ซาไดจิง (ญี่ปุ่น: 左大臣 Sadaijin;[1] "มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย") เป็นตำแหน่งราชการในญี่ปุ่นปลายยุคนาระและยุคเฮอัง ปรากฏครั้งในประมวลกฎหมายอาซูกะคิโยมิฮาระ ฉบับ ค.ศ. 689 โดยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานกลางที่เรียก ไดโจกัง ซึ่งช่วงแรกประกอบด้วยเสนาบดีสามคน คือ ไดโจไดจิง (อัครมหาเสนาบดี), ซาไดจิง (มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย), และอูไดจิง (มหาเสนาบดีฝ่ายขวา) ต่อมา ได้รับการรวมไว้ในประมวลกฎหมายไทโฮ ฉบับ ค.ศ. 702[2]

ประเทศญี่ปุ่นก่อนสมัยใหม่
ตราประจำราชวงศ์ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของชุดการเมืองการปกครองในยุคนะระและยุคเฮอัง

ไดโจกัง
(สภาอำมาตย์)
อัครมหาเสนาบดี  / ประธานสภา
ไดโจไดจิง
มหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายซาไดจิง
มหาเสนาบดีฝ่ายขวาอูไดจิง
มหาเสนาบดีกลางไนไดจิง
อำมาตย์ใหญ่ไดนะงง
อำมาตย์กลางชูนะงง
อำมาตย์น้อยโชนะงง
กรมทั้งแปด
กรมบริหารกลาง
นะกะสึกะซะโช
กรมพิธีการชิคิบุโช
กรมอาลักษณ์จิบุโช
กรมมหาดไทยมิมบุโช
กรมกลาโหมเฮียวบุโช
กรมยุติธรรมเกียวบุโช
กรมคลังโอคุระโช
กรมวังคุไนโช

ซาไดจิงเป็นมหาเสนาบดีชั้นสูง มีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการงานเมืองทั้งปวงกับอูไดจิงซึ่งเป็นตำแหน่งรองลงมา แต่ซาไดจิงกับอูไดจิงก็เป็นรองไดโจไดจิงอีกทอดหนึ่ง[3]

ตำแหน่งซาไดจิง และตำแหน่งอื่น ๆ ในโครงสร้างไดโจกัง ค่อย ๆ ลดอำนาจลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10–11 เพราะตระกูลฟูจิวาระเข้ามากำกับการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อตระกูลมินาโมโตะยึดอำนาจจากกลุ่มคูเงะ ตำแหน่งนี้ก็สิ้นอำนาจลงโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า มีการยุบเลิกระบบไดโจกังอย่างเป็นทางการไปก่อนยุคเมจิแล้วหรือไม่

อ้างอิง

แก้
  1. Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary, Kenkyusha Limited, ISBN 4-7674-2015-6
  2. Hall, John Whitney et al. (1993). The Cambridge History of Japan, p. 232.
  3. Shin-meikai-kokugo-jiten,Sanseido Co., Ltd. Tokyo 1974
  NODES