ซอนเน็ต
ซอนเน็ต (อังกฤษ: Sonnet) เป็นรูปแบบฉันทลักษณ์งานกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษแบบหนึ่ง พบมากในงานกวีนิพนธ์ของประเทศในยุโรป คำว่า "ซอนเน็ต" มาจากคำ sonet ในภาษาอุตซิตา และ sonetto ในภาษาอิตาลี มีความหมายว่า "บทเพลงน้อย ๆ" ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เริ่มมีการใช้ซอนเน็ตกับบทกวี 14 บรรทัด ซึ่งมีรูปแบบสัมผัสที่เคร่งครัดและมีโครงสร้างพิเศษ ผู้เขียนโคลงซอนเน็ตมักมีคำเรียกเฉพาะว่า "sonneteer" งานกวีนิพนธ์แบบซอนเน็ตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ซอนเน็ตของเชกสเปียร์ ซึ่งได้ประพันธ์โคลงซอนเน็ตไว้ถึง 154 บท
กวีมักนิยมเขียนโคลงซอนเน็ตโดยใช้มาตราแบบ iambic pentameterในงานประพันธ์ภาษาอังกฤษ ถ้าประพันธ์ด้วยภาษากลุ่มโรมานซ์ จะนิยมใช้มาตราแบบ hendecasyllable และ alexandrine
ตัวอย่าง
แก้ตัวอย่างโคลงซอนเน็ตของเชกสเปียร์ บทที่ 116 ใน 1 บทมี 14 บรรทัด ประพันธ์ด้วยมาตรา iambic pentameter กล่าวคือแต่ละบรรทัดประกอบด้วย 10 พยางค์ (หรืออาจเป็น 9-11 พยางค์ก็ได้) ลักษณะสัมผัสท้ายประโยคเป็นดังนี้ a-b-a-b / c-d-c-d / e-f-e-f / g-g
Let me not to the marriage of true minds (a)
Admit impediments, love is not love (b)
Which alters when it alteration finds, (a)
Or bends with the remover to remove. (b)
O no, it is an ever fixed mark (c)
That looks on tempests and is never shaken; (d)
It is the star to every wand'ring bark, (c)
Whose worth's unknown although his height be taken. (d)
Love's not time's fool, though rosy lips and cheeks (e)
Within his bending sickle's compass come, (f)
Love alters not with his brief hours and weeks, (e)
But bears it out even to the edge of doom: (f)
If this be error and upon me proved, (g)
I never writ, nor no man ever loved. (g)