การจูบ คือการนำเอาริมฝีปากสัมผัสกับร่างกายของอีกคนหนึ่ง การแสดงการจูบในแต่ละวัฒนธรรมมีความหมายที่แตกต่างกันไป การจูบอาจเพื่อแสดงความรักหรือความใคร่[1] ความนับถือ การทักทายและแสดงความโชคดี การจูบในหลายวัฒนธรรมทั่วโลกโดยมากจะเป็นการแสดงความรัก ในบางวัฒนธรรมการจูบเป็นการทักทาย โดยเฉพาะประเทศในยุโรป แต่ในบางครั้งการจูบก็ไม่ใช่สิ่งที่เกิดประจำวัน อย่างเช่นชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย ชาวตาฮิติ หรือหลายเผ่าในแอฟริกา

โรเมโอและจูเลียต จูบกันในภาพเขียนของแฟรงก์ ดิกซี

การศึกษาเรื่องการจูบเริ่มในต้นศตวรรษที่ 20 โดยนักประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ชื่อ เออร์เนสต์ ครอว์ลีย์ เขียนไว้ว่า "การจูบเป็น การแสดงอเนกประสงค์ในชีวิตสังคมของความศิวิไลซ์ชั้นสูงกว่าของความรู้สึก ความใคร่ ความรัก (เพศ ความเป็นพ่อเป็นแม่ และความเป็นลูก) และความเคารพ" ครอว์เลย์ยังกล่าวว่า การสัมผัส "เป็นความรู้สึกของความเป็นแม่ และการจูบเป็นการสัมผัสและรูปแบบพิเศษของการติดต่อกันที่ใกล้ชิด"[2] อย่างไรก็ตามเขากล่าวว่า การจูบเป็นเรื่องแปลกใน "กลุ่มผู้ไม่เจริญกว่า" แต่กระนั้นในบรรดาผู้มีความศิวิไลซ์สูงกว่า ครวว์ลีย์เห็นความแตกต่างว่า การจูบในอียิปต์โบราณไม่เป็นที่รู้จัก แต่ก็แสดงให้เห็นดีในกรีกยุคต้น, อัสซีเรียและอินเดีย[2]

การจูบกันของความรักนั้น นักมานุษยวิทยาในศตวรรษที่ 19 ที่ชื่อเซแซร์ ลอมโบรโซ ระบุมีต้นกำเนิดและพัฒนามาจากการจูบของมารดา[3] ครอว์เลย์สนับสนุนมุมมองนี้โดยกล่าวว่า ในสังคมญี่ปุ่น ก่อนศตวรรษที่ 20 "เป็นสิ่งที่ไม่ตระหนักถึง ยกเว้นเพียงมารดาจูบทารกของเธอ" ขณะที่ในแอฟริกาและคนป่าเถื่อนไร้ศาสนาภรรยาหรือคนรักกันต่างก็ไม่จูบกัน[2] อย่างไรก็ตามในวัฒนธรรมกรีกและละติน การจูบกันถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อพ่อแม่จูบลูกของเขาหรือคนรัก หรือคนแต่งงานกันแล้วต่างก็จูบกัน การจูบในสังคมตะวันตกยังมีใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาหลายอย่าง เพื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-02-11.
  2. 2.0 2.1 2.2 Crawley, Ernest. Studies of Savages and Sex, Kessinger Publishing (revised and reprinted) (2006)
  3. Lobroso, Cesare. cited by Havelock Ellis, Sexual Selection in Man: Studies in the Psychology of Sex, iv. Philadelphia, (1905), pg. 218
  NODES