ชิงงง
นิกายของศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น
นิกายชิงงง (ญี่ปุ่น: 真言宗; โรมาจิ: Shingon-shū; ทับศัพท์: ชิงงนชู) เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นสายวัชรยาน ที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย ต่อมาพระภิกษุชาวอินเดีย เช่น พระวัชรโพธิ พระอโมฆวัชระ ได้นำจากมาเผยแผ่ในประเทศจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และพระคูไกชาวญี่ปุ่นนำมาเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก
คำว่า ชิงงง เขียนด้วยอักษรจีนเป็น 真言 (zhēnyán),[1]ซึ่งเป็นการถอดเสียงคำว่า มันตระ ในภาษาสันสกฤต[2]
ความสัมพันธ์กับวัชรยาน
แก้เมื่อพุทธศาสนาสายคุยหยานเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ในประเทศอินเดียคุยหยานก็ยังอยู่ในระยะเริ่มแรกเช่นกัน จึงยังไม่มีคำว่า วัชรยาน ใช้เป็นชื่อสายในขณะนั้น[3] แต่เรียกว่า มนตรยาน เป็นหลัก ศาสตราจารย์พอล วิลเลียมส์ มีความเห็นว่าควรเรียกพุทธศาสนาสายคุยหยานระยะแรกว่า มนตรยาน จะถูกต้องเหมาะสมกว่า[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Zhēnyán".
- ↑ Kiyota, Minoru (1987). "Shingon Mikkyō's Twofold Maṇḍala: Paradoxes and Integration". Journal of the International Association of Buddhist Studies. 10 (1): 91–92. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2014.
- ↑ 3.0 3.1 Williams, Paul, and Tribe, Anthony. Buddhist Thought: A Complete Introduction to the Indian Tradition. 2000. p. 271