ซัวเถา
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ซัวเถา หรือ ช่านโถว (จีนตัวย่อ: 汕头; จีนตัวเต็ม: 汕頭; พินอิน: Shàntóu; ยฺหวิดเพ็ง: saan3 tau4; เป่อ่วยยี: Sòaⁿ-thâu อ่านว่า สั่ว(น์)เท้า) เป็นนครระดับจังหวัดของจีนที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง มีเนื้อที่ 234 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,846,400 คน
ช่านโถว 汕头市 ซัวเท้า | |
---|---|
สถานที่ต่าง ๆ ในนครซัวเถา | |
ตำแหน่งของนครซัวเถาในมณฑลกวางตุ้ง | |
พิกัด (หน่วยงานบริหารนครซัวเถา): 23°21′14″N 116°40′55″E / 23.354°N 116.682°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
มณฑล | กวางตุ้ง |
ศูนย์กลางการปกครอง | เขตจินผิง (金平区) |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | ฟาง ลี่ซฺวี่ (方利旭) |
• นายกเทศมนตรี | เจิ้ง เจี้ยนเกอ (郑剑戈) |
พื้นที่ | |
• นครระดับจังหวัด | 2,248.39 ตร.กม. (868.11 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 9,297.1 ตร.กม. (3,589.6 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 51 เมตร (167 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโนปี 2010) | |
• นครระดับจังหวัด | 5,389,328 คน |
• ความหนาแน่น | 2,400 คน/ตร.กม. (6,200 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[1] | 12,785,241 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,400 คน/ตร.กม. (3,600 คน/ตร.ไมล์) |
• ชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ | ฮั่น |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 515000, 515041 |
รหัสพื้นที่ | 754 |
รหัส ISO 3166 | CN-GD-05 |
ภาษา | ภาษาจีนหมิ่น |
สำเนียงท้องถิ่น | สำเนียงแต้จิ๋ว |
เว็บไซต์ | shantou |
ซัวเถา | |||||||||||||||||||||||||||||
"ช่านโถว" เขียนด้วยตัวอักษรจีน | |||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 汕头 | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 汕頭 | ||||||||||||||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Swatow | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ซัวเถาตั้งอยูทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง (广东省) ทิศทางใต้และทิศตะวันตกติดจังหวัดเจียหยาง ในภาษาจีนกลาง เก๊กเอี๊ย ในภาษาแต้จิ๋ว (揭阳 หรือ 掲市) ทางทิศเหนือติดจังหวัดเฉาโจว ในภาษาจีนกลาง แต้จิ๋ว ในภาษาแต้จิ๋ว (潮州市) และทางทิศตะวันออกติดทะเลจีนใต้
ประวัติ
แก้เมืองซัวเถา ในสมัยราชวงศ์ราชวงศ์ซ้อง เคยเป็นเมืองท่าของ เมืองถัวเจียง (鮀江都) และ อำเภอเก๊กเอี๊ย (揭陽縣) มีชื่อว่า เมืองซ่าหลิ่ง (廈嶺) ในสมัยราชวงศ์หยวน ในปีพ.ศ. 2106 เมืองซัวเถาเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเฉิงไห่ หรือเถ่งไฮ่ ในภาษาแต้จิ๋ว (澄海縣) จังหวัดฉาวโจวหรือจังหวัดแต้จิ๋วในปัจจุบัน ในตอนนั้นเมืองซัวเถาถูกเรียกว่า ชาชานปิง (沙汕坪) ส่วนคำว่าซัวเถานั้นถูกเรียกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากเครื่องชามที่เรียกว่า ชาชาน โทวเปาไท (沙汕頭炮臺) และก็ได้มาเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ. 2452
เขตการปกครอง
แก้ซัวเถาเป็นนครระดับจังหวัด แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต และ 1 อำเภอ
- เขตหลงหู หรือ เล้งโอว (龙湖区 Lónghú Qū)
- เขตจินผิง หรือ กิมเพง (金平区 Jīnpíng Qū)
- เขตเหาเจียง หรือ เห่ากัง (濠江区 Háojiāng Qū)
- เขตเฉาหยาง หรือ แต้เอียะ (潮阳区 Cháoyáng Qū)
- เขตเฉาหนาน หรือ แต้นาม (潮南区 Cháonán Qū)
- เขตเฉิงไห่ หรือ เถ่งไฮ่ (澄海区 Chénghǎi Qū)
- อำเภอหนานเอ้า หรือ มามโอ้ (南澳县 Nán'ào Xiàn)
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
แก้รัฐบาลจีนได้บอกว่าได้มีชาวจีน 2 ล้านกว่าคนที่อพยพไปจากจังหวัดซัวเถา ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยมีเหตุผลจากสงครามกับพวกมองโกลและแมนจูเรียที่บุกผ่านกำแพงเมืองจีนทางภาคเหนือมาปกครองจีน รวมทั้งครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องทำสงครามกับญี่ปุ่น ทำให้ผู้คนในซัวเถาอดอยากจากภัยสงครามจึงอพยพ โดยส่วนมากจะอพยพไปที่ประเทศไทยผ่านการนั่งเรือสำเภาและเรือกลไฟบางส่วนเดินทางผ่านแม่น้ำโขง และบางส่วนก็ไปที่สิงคโปร์ ดังนั้นเมืองนี้จึงมีเครื่องบินที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดซัวเถา
ภาษา
แก้เนื่องจากที่ตั้งของจังหวัดซัวเถา อยู่ติดกับจังหวัดแต้จิ๋ว จังหวัดซัวเถาจึงใช้ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาถิ่น รวมกับภาษาจีนกลางซึ่งเป็นภาษาราชการ และเนื่องจากเป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลกวางตุ้ง จึงสามารถใช้ภาษากวางตุ้งได้ในการติดต่อสื่อสาร หรือทำธุรกิจได้เช่นกัน
ภาพ
แก้-
บ้านโบราณและเก๋งจีนซึ่งบอกว่าเป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
อ้างอิง
แก้- ↑ OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews. OECD. 18 April 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341.Linked from the OECD here
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซัวเถา
- คู่มือการท่องเที่ยว Shantou จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์หน่วยงานบริหารนครซัวเถา (ภาษาจีน)
- เว็บไซต์หน่วยงานบริหารนครซัวเถา (ภาษาอังกฤษ)
- Shantou Daily
- Guangdong Statistical Yearbook
- HISTORICAL PHOTOGRAPHS OF CHINA by UNIVERSITY OF BRISTOL