ครอบฟัน
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
ครอบฟัน[1] (อังกฤษ: crown) เป็นการแต่งหรือบูรณะฟัน โดยครอบฟันจริงหรือฟันที่ได้ปลูกสร้างทั้งหมดด้วย "ครอบฟัน" ซึ่งจำเป็นเมื่อฟันมีช่องใหญ่ (เช่นที่เกิดจากฟันผุ) คอยทำให้ฟันมีปัญหา[2] โดยครอบฟันจะเชื่อมเข้ากับฟัน (หรือฟันปลูกสร้าง) ด้วยซีเมนต์สำหรับฟัน ครอบฟันสามารถทำด้วยวัสดุหลายอย่าง โดยปกติจะทำนอกปาก (ที่เรียกว่า indirect method) บ่อยครั้งใช้เพิ่มความแข็งแรงหรือความสวยงามของฟัน แม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟันอย่างเถียงไม่ได้ วิธีการและวัสดุก็ค่อนข้างแพง
คอรบฟัน | |
---|---|
การแทรกแซง | |
ฟันที่ผ่านการครอบแล้ว | |
ICD-10-PCS | Z98.811 |
ICD-9-CM | 23.41 |
MeSH | D003442 |
วิธีการที่สามัญที่สุดรวมการพิมพ์ฟันที่ทันตแพทย์กรอเตรียมไว้แล้วเพื่อทำครอบฟันนอกปาก ซึ่งสามารถใส่เข้ากับฟันเมื่อนัดครั้งต่อไป วิธีการสร้างฟัน "นอกปาก" เช่นนี้ ทำให้สามารถใช้วัสดุที่ต้องใช้เวลาและความร้อนสูง เช่น หล่อโลหะหรือเผากระเบื้องซึ่งทำไม่ได้ในปาก คนไข้จำนวนมากจะเลือกครอบฟันที่ทำจากทอง เพราะคุณสมบัติการขยายตัว ราคาใกล้ ๆ กับวัสดุอื่น และความสวยงาม
ในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางวัสดุศาสตร์ ทันตแพทย์จึงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างครอบฟัน โดยวิธีการในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า CAD/CAM dentistry (ทันตแพทยศาสตร์แบบ CAD/CAM) ซึ่งสามารถครอบฟันให้เสร็จได้ภายในวันเดียวกันโดยไม่ต้องรอวัสดุจากห้องปฏิบัติการนอกสถานที่
เหตุผลอื่นเพื่อใช้ครอบฟัน
แก้มีสถานการณ์อื่น ๆ อีกที่การครอบฟันเป็นทางเลือกที่ดี
รากเทียม
แก้เมื่อไม่มีฟันหรือฟันได้หักออกไปเป็นบางส่วน คนไข้อาจจะเลือกปลูกรากฟันเทียมไม่ว่าจะที่ขากรรไกบนหรือล่าง เมื่อยึดรากเทียมติดกับกระดูกแล้ว ก็จะสามารถยึดวัสดุประดิษฐ์ได้หลายอย่างตามเลือก รวมทั้ง
- ครอบฟันหรือสะพานฟัน
- สลักยึดสำหรับฟันปลอมบางส่วนถอดได้ ฟันปลอมทั้งปาก หรือฟันปลอมแบบผสมผสานอื่น ๆ
ฟันที่รักษาราก
แก้เมื่อรักษารากฟัน (root canal therapy, endodontic therapy) ประสาทฟันจะตายเมื่อหมอเอาประสาทและเส้นเลือดออก แล้วเติมช่องที่เหลือ ที่เรียกว่ารากฟันด้วยวัสดุต่าง ๆ เพื่อกันไม่ให้ติดเชื้อในอนาคต แม้ว่าจะมีโครงสร้างฟันเหลือหลังจากรักษารากฟันพอเพื่อรักษาตัวฟัน (intracoronal restoration) ต่อไป แต่นี่ไม่แนะนำสำหรับฟันโดยมาก เมื่อฟันยังมีชีวิตอยู่ ส่วนมีชีวิตจะทำให้ฟันแข็งแรงและทนทานต่อการบดเคี้ยว โครงสร้างของฟันที่ยังเป็น ๆ จะอึดและสามารถทนต่อการใช้งานแม้ไม่ดีโดยไม่แตก แต่หลังจากรักษารากฟัน ฟันจะแตกง่ายและไม่แข็งแรงเท่ากับฟันเป็น
มนุษย์โดยเฉลี่ยสามารถออกแรงถึง 70-90 กก. โดยใช้ฟันหลัง ซึ่งเป็นแรง 9 เท่าที่สามารถใช้ด้วยฟันหน้า ดังนั้น ถ้า "บริเวณสัมผัสยังผล" ของการครอบฟันอยู่ที่ 0.1 มม². แรงกัดที่บริเวณอาจถึง 1 ล้านปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI หรือ 6,895 MPa) ดังนั้น ฟันหลัง (คือ ฟันกรามและฟันกรามน้อย) จึงควรครอบในสถานการณ์เกือบทุกอย่างหลังจากรักษาราก (โดยฟันกรามน้อย คือ ฟัน 2 ซี่หลังจากฟันเขี้ยว มีสัณฐานคล้ายกับฟันเขี้ยวมาก และในบางกรณี เพียงรักษาตัวฟันก็อาจจะพอ)
ถ้าฟันที่รักษารากไม่ป้องกันให้ดี ก็จะมีโอกาสแตกเมื่อเคี้ยวอย่างธรรมดา ๆ และอาจแตกแบบรักษายาก เช่น เมื่อฟันร้าวไปถึงราก (vertical root fracture) ส่วนฟันข้างหน้า (รวมทั้งฟันตัดและฟันเขี้ยว) ซึ่งต้องรับแรงกัดน้อยกว่า อาจเพียงรักษาตัวฟัน (intracoronal restoration) ถ้าเหลือโครงสร้างฟันพอ
Surveyed crown
แก้เหตุอีกอย่างที่การครอบฟันจะดีก็คือ เมื่อจะใช้ฟันซี่หนึ่งเป็นหลักยึดสำหรับฟันปลอมบางส่วนถอดได้ แต่ฟันไม่อยู่ในสภาพดีพอ คือ ถ้าฟันที่จะใช้เป็นหลักยึดไม่มีขนาดหรือรูปร่างลักษณะตามที่จำเป็น ลักษณะเหล่านี้สามารถสร้างขึ้นในครอบฟันที่เรียกว่า surveyed crown
ความสวยงาม
แก้สถานการณ์อย่างที่ 4 ที่ครอบฟันอาจจะดีก็คือเมื่อคนไข้ต้องการจะยิ้มสวย แต่ว่า การเคลือบฟัน/การครอบฟันเป็นบางส่วน (veneer/laminate) ทำไม่ได้ เช่น ถ้าการบดเคี้ยวของคนไข้ไม่เหมาะสำหรับการรักษาที่พยายามเก็บเนื้อฟัน หรือว่ามีรอยผุหรือรอยแตกในฟันมากเกินไป กระเบื้องหรือวัสดุผสมอาจจะใช้ไม่ทน หรือว่า คนนอนกัดฟันแรงพออาจจะทำให้ฟันที่เคลือบหลุดหรือสึกอย่างแก้ไขไม่ได้ไม่ว่าทันตแพทย์จะพยายามป้องกันอย่างไร ในกรณีเช่นนี้ ครอบฟันแบบเต็มอาจจะเปลี่ยนขนาด รูปร่าง หรือสีเพื่อป้องกันฟันพัง หรือในกรณีที่คนไข้ไม่มีเวลานานพอที่จะดัดฟันเพื่อแก้ปัญหา การครอบฟันซึ่งจะเสียเนื้อฟันเดิมมากกว่าอาจจะเป็นทางเลือกการรักษาอย่างหนึ่ง
การเตรียมฟัน
แก้การเตรียมฟันเพื่อครอบรวมการเอาฟันเดิมออก แม้ส่วนที่ยังแข็งแรงดี
วัสดุที่ปัจจุบันใช้ทุกอย่างยังไม่ดีเท่ากับฟันธรรมชาติ ดังนั้น การครอบฟันควรทำต่อเมื่อผู้ชำนาญการได้ตรวจฟันแล้วตัดสินว่า ประโยชน์ที่ได้จากการครอบฟันจะมากกว่าผลเสียที่ต้องกรอฟันดีออก ซึ่งอาจเป็นการประเมินที่ซับซ้อน และดังนั้น ทันตแพทย์ (ฝึกที่สถาบันต่าง ๆ มีประสบการณ์ และผ่านการฝึกเพื่อวางแผนรักษาและเลือกคนไข้ต่าง ๆ) อาจมีข้อสรุปที่ไม่เหมือนกันเกี่ยวกับการรักษา
โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จะต้องไปหาหมอมากกว่า 1 ครั้งเพื่อจะครอบฟันและทำสะพานฟัน ดังนั้น เวลาที่เสียเพิ่มขึ้นอาจเป็นข้อด้อย แต่ว่า ประโยชน์ที่ได้จากการครอบ โดยทั่วไปจะมากกว่าผลเสียเหล่านี้
ขนาด
แก้เมื่อเตรียมฟันสำหรับครอบฟันทั่วไป แพทย์อาจต้องเอาเคลือบฟันเดิม (enamel) ออกหมด จนเหลือแต่เนื้อฟัน (dentin) เป็นหลัก ฟันที่ต้องเอาออกจะขึ้นอยู่กับวัสดุครอบฟัน ถ้าครอบฟันเป็นโลหะล้วน (full gold crown) อาจต้องเผื่อที่เพียงแค่ 0.5 มม. เพราะว่า โลหะแข็งแรงมาก และดังนั้น จึงต้องใช้ที่เพียงแค่นั้นเพื่อครอบฟัน แต่ถ้าครอบฟันโลหะมีกระเบื้องเคลือบ แพทย์จะต้องเอาฟันออกอีก 1 มม. เพื่อให้มีที่เคลือบกระเบื้องพอ และดังนั้น จะต้องเอาฟันออกรวมกันประมาณ 1.5 มม.
ถ้าฟันเดิมไม่มีเนื้อพอที่จะครอบ หมอจะต้องพอกวัสดุที่ฟันเพิ่ม ซึ่งสามารถทำได้ด้วยเดือย (pin-retained) และวัสดุอุดฟันเช่นอะมัลกัม (amalgam) หรือวัสดุผสม (composite resin) หรือในกรณีที่รุนแรงอาจจะต้องใช้ทั้งเดือยและแกน (post and core) การต้องใช้ทั้งเดือยและแกนเป็นตัวบ่งชี้ว่าต้องรักษารากฟัน เพราะว่าเดือยจะต้องหยั่งลงไปถึงรากเพื่อให้มั่นคง แต่ว่า ถ้าฟันโผล่ออกมาน้อย ทำให้ต้องปลูกตัวฟัน (crown lengthening) เวลาที่ใช้ แรงงาน และค่าใช้จ่ายในกระบวนการต่าง ๆ บวกกับพยากรณ์โรคที่แย่ลงเพราะอัตราความล้มเหลวของวิธีการแต่ละอย่าง อาจจะทำให้การถอนฟันแล้วฝังรากเทียมดีกว่า
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสาขาทันตแพทยศาสตร์ที่ใช้ CAD/CAM (คือใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและผลิตครอบฟัน) ซึ่งเพิ่มทางเลือกในการครอบฟันในหลาย ๆ กรณี[4][5] เทียบกับครอบฟันธรรมดาที่ต้องใช้เนื้อฟันมากเพื่อจะครอบ ซึ่งทำให้เสียเนื้อฟันที่ยังดีอยู่ การใช้ครอบฟันกระเบื้องล้วนที่อาศัย CAD/CAM ทำให้มั่นใจได้ว่าจะใช้เนื้อที่น้อยกว่า และจริง ๆ แล้ว ยิ่งมีเคลือบฟันเท่าไร ฟันที่ทำโดยวิธีนี้ก็ออกมาดีเท่านั้น เพราะว่า ตราบเท่าที่กระเบื้องที่ส่วนบดเคี้ยวหนา 1.5 มม. หรือมากกว่านั้น ฟันที่ออกมาจะดี ฟันข้าง ๆ ที่ปกติต้องเอาออกในการครอบฟันปกติ โดยทั่วไปแทบไม่ต้องเอาออกด้วยวิธี CAD/CAM
ส่วนการใช้เดือยและแกน (post and core) เป็นข้อห้ามใช้การครอบฟันแบบ CAD/CAM เพราะตัวยึดวัสดุกับฟันยึดกับเคลือบฟันหรือเนื้อฟันธรรมชาติได้ดีกว่า วิธีการครอบฟันแบบ crownlay เป็นทางเลือกที่ดีแทนการใช้เดือยและแกน เพื่อรักษาฟันที่รักษารากแล้ว
ปลายเรียว/สอบ
แก้ฟันที่เตรียมจะต้องเรียวเข้าประมาณ 3-5 องศาเพื่อให้ครอบฟันได้ดี และไม่ควรเกิน 20 องศา โดยหลักแล้ว ไม่ควรจะมีส่วนเว้าส่วนคอด (undercut) บนผิวฟันเพราะว่าส่วนที่เว้าไม่สามารถเอาออกจากแม่พิมพ์ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว ครอบฟันจะใส่เข้ากับฟันไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ฟันที่ทำเรียวมากเกินไปจะทำให้ครอบฟันยึดกับฟันได้ไม่ดี ทำให้ฟันเสีย ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเตรียมฟันเรียวขึ้น 6 องศาตลอดแนวตั้งรอบ ๆ ฟัน (ดูรูปฟันเตรียม) เมื่อวัดองศาของมุมสองข้างที่ตัดกับระนาบแบ่งซ้ายขวา (sagittal) ไม่ว่าตรงไหนของฟัน ก็จะรวมได้ 12 องศา นี่เป็นการเตรียมการที่จะช่วยให้ครอบฟันได้สนิทและสามารถยึดกับฟันได้ดี
ขอบ
แก้ขอบสูงสุดของฟันที่ไม่ได้กรอ (คือ เส้นตรงจากฟันด้านหนึ่งที่ไม่ได้กรอไปยังอีกด้านหนึ่งตรงริมเหงือกหรือใกล้ ๆ ริมเหงือก) เรียกว่า margin ขอบนี้จะเป็นจุดที่ฟันจริงและครอบฟันมาสบกัน และควรจะเป็นขอบที่เรียบ ชัดเจน เพื่อสามารถครอบฟันที่ทำ ไม่ว่าจะทำด้วยวัสดุอะไร ให้สนิทกับเหงือกโดยไม่เห็นฟันเดิมไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน ระยะจากขอบฟันที่อาจเห็นจนถึงขอบครอบฟันที่ใช้ได้อยู่ระหว่าง 40-100 ไมโครเมตร[ต้องการอ้างอิง]
แต่ก็มีวิธีการอุดฝังและอุดครอบ (inlay and onlay) โดยใช้ทองที่ระยะขอบฟันที่อาจเห็นจนถึงครอบฟันมีระยะเพียงแค่ 2 ไมโครเมตร[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งยืนยันแล้วด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ (SEM) เป็นขนาดที่เล็กกว่าแบคทีเรียตัวเดียว
ชัดเจนว่า ฟันจริงที่เปิดให้เห็นเป็นอะไรที่ดูไม่งามเมื่อยิ้ม ในสถานการณ์เช่นนี้ แพทย์จะพยายามกำหนดขอบไปทางรากฟันให้มากที่สุด แม้กระทั่งจนลึกกว่าริมเหงือก การมีเส้นขอบที่ริมเหงือกไม่มีปัญหาอะไร แต่อาจมีปัญหาถ้ากำหนดขอบใต้ริมเหงือกลึกเกินไป ปัญหาแรกคือ อาจมีปัญหาพิมพ์รายละเอียดที่บริเวณขอบเพื่อทำแบบหินของฟันที่เตรียม (ดูรูปด้านบน) ปัญหาที่สองคือ จะต้องมีระยะเว้นที่เรียกว่า biologic width ซึ่งเป็นระยะห่างที่จำเป็นระหว่างหัวกระดูก alveolar (ที่เป็นหลักยึดฟันด้านข้าง) และขอบครอบฟัน เมื่อระยะนี้ชิดเกินเพราะกำหนดขอบใต้เหงือกลึกเกินไป อาจจะมีปัญหาหนักที่ตามมา ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดขอบให้ลึกพอเพื่อครอบฟันให้มั่นคง อาจจะต้องปลูกตัวฟัน (crown lengthening) เพิ่ม
มีขอบฟันหลายอย่างที่สามารถใช้เมื่อครอบฟัน วิธีหนึ่งเป็นการลบมุม (chamfer) ซึ่งนิยมใช้เมื่อครอบฟันโลหะ เป็นวิธีที่ต้องเอาฟันเดิมออกน้อยที่สุด อีกวิธีหนึ่งเป็นการทำไหล่ (shoulder) ซึ่งแม้จะต้องเอาฟันเดิมออกมากกว่า แต่ก็สามารถใช้รองรับวัสดุครอบฟันที่หนากว่า ซึ่งจำเป็นเมื่อใช้ครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM) หรือครอบฟันเซรามิกล้วน แต่ว่าเมื่อใช้ขอบแบบไหล่ แพทย์ก็มักจะตัดมุมเฉียง (bevel) ด้วย เพราะว่า ขอบแบบไหล่ตัดเฉียงช่วยลดระยะขอบฟันที่อาจเห็นกับครอบฟันหลังจากใส่ครอบฟันแล้ว
ปรากฏการณ์ปลอกรัด
แก้เรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อครอบฟันก็คือปรากฏการณ์ปลอกรัด (ferrule effect) เหมือนกับก้านไม้กวาด ที่รัดไว้ด้วยปลอกกับไม้กวาด ครอบฟันควรจะหุ้มฟันสูงระดับหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้แตกหลังจากเตรียมฟันแล้ว ซึ่งการทดลองหลายงานแสดงหลักฐานว่า ต้องต่อเนื่องกันเป็นวงสูงอย่างน้อย 2 มม. ถ้าน้อยกว่านี้ ก็จะมีอัตราความล้มเหลวที่สูงกว่าสำหรับการครอบฟันที่ได้รักษาราก
ถ้าฟันไม่ได้รักษาราก ฟันปกติจะพอเหลือเนื้อฟันสูง 2 มม. ซึ่งจำเป็นในการรัด แต่ว่า ฟันที่รักษารากมักจะผุและบ่อยครั้งจะมีเนื้อฟันหายไปมาก และเพราะว่าฟันจะอ่อนแอลงหลังจากต้องเอาฟันบางส่วนออกเพื่อรักษารากฟัน จึงจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้แตกไปถึงราก (vertical root fracture) มีนักวิชาการที่คาดว่า การเตรียมทำฟันแบบไหล่สำหรับครอบฟันเซรามิกล้วน ที่ใช้ยึดกับซีเมนต์อยู่กับที่ จะมีผลเช่นเดียวเหมือนกับปลอกรัด
การทำโครงสร้างฟันให้เหมาะสม
แก้เนื่องจากครอบฟันทำนอกปากโดยไม่มีน้ำลาย เลือด หรือที่ที่แคบจำกัดรบกวน จึงสามารถทำให้มีขนาดที่แน่นอนยิ่งกว่าการอุด/ปลูกฟันที่ต้องทำในปาก เมื่อพูดถึงคุณสมบัติอื่น ๆ เช่นขอบ (marginal adaptation) ที่ใช้กันแบคทีเรียไม่ให้เข้า การมีรูปร่างและตำแหน่งที่ถูกต้อง (เช่น การอยู่ร่วมกับฟันข้าง ๆ อย่างพอดีโดยไม่มีเศษอาหารติด) การทำครอบฟันนอกปากหาที่เปรียบมิได้
การทำครอบฟันมีสองวิธี โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะเตรียมฟันที่จะทำ พิมพ์ฟัน ใส่ครอบฟันชั่วคราวให้ แล้วนัดให้คนไข้มาอีก พิมพ์ฟันจะส่งไปยังห้องปฏิบัติการทันตแพทย์ที่สร้างแบบจำลองมาจากพิมพ์ฟัน สร้างครอบฟันจากพิมพ์ฟันไม่ว่าจะทำโดยกระเบื้อง เซรามิก โลหะ หรือโลหะเคลือบกระเบื้อง/เซรามิก เมื่อคนไข้มาตามนัด 1-2 อาทิตย์ให้หลัง หมอก็จะเอาครอบฟันชั่วคราวออกและใส่ครอบฟันถาวรให้โดยใช้ซีเมนต์ยึดเข้ากับเนื้อฟัน
ปัจจุบันยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ออกแบบและผลิตครอบฟันนอกปากโดยใช้เทคโนโลยีและเทคนิคของทันตแพทยศาสตร์ CAD/CAM ที่แพทย์จะเตรียมฟันแล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฟันที่จะรักษาโดยทำเสมือน (คือใช้คอมพ์ออกแบบ) แล้วใส่ครอบฟันที่ทำในที่ใกล้ ๆ (ไม่ได้ส่งไปที่ห้องปฏิบัติการนอกสถานที่) ให้คนไข้ได้ภายใน 1-2 ชม.
ครอบฟันแบบ 3/4 หรือ 7/8 ส่วน
แก้ยังมีการรักษาฟันที่อยู่ระหว่างวิธีการอุดครอบ (onlay) และการครอบฟัน ที่ต่างกันโดยเนื้อฟันธรรมชาติที่สามารถรักษาไว้ได้ คือ ในอดีต จะสามารถหาแพทย์ที่รักษาโดยครอบฟันแบบ 3/4 หรือ 7/8 ส่วน ซึ่งจะทำเพื่อฟันกรามน้อยที่สอง (ฟันซี่ที่ 2 ต่อจากฟันเขี้ยว) หรือฟันกรามแรก (ฟันซี่ที่ 3 ต่อจากฟันเขี้ยว) ที่ขากรรไกรบน ซึ่งอาจเห็นได้เพียงนิดหน่อยเมื่อคนไข้ยิ้ม ดังนั้น แพทย์ก็จะทิ้งฟันเดิมที่มุมฝั่งแก้มด้านหน้า (mesiobuccal) ไว้เพื่อให้ดูธรรมชาติ โดยส่วนที่เหลือของฟันจะครอบไว้ แม้ในการครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้องหรือครอบฟันเซรามิกล้วน การรักษาเนื้อฟันที่มีก็ยังช่วยเสริมครอบฟันให้แข็งแรง มีทันตแพทย์บางท่านที่รู้สึกว่า ความแข็งแรงที่ได้จากการรักษาเนื้อฟันให้มากที่สุดมีประโยชน์แม้อาจจะต้องมีขอบฟันที่มองเห็นใหญ่กว่า
ครอบฟันเซรามิกล้วน
แก้การอุดฝัง (inlay), การอุดครอบ (onlay), การเคลือบกระเบื้อง (porcelain veneer), การปลูกฟันแบบ crownlay และครอบฟันแบบต่าง ๆ สามารถทำมาจากเซรามิก เช่นที่ทำจากห้องปฏิบัติการทันตแพทย์ทั่วไป หรือที่ใช้ในทันตแพทยศาสตร์แบบ CAD/CAM เทคโนโลยี CAD/CAM ทำให้สามารถซ่อมฟันเสร็จภายในวันเดียว โดยผลิตวัสดุจากบล็อกกระเบื้อง ซึ่งจะมีสีและเงาคล้ายฟันคนไข้ ตามที่ทำมา วัสุดฟันเซรามิกล้วนจากห้องปฏิบัติการจะทำมาจากกระเบื้องเฟลด์สปาร์ (feldspathic porcelain) หรือเซรามิกอัด (pressed ceramic) ซึ่งต้องใช้แบบหล่อและแบบชั่วคราว แต่สามารถให้ผลงานที่งามถ้าทันตแพทย์และห้องปฏิบัติการติดต่อสื่อสารกันดี
สิ่งที่แตกต่างมากที่สุดระหว่างเทคโนโลยี CAD/CAM และของห้องปฏิบัติการก็คือว่า วิธีการแบบ CAD/CAM ไม่ต้องนัดหลายครั้งเพื่อรอวัสดุจากห้องปฏิบัติการ มีนักวิชาการที่อ้างว่า การไม่ต้องรออาจทำให้ไม่จำเป็นต้องรักษารากฟัน เพราะว่าฟันจะไม่รั่วระหว่างที่รอ
การซ่อมฟันโดยเซรามิกล้วนอาจต้องเตรียมขอบกว้าง (2 มม.) และต้องกรอฟันด้านบดเคี้ยว (occlusion) ออกอย่างน้อย 1.0 - 1.5 มม. มีบางกรณีที่การเอาฟันออกขนาดนี้พิจารณาว่ามากเกินไป เหตุผลเพื่อไม่ใช้เซรามิกล้วนก็คือมีโอกาสแตกสูงกว่า เมื่อไม่มีเคลือบฟันเหลือเป็นที่ยึดโดยใช้สารยึด (adhesive) หรือว่าถ้าคนไข้กัดหรือบดฟัน (เช่นนอนกัดฟัน) มากเกินไป
ข้อบ่งชี้ในการซ่อมฟันโดยเซรามิกล้วนรวมทั้งเมื่อต้องการให้ดูเป็นธรรมชาติ เมื่อมีปัญหาแพ้โลหะ และเมื่อต้องการให้กรอฟันเดิมออกน้อยในการซ่อมบางกรณี การซ่อมฟันโดยเซรามิกล้วนอาจไม่ต้องอาศัยโครงสร้างที่มีแรงเสียดทานหรือยึดตรึงได้ดี (resistance and retention) และดังนั้น จึงไม่ต้องเอาผิวฟันออกมากเท่า โดยวัสดุจะยึดอยู่กับที่โดยอาศัยพันธะทางเคมีและพันธะกลเท่านั้น นอกจากนั้นแล้ว เซรามิกใหม่ ๆ เช่น lithium disilicate ได้พัฒนาขึ้นให้แข็งแรงกว่าและใช้งานได้นานกว่า
ความทนทาน
แก้แม้ว่าจะไม่มีการรักษาฟันที่คงยืนตลอดไป แต่อายุใช้งานเฉลี่ยของครอบฟันอยู่ที่ 10 ปี แม้ว่าระยะแค่นี้อาจจะดูเหมือนเพียงแค่เท่ากับการรักษาฟันโดยไม่ต้องครอบ แต่ครอบฟันจริง ๆ สามารถคงทนเท่าอายุของคนไข้ (คือ 50 ปีหรือมากกว่านั้น) ถ้าดูแลให้ดี เหตุผลที่แพทย์มักอ้างตัวเลขเพียงแค่ 10 ปีก็เพราะว่า เป็นตัวเลขที่บอกได้อย่างมั่นใจ ในทวีปอเมริกาเหนือ การประกันฟันบางอย่างจะอนุญาตให้เปลี่ยนครอบฟันหลังจากเพียงแค่ 5 ปี
ปัจจัยสำคัญที่สุดต่ออายุใช้งานของงานรักษาฟันก็คือ คนไข้มีอนามัยช่องปากที่ดี ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งความชำนาญของทันตแพทย์และช่างในห้องปฏิบัติการ วัสดุที่ใช้ และการเลือกการรักษาที่ดี ครอบฟันโลหะจะอายุยืนที่สุด เพราะว่าทำเป็นชิ้นเดียว ครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM) มีมิติในการเสียหายเพิ่มขึ้น เพราะว่า กระเบื้องที่เคลือบเปราะ และแม้จะทนทานต่อแรงบีบอัด (compression) อย่างไม่น่าเชื่อ แต่กระเบื้องก็ไม่คงทนต่อแรงดึง (tension) และมีโอกาสแตกเพิ่มขึ้นเมื่อมีด้านที่เคลือบกระเบื้องเพิ่มขึ้น เช่น PFM ทั่วไปที่เคลือบกระเบื้องในด้านบดเคี้ยวของฟัน มีโอกาสเสีย 7% ต่อปีสูงกว่าครอบฟันโลหะล้วน
การครอบฟันที่รักษารากแล้ว จะลดโอกาสแตกเนื่องจากความเปราะบางของฟันที่ตายแล้ว และช่วยกันแบคทีเรียได้ดีกว่า แม้ว่า วัสดุเฉื่อยที่ใช้อุดปิดรากฟันจะหยุดแบคทีเรียในโครงสร้างฟันด้านในได้ แต่ความจริงเป็นการอุดปิดฟันที่ดี หรือช่องปิดที่เล็กของครอบฟัน ที่เป็นตัวป้องกันการลุกลามของแบคทีเรียได้ใหม่
ข้อดีข้อเสีย
แก้ข้อเสียหลักของการครอบฟันก็คือการเตรียมฟันโดยกรอเนื้อฟันออกแบบกลับคืนไม่ได้ และราคาที่สูงกว่าการอุดฟันโดยอะมัลกัมหรือวัสดุผสม ประโยชน์ดังที่กล่าวรายละเอียดมาแล้วก็คือ ความทนทานและความสำเร็จโดยมีหลักฐาน เทียบกับการรักษาอื่น ๆ หรือไม่รักษา แต่การครอบฟันกรามที่ค่อนข้างใหญ่ 2 ซี่เพื่อทำสะพานสำหรับฟันที่หายไป เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงและบางครั้ง เสนอขายมากเกินไป เพราะว่า อาหารและแบคทีเรียที่ติดอยู่ใต้สะพานฟัน และการเสียฟันธรรมชาติซี่ใหญ่ 2 ซี่เพื้อใช้เคี้ยว บ่อยครั้งเป็นผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่ได้ในการยึดฟันให้อยู่กับที่ ดังนั้น ความเสียหายต่อฟันปกติจะเป็นตัวบ่งว่าต้องครอบฟัน เพราะว่า วิธีรักษาอื่น ๆ ได้ผลน้อยกว่า ความเสี่ยงและประโยชน์สามารถชั่งได้ตามความต้องการของคนไข้ ตัวอย่างเช่น เมื่อคนไข้ต้องการรักษาฟันที่ไม่มี ระหว่างฟันสองซี่ ก่อนจะมีการฝังรากเทียม มีทางเลือก 3 อย่าง คือ
- ฟันปลอมติดแน่น (สะพานฟัน)
- ฟันปลอมถอดได้
- ไม่รักษา
แพทย์จะบอกคนที่มีทรัพย์พอรักษาได้ว่า สะพานฟันเป็นทางเลือกดีที่สุด เพราะว่ามั่นคงกว่าฟันปลอมถอดได้และไม่ต้องดูแลรักษาเท่า ตั้งแต่หลังจากมีการฝังรากเทียม แพทย์ก็จะแนะนำว่าเป็นวิธีที่ดีสุด เพราะว่า ฟันปกติข้าง ๆ ส่วนที่ไม่มีฟันไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อจะทำสะพาน ดังนั้นแพทย์ก็จะบอกว่า สะพานฟันจะไม่ดีเท่าการฝังรากเทียม แต่ว่า การฝังรากเทียมก็แพงกว่าสะพานฟันมาก และต้องรอผลนานกว่า
รูปแบบและวัสดุ
แก้มีวิธีการทำครอบฟันหลายอย่าง แต่ละอย่างใช้วัสดุคนละอย่าง หลักฐานที่มีแสดงว่า ครอบฟันเซรามิกล้วนอยู่ได้นานเท่ากับหรือน้อยกว่าครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง[6][7] ครอบฟันโลหะดีกว่าตรงที่ต้องกรอฟันออกน้อยกว่าครอบฟันแบบอื่น ๆ[8] และทนที่สุดในบรรดาครอบฟันทั้งหมด[6][9]
ครอบฟันที่มีโลหะ
แก้ครอบฟันโลหะล้วน
แก้ครอบฟันโลหะล้วนทำมาจากโลหะเจือ (อัลลอย) ชิ้นเดียว แม้ว่าภาษาอังกฤษจะเรียกว่า gold crown (ครอบฟันทอง) แต่ครอบฟันประเภทนี้ความจริงทำจากโลหะเจือ รวมทั้ง (แต่ไม่จำกัดแค่) ทอง แพลทินัม แพลเลเดียม เงิน ทองแดง และดีบุก สามอย่างแรกเป็นโลหะมีสกุล ในขณะที่สามอย่างหลังเป็นโลหะไร้สกุล (base metal) ครอบฟันโลหะจะมีคุณภาพดีถ้ามีโลหะมีสกุลมาก ตามสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน โลหะเจือสำหรับครอบฟันโลหะล้วนจะเรียกว่า high noble (มีสกุลสูง) ก็ต่อเมื่อมีโลหะมีสกุล 60% โดยอย่างน้อย 40% ต้องเป็นทอง
การใส่ครอบฟันโลหะล้วนจะเริ่มที่ทันตแพทย์ โดยแพทย์จะเตรียมฟันโดยกรอเนื้อฟันออกเพื่อให้มีที่ใส่ครอบฟัน เมื่อเสร็จแล้วก็จะพิมพ์ฟัน ทั้งพิมพ์ฟันและประวัติคนไข้จะส่งไปยังห้องปฏิบัติการทันตแพทย์ ที่ช่างจะเทยิปซัมเหลวลงในพิมพ์ฟันเพื่อสร้างแบบจำลองฟัน ซึ่งจะเหมือนฟันในปากคนไข้ทุกอย่าง
ช่างจะทำครอบฟันโดยใช้วิธีที่เรียกว่าการหล่อแบบสูญขี้ผึ้ง (Lost-wax casting)[10] โดยตอนนี้มีข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสร้างแบบขี้ผึ้ง (wax pattern) สำหรับครอบฟันโดยทำเผื่อรูปร่างฟัน การบดเคี้ยว และฟันที่เตรียมครอบไว้แล้ว แล้วติดแบบรูเทขี้ผึ้ง (wax sprue pattern) กับแบบขี้ผึ้งฟัน ต่อจากนั้น ก็จะจุ่มแบบขี้ผึ้งทั้งหมดใส่ในวัสดุพอกหุ่น (investment material) ที่เป็นยิปซัมหรือมีพันธะฟอสเฟต (phosphate-bonded) รอให้แข็ง ใส่เข้าเตาที่ไฟจะเผาขี้ผึ้งจนเกลี้ยงเหลือแต่ช่องกลายเป็นแบบพอกหุ่นมีช่องที่ใช้หล่อครอบฟันโลหะ แล้วเทโลหะเหลวที่ต้องการเข้าในแบบพอกหุ่น เมื่อครอบฟันโลหะเย็นลงแล้ว ช่างสามารถเอาแกนค้างรูเทออก แล้วเตรียมครอบฟันให้ได้ส่วนและขัดมัน (fit and polish) เพื่อพร้อมสำหรับยึดด้วยซีเมนต์ใส่กับฟัน ครอบฟันก็จะส่งกลับไปให้ทันตแพทย์ ผู้จะเอาครอบฟันชั่วคราวออกแล้ว แล้วยึดครอบฟันถาวรด้วยซีเมนต์ใส่กับฟัน
ครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM)
แก้ครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM) จะมีโครงโลหะที่ใช้เคลือบกระเบื้องในเตามีความร้อนสูง โดยโลหะจะทนแรงดันและแรงดึง และกระเบื้องทำให้ดูเหมือนฟันธรรมชาติ เหมาะสำหรับครอบฟันด้านหน้า ครอบฟันเช่นนี้มักจะเคลือบกระเบื้องตรงส่วนที่มองเห็นได้ แต่ผิวที่เหลือของครอบฟันจะเป็นโลหะล้วน โลหะผสม (หรืออัลลอย) ทั้งมีสกุลหรือไม่มีสกุลล้วนสามารถใช้ทำครอบฟันได้ และสามารถใช้กระเบื้องที่มีสีเหมือนฟันข้าง ๆ หรือเหมือนเหงือก
ครอบฟันไร้โลหะ
แก้ทันตแพทยศาสตร์แบบ CAD/CAM
แก้การออกแบบและสร้างวัสดุเซรามิกล้วนแบบ CAD/CAM เป็นการถ่ายและเก็บรูปของฟันที่เตรียมรักษาโดยระบบดิจิตัล แล้วใช้คอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบวัสดุใน 3-มิติ เพื่อให้เหมาะกับการอุดฝัง (inlay) การอุดครอบ (onlay) หรือเพื่อครอบฟันชิ้นเดียว โดยไม่ต้องพิมพ์ฟัน หลังจากบอกคอมพิวเตอร์ว่า สิ่งที่ต้องการมีลักษณะ รูปร่าง และคุณสมบัติเช่นไร ก็จะส่งข้อมูลนี้ต่อไปยังเครื่องผลิตที่อยู่ไม่ไกล เครื่องจะใช้หัวจักรทำด้วยเพชรเพื่อผลิตวัสดุจากแท่งเซรามิกแข็งที่มีสีเหมือนกับฟันคนไข้ ภายในประมาณ 20 นาทีก็จะเสร็จ แล้วแพทย์ก็จะตัดมันออกจากแท่งเซรามิกที่เหลือและทดลองใส่ในปาก ถ้าเข้ากับฟันได้ดี ทันตแพทย์ก็จะสามารถยึดวัสดุกับฟันด้วยซีเมนต์ได้เลย
อุปกรณ์ CAD/CAM มีราคาในต่างประเทศประมาณ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,500,000 บาท) โดยมีค่าใช้จ่ายเรื่อย ๆ สำหรับแท่งเซรามิกและหัวจักร เพราะมีราคาสูง ค่าใช้จ่ายของครอบฟันแบบ CAD/CAM ในคลินิกทันตแพทย์ปกติจะมีราคา 2-3 เท่าของครอบฟันเช่นเดียวกันที่ส่งห้องปฏิบัติการทำ และโดยทั่วไปแล้ว ครอบฟันที่ทำโดย CAD/CAM และใช้เซรามิก Vita Mark I และ Vita Mark II 95% จะยังไม่แตกหลังจาก 5 ปี[11][12] นอกจากนั้นแล้ว 90% ยังสามารถใช้งานได้หลังจาก 10 ปี[11][12]
ข้อได้เปรียบของเซรามิกแบบ Mark II รวมทั้ง สึกเร็วเท่ากับฟันธรรมชาติ[12][13] สามารถรับแรงกดในระดับฟันธรรมชาติ[12][14] และรูปแบบการสึกเหตุกระทบเคลือบฟันของซี่อื่น คล้ายกับที่พบในการกระทบเคลือบฟันกับเคลือบฟัน[15][16]
เสริม Leucite
แก้รู้จักโดยนิยมว่า ครอบฟันจักรพรรดินี (Empress Crown) ครอบฟันที่เสริม leucite คล้ายกับการทำครอบฟันโลหะอย่างผิวเผินตรงที่ว่า จะมีแบบพอกหุ่นกลวง แต่วิธีการที่เหลือจะไม่เหมือนกัน ช่างจะฉีดเซรามิกเสริม leucite ด้วยความดันเข้าในแบบพอกหุ่น (หรือแบบหล่อ) โดยใช้เตา pressable-porcelain-oven ทำให้เหมือนกับ "หล่อ" ครอบฟันแต่มีวัสดุเป็นเซรามิก หลังจากนั้น ครอบฟันสามารถย้อมสีและขัดเงา หรือตัดแล้วเคลือบด้วยเซรามิกเฟลด์สปาร์ให้เข้ากับสีและรูปฟันของคนไข้[17]
งานศึกษาย้อนหลังที่มหาวิทยาลัยอือมิยอแห่งประเทศสวีเดนศึกษาประสิทธิภาพของครอบฟันที่เสริม leucite แล้วพบว่า ครอบฟันจักรพรรดินีแตกในอัตรา 6% และบูรณภาพของตัวอย่าง 86% ที่เหลืออยู่ในระดับ "ดีเยี่ยม"[17][18]
อะลูมิเนียมออกไซด์
แก้อะลูมิเนียมออกไซด์ หรือ อะลูมิน่า ใช้เป็นแกน (core) เพื่อซ่อมฟันเริ่มในปี 2532 โดยวิธีหล่อสลิป (slip cast คือเทวัสดุผสมแบบเหลวลงในแบบแล้วรอให้แห้ง) ทำให้ร้อนจนเกือบเหลว แล้วแทรกด้วยแก้ว ในปัจจุบัน แกนอะลูมิน่าจะผลิตโดยกระบวนการ electrophoretic deposition ซึ่งเป็นการผลิตแบบนาโนที่ทำได้อย่างรวดเร็ว ในกระบวนการนี้ อนุภาควัสดุในสลิปจะลอยขึ้นสู่ผิวของแม่แบบโดยกระแสไฟฟ้า ทำให้ได้แกนที่แม่นยำภายในไม่กี่วินาที จากนั้นก็จะตัดส่วนเกินแล้วให้ความร้อนจนเกือบเหลว (sinter) แล้วแทรกด้วยแก้ว
อะลูมินาแทรกกระจกจะแข็งแรงเพราะเหตุพันธะกระเบื้อง มากกว่าวัสดุจากกระบวนการ CAD/CAM ที่ทำจาก zirconia และอะลูมิน่าโดยไม่ได้แทรกแก้ว ที่ได้แกนอะลูมิน่าโดยขุดเจาะบล็อกวัสดุที่เผามาก่อนแล้ว แกนที่ไม่แทรกแก้วต้องทำให้ใหญ่กว่าขนาดที่ต้องการเผื่อหดเมื่อวัสดุเผาแห้งสนิท[19] ต่อจากนั้น แกนที่ขุดเจาะออกมาแล้วก็จะเผาเพื่อให้หดได้ขนาดตามที่ต้องการ แกนอะลูมิน่าทุกอย่างจะเคลือบด้วยกระเบื้องเฟลด์สปาร์ที่คล้ายฟัน ทำให้ได้ครอบฟันที่มีรูปร่างและสีเหมือนธรรมชาติ[19] มีนักศิลป์กระเบื้องที่สามารถแต่งครอบฟันเหล่านี้ตามที่ทันตแพทย์และคนไข้ต้องการ ปัจจุบัน วิธีการนี้ คือ กระเบื้องเคลือบครอบฟันอะลูมิน่าเป็นมาตรฐานสำหรับครอบฟันที่ดูคล้ายฟันจริง ๆ
Zirconia
แก้Zirconia เป็นเซรามิกที่แข็งมากที่สามารถใช้เป็นวัสดุในครอบฟันเซรามิกล้วน แม้ว่าจะยังเป็นวัสดุใหม่ที่เพิ่งนำมาใช้ในทันตแพทยศาสตร์ จึงมีข้อมูลทางคลินิกที่จำกัด[20] zirconia แบบที่ใช้ในทันตแพทยศาสตร์เป็น zirconium oxide ที่ทำให้เสถียรโดยเติมอิตเทรียมออกไซด์ ชื่อเต็มของวัสดุที่ใช้ในทันตแพทยศาสตร์ก็คือ yttria-stabilized zirconia (YSZ)
แกนหลักทำด้วย zirconia ปกติจะออกแบบด้วยข้อมูลดิจิตัลจากปากคนไข้ ไม่ว่าจะเก็บด้วยการกราดภาพ 3-มิติ พิมพ์ฟัน หรือแบบจำลอง แล้วก็จะขุดเจาะแกนหลักออกจากบล็อก zirconia ที่เผามาก่อนแต่ยังนิ่มอยู่ เมื่อขุดเจาะเรียบร้อยแล้ว ก็จะเผาในเตาที่มันจะหดตัวโดย 20% และถึงความแข็งแรงที่สุดที่ 850-1,000 MPa หลังจากนั้นก็จะเคลือบแกนหลักด้วยกระเบื้องเฟลด์สปาร์ที่เหมือนฟัน เพื่อสร้างครอบฟันให้มีสีและรูปร่างที่ต้องการ แต่เพราะว่า กระเบื้องอาจจะเคลือบเข้ากับ zirconia ไม่ดีพอ บ่อยครั้ง แพทย์จะทำครอบฟันจาก zirconia ล้วนโดยไม่เคลือบกระเบื้องที่ดูเหมือนฟัน zirconia เป็นเซรามิกที่แข็งที่สุดและเป็นวัสดุที่แข็งแรงที่สุดที่ใช้ในทันตแพทยศาสตร์ แต่ว่า ครอบฟัน zirconia ล้วนมักจะดูทึบโดยปราศจากความใสและไม่เรืองแสง ดังนั้น เพื่อความสวยงาม แพทย์บางท่านจะไม่ใช้ครอบฟันเป็น zirconia ล้วนในฟันหน้า[21]
โดยหลักแล้ว การเลือกวัสดุจะกำหนดความแข็งแรงและรูปลักษณ์ของครอบฟัน ครอบฟันที่ทำด้วย zirconia ล้วนแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยเซรามิก (โดยมีหลักฐานยืนยันว่าสามารถรับแรงได้ถึง 1,000 MPa[22]) แต่ว่า ครอบฟันเช่นนี้พิจารณาว่าดูไม่เป็นธรรมชาติพอที่จะใช้ในฟันหน้า และแม้จะไม่แข็งแรงเท่า ก็ยังมีวัสดุทำด้วย zirconia ใหม่ ๆ ที่ดูดีกว่า ถึงจะยังไม่สวยเท่ากับเคลือบกระเบื้อง ถ้าเคลือบกระเบื้องกับแกนที่เป็น zirconia ครอบฟันจะดูธรรมชาติกว่าที่ทำจาก zirconia ล้วน แต่จะไม่แข็งแรงเท่า โดยเปรียบเทียบกันแล้ว ครอบฟันที่ทำด้วยอะลูมิน่าแทรกแก้วเคลือบกระเบื้อง จะดูเป็นธรรมชาติและแข็งแรงมาก แม้จะไม่แข็งแรงเท่ากับที่ทำด้วย zirconia ล้วน
วัสดุที่สามารถใช้ทำครอบฟันล้วนอีกอย่างคือ lithium-disilicate จะทำให้ได้ครอบฟันเสริม leucite ที่โปร่งแสงมากจนบ่อยครั้งดูสีออกเทา ๆ เกินไปในปาก และเพื่อจะแก้ปัญหานี้ ก็จะต้องใช้สีอ่อน ๆ (เป็น polyvalent colorant) ที่ดูไม่ธรรมชาติโดยออกเป็นสีขาวจัด คุณสมบัติครอบฟันอย่างอื่นที่ควรพิจารณารวมทั้งการนำความร้อนและความโปร่งรังสี (เช่น รังสีเอ็กซ์เป็นต้น) การเข้ากับฟันที่เตรียมไว้ และขอบที่จะใส่ซีเมนต์ บางครั้งก็จะมีอิทธิพลต่อการเลือกวัสดุ แม้ว่า วิธีการผลิตก็จะมีผลต่อคุณสมบัติเหล่านี้ด้วย
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ "crown", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(ทันตแพทยศาสตร์) ตัวฟัน, ครอบฟัน
- ↑ "Dental Crowns: Uses, Types, and How the Procedure Is Done". Webmd.com. November 16, 2010. สืบค้นเมื่อ June 16, 2013.
- ↑ Torbjorner, A; Karlsson, S; Syverud, M; Hensten-Petterson, A (1996). "Carbon fiber reinforced root canal posts. Mechanical and cytoxic properties". Eur J Oral Sci. 104 (605).
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Masek, R (July 1999). "Reproducing natural color effects on milled ceramic restorations". Int J Comput Dent. 2: 209–17. PMID 11351485.
- ↑ Masek, R (January 2005). "Margin isolation for optical impressions and adhesion". Int J Comput Dent. 8: 69–76. PMID 15892526.
- ↑ 6.0 6.1 Burke, F.J.T.; Lucarotti, P.S.K. (January 2009). "Ten-year outcome of crowns placed within the General Dental Services in England and Wales". Journal of Dentistry. 37 (1): 12–24. doi:10.1016/j.jdent.2008.03.017.
- ↑ Pjetursson, Bjarni E.; Sailer, Irena; Zwahlen, Marcel; Hämmerle, Christoph H. F. (June 2007). "A systematic review of the survival and complication rates of all-ceramic and metal-ceramic reconstructions after an observation period of at least 3 years. Part I: single crowns". Clinical Oral Implants Research. 18: 73–85. doi:10.1111/j.1600-0501.2007.01467.x.
- ↑ Howe, Bernard GN; Smith, Leslie C (2007). Planning and making crowns and bridges (4th ed.). Abingdon, Oxon, UK: Informa Healthcare. p. 34. ISBN 0415398509.
- ↑ Esthetics in Dentistry. Pmph USA Ltd. 2012. p. 399. ISBN 1607951568.
- ↑ Lost-wax casting for gold crown (รูป). pocketdentistry.com. สืบค้นเมื่อ February 22, 2017.
- ↑ 11.0 11.1 Reiss, B.; Walther, W. (September 2000). "Clinical long-term results and 10-year Kaplan-Meier analysis of CEREC Restorations". Int. Journal of Computerized Dentistry. 3: 8.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "BlocTalk" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 20, 2006.
- ↑ Abozenada, B; Pober, R; Giordano, R (2002). "In-vitro wear of restorative dental materials". J. Dent. Res. 81: 1693.
- ↑ Bremer, BD; Geurtsen, W.J (August 2001). "Molar fracture resistance after adhesive restoration with ceramic inlays or resin-based composites". Dent. 14 (4): 216–20.
- ↑
Krejci, I (1991). Wear of ceramic and other restorative materials. International Symposium on Computer Restorations, Quintessence. pp. 245–251.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Krejci, I (1990). "Wear of enamel and amalgam and their enamel antagonists in a computer-simulated chewing simulation". Schweiz Monatsschr Zahnmed. 100: 1285.
- ↑ 17.0 17.1 "Leucite Reinforced System: The Empress Crown". Cash for Scraps. July 20, 2012. สืบค้นเมื่อ July 22, 2012.
- ↑ "Dental Materials Science". Umeå University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2013. สืบค้นเมื่อ July 12, 2012.
- ↑ 19.0 19.1 "Ceramics in Dental Restorations - A Review and Critical Issues". Azom. October 08, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2015. สืบค้นเมื่อ January 12, 2012.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Shen, edited by James (2013). Advanced ceramics for dentistry (1st ed.). Amsterdam: Elsevier/BH. p. 271. ISBN 978-0123946195.
{{cite book}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ McLaren, E.; Margeas, R.; Fahl, N. (2012). "Where and When Is It Appropriate to Place Monolithic vs. Layered Restorations". Inside Dentistry. 8 (8): 555.
- ↑ Succaria, F; Morgano, SM (2011). "Prescribing a dental ceramic material: Zirconia vs lithium-disilicate". Saudi Dent J. 23: 165–6. doi:10.1016/j.sdentj.2011.10.001. PMC 3723107. PMID 23960511.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Dental crowns
- Herbert T. Shillingburg. FUNDAMENTALS OF FIXED PROSTHODONTICS, 1979.
- Fermin A. Carranza. CARRANZA'S CLINICAL PERIODONTOLOGY, 9th edition, 2002.
- Dental Health: Dental Crowns
- Videos from Sheffield University showing the production of a cast gold crown