอ, ตะวันออกของยูคอน, นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์, ตะวันตกเฉียงใต้ของนูนาวุต, รัฐมิชิแกน (บนคาบสมุทร) รัฐวิสคอนซิน รัฐมินนิโซตา รัฐนอร์ทดาโคตา มันมีน้ำหนักประมาณ 340 ถึง 420 กก. (750 ถึง 926 ปอนด์) ในเพศหญิงและ 450 ถึง 500 กิโลกรัม (992 ถึง 1,102 ปอนด์) ในเพศผู้[27] |
มูสอะแลสกา | A. a. gigas | พวกมันเป็นสายพันธุ์ที่สามารถพบได้มากที่สุดในอเมริกาเหนือ[28] |
มูสไชรัส | A. a. shirasi | พบได้ในรัฐไวโอมิง, รัฐไอดาโฮ, รัฐยูทาห์, รัฐโคโลราโด, รัฐวอชิงตัน, รัฐออริกอน และรัฐมอนแทนา[29]สาขาย่อยที่เล็กที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือมีน้ำหนักประมาณ 230 ถึง 344 กิโลกรัม (507 ถึง 758 ปอนด์) |
† มูสคอเคซัส | A. a. caucasicus | อยู่บริเวณเทือกเขาคอเคซัส ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้วโดยช่วงที่มีชีวิตอยู่จะอาศัยอยู่บริเวณประเทศอิหร่าน, ประเทศรัสเซีย, ประเทศจอร์เจีย, ประเทศอาเซอร์ไบจาน และประเทศตุรกี |
ลักษณะ
แก้อาหาร
แก้กวางมูสเป็นสัตว์กินพืชสมุนไพรและสามารถกินพืชหรือผลไม้ได้หลายชนิด กวางตัวเต็มวัยโดยเฉลี่ยนั้นจะต้องการกินอาหารมากกว่า 9,770 กิโลแคลโลรี่ (40.9 MJ) ต่อวันเพื่อรักษาน้ำหนักตัว[30] พลังงานของกวางส่วนใหญ่ได้มาจากพืชซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หญ้าแต่จะเป็นยอดสดจากต้นไม้ เช่น วิลโลว์, เบิร์ช พืชเหล่านี้มีโซเดียมค่อนข้างต่ำจึงทำให้พวกมันต้องไปกินพืชน้ำที่จะให้โซเดียมเพิ่ม[31]
ในช่วงฤดูหนาวพวกมันจะไปตามถนนเพื่อเลียเกลือที่คนน้ำโรยถนน[32]กวางมูสโดยทั่วไปจะมีน้ำหนัก 360 กิโลกรัม (794 ปอนด์) และสามารถกินได้ถึง 32 กิโลกรัม (71 ปอนด์) ต่อวัน[31]
พวกมันไม่มีฟันบนด้านหน้าแต่มีฟันกรามด้านล่างแปดซี่ อีกทั้งพวกมันยังมีลิ้นยาว มีฝีปากและเหงือกซึ่งช่วยในการกินพืชไม้ยืนต้น พวกมันมีฟันกรามขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้บดอาหาร ริมฝีปากบนของกวางมูสมีความสำคัญมากเนื่องจากเพื่อช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างยอดสดและกิ่งไม้ที่แข็งและมันยังมีริมฝีปากจะหย่อนยานเพื่อดักไม่ให้อาหารตกลงพื้น[33][34] อาหารของพวกมันนั้นจะขึ้นอยู่ตามถิ่นที่มันอยู่อาศัยแต่โดยปกติแล้วพวกมันจะชอบกินไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น เมเปิล[35]
ถ้ามันกินใบไม้ต้นเตี้ย ๆ มันอาจงอหรือย่อตัวให้เตี้ยลงโดยใช้ริมฝีปากปากหรือลำตัว สำหรับต้นไม้ขนาดใหญ่ กวางมูสอาจยืนตรงและใช้ขาหน้าพาดต้นไม้ซึ่งทำให้มันสูงได้ถึง 4.26 เมตร (14.0 ฟุต) [36][37]
ขน
แก้ขนของพวกมันมีสองชั้นโดยชั้นแรกจะค่อนข้างยาวเพื่อทำให้ร่างกายของมันอบอุ่น ส่วนชั้นที่สองจะมีกลักษณะเป็นขนอ่อนและเต็มไปด้วยอากาศสำหรับฉนวนกันความร้อนที่ดีและยังช่วยให้มันลอยตัวได้เวลาพวกมันว่ายน้ำ[38]
ขนาดและน้ำหนัก
แก้โดยเฉลี่ยแล้วกวางตัวเต็มวัยจะมีความสูงเฉลี่ย 1.4-2.1 เมตร (4.6-6.9 ฟุต) โดยแค่ไหล่ของมันก็สูงกว่ากวางที่ใหญ่ที่สุดในอันดับถัดไปจึงทำให้มันเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน[39]
ตัวผู้โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 380 ถึง 700 กก. (838 ถึง 1,543 ปอนด์) และตัวเมียนั้นโดยปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 200 ถึง 490 กิโลกรัม (441 ถึง 1,080 ปอนด์) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับที่อยู่อาศัย อายุ และอาหารการกินด้วย[40][41] ความยางตั้งแต่หัวถึงหางอยู่ที่ 2.4-3.1 เมตร (7.9-10.2 ฟุต) หรืออาจจะยาวกว่านี้ 5-12 เซนติเมตร
สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อะแลสกาชื่อสายพันธุ์คือ A. a. gigas ซึ่งความสูงจกพื้นถึงไหล่คือ 2.1 เมตร (6.9 ฟุต) และยาวประมาณ 1.8 เมตร (5.9 ฟุต) ตัวผู้หนักประมาณ 634.5 กิโลกรัม ( 1,399 lb) และตัวเมียหนักประมาณ 478 กิโลกรัม (1,054 ปอนด์) [42]
ขนาดกวางมูสที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบคือในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2440 ซึ่งมีน้ำหนัก 820 กิโลกรัม (1,808 ปอนด์) และสูง 2.33 เมตร (7.6 ฟุต)[43]
กวางมูสเป็นสัตว์บกที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปโดยเป็นรองเพียงวัวไบซัน[43]
สังคมและการสืบพันธุ์
แก้กวางมูสส่วนมากจะชอบอยู่ตัวเดียวแต่เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์พวกมันจะอยู่กันเป็นกลุ่มหลายตัว การผสมพันธุ์นั้นจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ตัวผู้จะหาคู่โดยใช้เสียงร้องที่ได้ยินไกลถึง 500 เมตร ในขณะที่ตัวเมียก็จะมีเสียงที่คล้ายกัน และถ้ามันเจอเพศผู้ตัวอื่นมาแย่งตัวเมียมันก็จะสู่กันเพื่อจะได้ตัดสินว่าใครจะได้คุ้มครองตัวเมีย[44]
พวกมันจะตั้งครรภ์ 8 เดือนโดยจะออกมาแค่ 1 หรือ 2 ตัว[45]ในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน[46]กวางมูสที่เกิดใหม่จะมีสีแดงเมื่อเทียบกับขนของตัวเต็มวัย และพวกมันก็จะอยู่กับเม่ของมันจนกว่าแม่จะมีลูกตัวใหม่
อายุโดยเฉลี่ยของกวางมูสอยู่ที่ 15-25ปี
-
(เกิดใหม่)
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ -
(3 เดือน)
พวกมันจะอยู่กับแม่ตลอดเวลา -
(9 เดือน)
พวกมันจะเริ่มแยกออกจากแม่ -
(10–11 เดือน)
ช่วงนี้มันจะโดนไล่เพราะแม่ตั้งครรภ์ใหม่
การรุกราน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักล่าตามธรรมชาติ
แก้กวางมูสตัวเต็มวัยนั้นมีศัตรูตามธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิดจะมีก็แค่เสือโคร่งไซบีเรีย,หมาป่าที่มาล่ากวางมูสบ่อยๆ[47][48][49]แต่หมาป่าส่วนมากจะล่ากวางตัวเมียหรือลูกกวางมากกว่า[50]
หมีสีน้ำตาล[42]นั้นก็เป็นหนึ่งในผู้ล่าโดยมันจะล่ากวางที่มันเห็นโดยไม่เกียงขนาดว่าจะใหญ่หรือเล็กและยังเป็นนักล่าเพียงตัวเดียวนอกจากหมาป่าที่ล่ากวางมูสในทวีปอเมริกาเหนือและยูเรเชียอย่างไรก็ตามพวกมันก็ขี้เกียจที่จะล่ามันจึงรอตอนที่หมาป่าล่าหรือรอตะครุบกวางเด็กมากกว่าที่จะมาไล่ล่ากวางตัวเต็มวัย[51][52][53]
หมีดำก็สามารถเป็นล่ากวางมูสได้เช่นกันในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนซึ่งเป็นช่วงที่เหยือหายาก[54][55]และรวมถึงวุลเวอรีนก็ชอนกินกวางมูสเช่นกันแต่ส่วนมากมันจะกินซากกวางหรือรอล่าหวางมูสตอนที่พวกมันอ่อนแอจากฤดูหนาว
วาฬเพชรฆาตเป็นสัตว์ทะเลที่มีการล่ากวางมูสด้วยเช่นกันโดยมันจะมีการล่าในบริเวณชายฝั่งของเกาะในประเทศแคนาดา[56]อีกทั้งยังมีการบอกเล่าว่ากวางมูสถูกล่าโดยปลาฉลามกรีนแลนด์อีกด้วย[57]
ในบางพื้นที่นั้นกวางมูสเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับหมาป่าโดยมันมักจะตามล่ากวางเป็นระยะทาง 100 ถึง 400 เมตร (330 ถึง 1,310 ฟุต) บางครั้งเป็นระยะทางถึง 2-3 กิโลเมตร (1.2 ถึง 1.9 ไมล์) โดยการโจมตีของหมาป่านั้นจะทำการล่าเป็นฝูงแล้วต้อนให้จนมุมจากนั้นก็จะมีการต่อสู้เกิดขึ้นโดยกวางอากจะถีบหมาป่าด้วยกีบเท้าที่แข็งและหมาป่าจะพยายามโดมตีที่อกซึ่งจะทำให้เสียเลือดจำนวนมาก หรืออาจโจมตีที่จมูกหรืออวัยวะเพศเพื่อทำให้กวางเป็นลมแล้วลงมือฆ่า[58]
หมาป่าส่วนมากจะล่ากวางที่มีอายุน้อยและกวางที่มีอายุเยอะหรือกวางแก่เพราะการล่ากวางที่อยู่ช่วยวัยกลางๆนั้นเป็นเรื่องยากจึงทำให้กวางที่มีอายุ2-8ปีไม่ค่อยโดนฆ่าเท่าไหร่[59]การล่ากวางเป็นฝูงจะมีประสิทธิภาพและสำเร็จได้ง่ายกว่าการล่าตัวเดียวนั้นทำให้พวกมันล่าเป็นฝูง[60][61]
จากการวิจัยเกี่ยวกับการล่ากวางมูสแสดงให้เห็นว่าพวกมันการตอบสนองต่อภัยคุกคามในการรับรู้ซึ่งได้มาจากการเรียนรู้มากกว่าสัญชาตญาณของมัน เมือก่อนพวกมันถูกล่าจนทำให้ประชากรของพวกมันลดลงเป็นจำนวนมากแต่ในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มค่อนข้างดีขึ้น และจากการศึกษาพบว่าพวกมันได้มีการเรียนรู้และปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสามารถหนีหมาป่าให้ทันด้วยการดมกลิ่นหรือฟังยินเสียงหรือการพบนกกินซากเช่นอีกา[62]
กวางมูสยังเป็นโรคต่าง ๆ ในรูปแบบของปรสิตด้วย เช่น การถูกแมลงวันมูส (moose botfly) ฝังไข่ลงในเนื้อ หรือการมีพยาธิ[63]
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อุบัติเหตุ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิชาที่ว่าด้วยสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ {{{assessors}}} (2008). Alces alces. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 11 February 2009.
- ↑ Franzmann, A. W., LeResche, R. E., Rausch, R. A., & Oldemeyer, J. L. (1978). Alaskan moose measurements and weights and measurement-weight relationships. Canadian Journal of Zoology, 56(2), 298-306.
- ↑ "Online Etymology Dictionary – elk". สืบค้นเมื่อ 24 January 2013.
- ↑ "moose". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
- ↑ "moose". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
- ↑ "moose". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2011-10-25.
- ↑ "elk, n.1". Oxford English Dictionary. สืบค้นเมื่อ 15 December 2010.
- ↑ Feral: Rewilding the Land, the Sea, and Human Life By George Monbiot -- University of Chicago press 2014 Page 124
- ↑ Bailey, Nathan (1731). An Universal Etymological English Dictionary Royal Exchange. Page EL--EM.
- ↑ "Hinterland Who's Who". Hww.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
- ↑ "Newfoundland's 120,000 moose are descended from just four that were introduced a century ago". Canadacool.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24.
- ↑ Interior Alaska Moose News (Fall 2011), p. 6, "How Do Scandinavia and Alaska Compare?"
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Wyoming moose numbers fall short", Billings Gazette, May 28, 2009
- ↑ "DNRE Survey Results Indicate Approximately 433 Moose in Western Upper Peninsula"
- ↑ RiistaWeb เก็บถาวร 2010-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Riistaweb.riista.fi. Retrieved on 2011-01-09.
- ↑ "Elgen truer skogen" (ภาษานอร์เวย์). Aftenposten.
- ↑ "Elgjakt, 2015/2016". Statistisk sentralbyrå.
- ↑ "zm.gov.lv" (ภาษาลัตเวีย). zm.gov.lv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2015-10-06.
- ↑ "Põtrade arvukust tahetakse oluliselt vähendada." Postimees 06.26.2013. Retrieved on 6-27-2013. (เอสโตเนีย)
- ↑ 21.0 21.1 "Factsheet: Eurasian Elk (Elk, reindeer, roe deer (Cetartiodactyla Cervidae Capreolinae) > Alces alces)". Lhnet.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-27.
- ↑ "jagareforbundet.se" (ภาษาสวีเดน). jagareforbundet.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.
- ↑ "salenalgen.se Om älgar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
- ↑ Smith, A. T., Xie, Y., Hoffmann, R. S., Lunde, D., MacKinnon, J., Wilson, D. E., & Wozencraft, W. C. (Eds.). (2010). A guide to the mammals of China. Princeton University Press.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 "Asian Moose". Bear Creek Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-06-27.
- ↑ Jackson, K. (2009). Moose. Reaktion Books.
- ↑ "Moose in British Columbia" (PDF). Ministry of Environment, Lands and Parks, British Columbia. สืบค้นเมื่อ 2014-08-18.
- ↑ Franzmann, A. W., LeResche, R. E., Rausch, R. A., & Oldemeyer, J. L. (1978). Alaskan moose measurements and weights and measurement-weight relationships. Canadian Journal of Zoology, 56 (2), 298-306.
- ↑ "Moose Status and Hunting in Washington By Dana L. Base, Associate Wildlife Biologist August 2004". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-12-07.
- ↑ "Info on moose diet from Norwestern University". Qrg.northwestern.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16.
- ↑ 31.0 31.1 Biology by numbers: an encouragement to quantitative thinking By Richard F. Burton – Cambridge University Press 1998 Page 84-85
- ↑ Journey to New England By Patricia Harris, David Lyon – Patricia Harris-David Lyon 1999 Page 398
- ↑ Rodgers, Art (2001), Moose, Voyager Press, p. 34, ISBN 0-89658-521-2
- ↑ Seasons of the Moose By Jennie Promack, Thomas J. Sanker -- Gibbs Smith 1992 Page 21
- ↑ Moose diet. Mooseworld. Retrieved on 2011-01-09.
- ↑ North American big-game animals by Byron Dalrymple -- Stoeger Publishing 1983 Page 84
- ↑ The Land and Wildlife of North America By Peter Farb -- California State department of Education 1966 Page 177
- ↑ Big Game Hunting in Newfoundland
- ↑ "Moose Facts from Maine". Jackmanmaine.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ "Moose". Env.gov.nl.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ Franzmann, A. W. (1981). Alces alces. Mammalian Species, 1-7.
- ↑ 42.0 42.1 Nancy Long; Kurt Savikko (2009-08-07). "Moose: Wildlife Notebook Series – Alaska Department of Fish and Game". Adfg.state.ak.us. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ 43.0 43.1 Wood, The Guinness Book of Animal Facts and Feats. Sterling Pub Co Inc. (1983), ISBN 978-0-85112-235-9
- ↑ DW Hartt, Data; Web Coordinator. "Moose Reproduction". Web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16.
- ↑ Ruff, Sue (1999). The Smithsonian Book of North American Mammals. Washington: Smithsonian Institution Press. ISBN 1-56098-845-2.
- ↑ "Moose: Minnesota DNR". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-07. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
- ↑ Frasef, A. (2012). Feline Behaviour and Welfare. CABI. pp. 72–77. ISBN 978-1-84593-926-7.
- ↑ Tigris Foundation dedicated to the survival of the Amur tiger and leopard in the wild : UK HOME เก็บถาวร 2011-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Tigrisfoundation.nl (1999-11-13). Retrieved on 2011-01-09.
- ↑ Hayward, M. W., Jędrzejewski, W., & Jedrzejewska, B. (2012). Prey preferences of the tiger Panthera tigris. Journal of Zoology, 286 (3), 221-231.
- ↑ Nancy Long; Kurt Savikko (2007-12-17). "Wolf: Wildlife Notebook Series – Alaska Department of Fish and Game". Adfg.state.ak.us. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ Nancy Long; Kurt Savikko (2009-08-07). "Brown Bear: Wildlife Notebook Series – Alaska Department of Fish and Game". Adfg.state.ak.us. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ Opseth, O. (1998). Brown bear (Ursus arctos) diet and predation on moose (Alces alces) calves in the southern taiga zone in Sweden. Cand Sci Thesis, Norwegian University of Science and Technology, Trondheim.
- ↑ Mattson, D. J. (1997). Use of ungulates by Yellowstone grizzly bears Ursus arctos. Biological Conservation, 81 (1), 161-177.
- ↑ Charles C. Schwartz & Albert W. Franzmann (1983). "Effects of Tree Crushing on Black Bear Predation on Moose Calves" (PDF). Bears: Their Biology and Management. A Selection of Papers from the Fifth International Conference on Bear Research and Management, Madison, Wisconsin, USA, February 1980. 5: 40. JSTOR 3872518. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-05.
- ↑ "Hinterland Who's Who – Cougar". Hww.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-26. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ Robert W. Baird; Robin W. Baird (31 August 2006). Killer Whales of the World: Natural History and Conservation. Voyageur Press. pp. 23–. ISBN 978-0-7603-2654-1. สืบค้นเมื่อ 2011-02-02.
- ↑ "Moose-eating shark rescued in Newfoundland harbour". CBC Newfoundland & Labrador. Canadian Broatcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 15 May 2016.
- ↑ Graves, Will (2007). Wolves in Russia: Anxiety throughout the ages. Calgary: Detselig Enterprises. p. 222. ISBN 1-55059-332-3. OCLC 80431846.
- ↑ "Watching Wolves On a Wild Ride By Les Line, National Wildlife Federation, December/January 2001, vol. 39 no. 1". Nwf.org:80. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16.
- ↑ "Alaska Science Forum, June 10, 2004 ''Are ravens responsible for wolf packs?'' Article #1702 by Ned Rozell". Gi.alaska.edu. 2004-06-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16.
- ↑ Carnivores of the World by Dr. Luke Hunter. Princeton University Press (2011), ISBN 9780691152288
- ↑ Berger, Joel; Swenson, Jon E.; Persson,Inga-Lill Recolonizing Carnivores and Naive Prey: Conservation Lessons from Pleistocene Extinctions. เก็บถาวร 2013-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Science 2/9/2001
- ↑ Jaenson, Thomas G.T. (2011). "Larver av nässtyngfluga i ögat - ovanligt men allvarligt problem. Fall av human oftalmomyiasis från Dalarna och sydöstra Finland redovisas (summary)". Lakartidningen. 108 (16). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 21 June 2011.
Moose bot fly larvae are common parasites of moose (Alces alces) in north and central Sweden. Last year, however, C. ulrichii was on three occasions recorded for the first time from Småland, south Sweden.