ซองเกาะ (พม่า: စောင်းကောက်; เอ็มแอลซีทีเอส: caung:kauk; ออกเสียง: [sáʊ̯ɰ̃.ɡaʊ̯ʔ]; มอญ: စံၚ်, [cɔŋ]) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พิณพม่า เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของประเทศพม่า มีลักษณะเป็นพิณโค้งคล้ายกับคันธนู ซองเกาะได้รับการยกย่องให้เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติพม่า เนื่องจากมีความโดดเด่นตรงที่เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่มาก และกล่าวกันว่าเป็นพิณ (แบบพิณฝรั่ง) เพียงชนิดเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ในทวีปเอเชีย[3][4]

ซองเกาะ
ซองเกาะ คริสต์ศตวรรษที่ 19
เครื่องสาย
ประเภท เครื่องสาย (ดีด)
Hornbostel–Sachs classification322
  • 322.1 พิณเปิด – พิณไม่มีเสา
    • 322.11 พิณโค้ง
      (ระนาบของสายตั้งฉากกับพื้นผิวของตัวสะท้อนเสียง ส่วนคอจะโค้งออกจากตัวสะท้อนเสียง)
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง
  • พิณเปอร์เซีย
  • พิณกัมพูชา
  • พิณโค้ง
  • T'na[1] หรือ na den[2]
ภาพถ่ายการเล่นซองเกาะ ปี ค.ศ. 1900
สองนักดนตรีหญิงเล่นเพลงโดยซองเกาะอย่างชำนาญ ณ เมืองมัณฑะเลย์

ลักษณะ

แก้

ซองเกาะมีลักษณะเป็นพิณที่มีคอโค้งงอยาวสวยงามเหมือนคันธนู และมีฐานที่ทอดนอนลงไปไว้สำหรับการวางเล่นบนหน้าตัก สายของพิณซึ่งอาจจะทำจากเส้นไนลอนหรือเอ็น จะถูกขึงจากส่วนคอหรือส่วนที่เหมือนคันธนูของตัวพิณไปยังส่วนตัวพิณ เป็นการขึงแบบแนวทแยง ปลายสายทุกเส้นมักประดับด้วยพู่สีแดง เพิ่มความสวยงามและสื่อถึงความสูงศักดิ์ให้แก่ตัวพิณ ซองเกาะมีขนาดมาตรฐานคือยาว 80 เซนติเมตร กว้างและลึก 16 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร [5]

ประวัติ

แก้

ซองเกาะเป็นเครื่องดนตรีที่มีความเก่าแก่มาก[6] สันนิษฐานกันว่าอาจได้รับการคิดค้นขึ้นตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 500 จากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดี กล่าวคือ รูปนูนที่วัดพม่าแห่งหนึ่งซึ่งแกะเป็นรูปพิณคอยาว และมีลักษณะใกล้เคียงกับรูปนูนพิณที่พบในภูมิภาคเบงกอล[7] หลักฐานทางโบราณคดีที่ว่านั้นอยู่ที่แหล่งโบราณคดีวัดบอบอจีแห่งอาณาจักรศรีเกษตรของชาวปยู ใกล้กับเมืองแปรในปัจจุบัน สร้างเมื่อประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 พิณชนิดดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงในพงศาวดารและเอกสารหลายฉบับ รวมทั้งพงศาวดารจีนร่วมสมัยเดียวกันซึ่งกล่าวถึงนักดนตรีชาวปยูที่เล่นพิณทรงโค้งด้วย และต่อมาคำว่า "ซอง" ซึ่งแปลว่าพิณในภาษาพม่าก็ได้รับการบันทึกไว้ตามวัดต่าง ๆ ในสมัยอาณาจักรพุกาม

ซองเกาะยังคงมีการเล่นกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่มาเฟื่องฟูมากในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยราชวงศ์โก้นบอง เมื่อพระเจ้ามังระได้ทรงกวาดต้อนเชลยศึกชาวสยามจากสงครามเสียกรุงศรีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มาเป็นจำนวนมาก ในจำนวนเชลยศึกเหล่านี้ก็มีนักแสดงและนักดนตรีรวมอยู่ด้วย จึงได้มีลองเล่นรวมไปถึงการผสมผสานศิลปะดนตรีระหว่างสองชาติเข้าด้วยกัน มีการดัดแปลงเพลงของสยามให้เป็นเพลงในรูปแบบพม่า หรือสร้างแนวเพลงขึ้นสำหรับเครื่องสาย และรวมไปถึงซองเกาะอีกด้วย จึงถือว่าเป็นยุคที่ซองเกาะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ภายหลังได้มีการดัดแปลงโครงสร้างของพิณ โดยเพิ่มสายจากเจ็ดสายมาเป็นสิบสามสาย และกลายมาเป็นสิบหกสายแบบในปัจจุบัน[5]

การเล่น

แก้

เนื่องด้วยซองเกาะถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสูงศักดิ์ ในอดีตสามารถเล่นกันได้ในราชสำนักเพียงเท่านั้น การตกแต่งเครื่องดนตรีจึงต้องเป็นไปอย่างสมกับสถานะ การเล่นเองก็ต้องให้เกียรติผู้ฟังซึ่งมักเป็นกษัตริย์เช่นกัน การเล่นซองเกาะจึงต้องนั่งเล่นโดยนำตัวพิณวางไว้บนตัก หันคอพิณไปทางซ้ายมือ ใช้มือขวาในการดีดพิณ ส่วนมือซ้ายจะใช้ยึดประคองพิณไว้ ในบางครั้งก็มักใช้เล่นเพลงจังหวะเปิดปิด เช่น เพลง "ซิเนหว่า" เป็นต้น[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Sadie Stanley, ed. (1984). "T'na". The New Grove Dictionary of Musical Instruments. Vol. 3. Macmillan. p. 601
  2. Sadie Stanley, ed. (1984). "Na den". The New Grove Dictionary of Musical Instruments. Vol. 2. Macmillan. p. 736
  3. Miller, Terry E. and Sean Williams. The Garland handbook of Southeast Asian music. Routledge, 2008. ISBN 0-415-96075-4
  4. However the site Harp History site mentions that a similar instrument, called (according to the site) the pin nam tao, whose picture is shown on the site, is played in Thailand today, the main difference being (according to the site) that the Burmese arched harp has 13 strings while the Thai arched harp has 15 strings. (In fact the picture purported to be that of the Burmese arched harp on the site shows an instrument with 16 strings and that of the purported Thai arched harp an instrument with 14 strings )
  5. 5.0 5.1 5.2 Williamson, Robert M. (2010). Thomas D. Rossing (บ.ก.). The Science of String Instruments. Springer. pp. 167–170. ISBN 9781441971104.
  6. Śrīrāma Goyala (1 August 1992). Reappraising Gupta History: For S.R. Goyal. Aditya Prakashan. p. 237. ISBN 978-81-85179-78-0. - ...yazh resembles this old vina... however it is the Burmese harp which seems to have been handed down in almost unchanged form since ancient times
  7. Becker, Judith (1967). "The Migration of the Arched Harp from India to Burma". The Galpin Society Journal. 20: 17–23. doi:10.2307/841500. JSTOR 841500.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  NODES