นาจา หรือ หน่าจา (หรือ เหนอจา ตามภาษาจีนกลาง) (จีน: 哪吒; พินอิน: Nézhā หรือ Núozhā) เป็นเทพผู้พิทักษ์ในศาสนาพื้นบ้านของจีน มีชื่อในลัทธิเต๋าอย่างเป็นทางการว่า "จอมพลแห่งแท่นบูชากลาง" (จีน: 中壇元帥; พินอิน: Marshal of the Central Altar) จากนั้นพระองค์ก็ทรงได้รับสมญานามว่า "เจ้าชายบัวองค์ที่สาม" (จีน: 蓮花三太子; พินอิน: Third Lotus Prince) หลังจากที่ทรงเป็นเทพแล้ว

นาจา
นาจาใน Fengshen Yanyi
ภาษาจีน哪吒
Marshal of the Central Altar
ภาษาจีน元帥
Third Lotus Prince
ภาษาจีน蓮花太子

ปกรณัม

แก้

ในห้องสิน เดิมนาจา มีอดีตชาติ มีชื่อว่า หลิน จูจื่อ เป็นลูกศิษย์ของไท่อิดจินหยิน แต่ด้วยโลกมนุษย์มีปีศาจมาก ทางสวรรค์จึงส่ง หลิน จูจื่อ มาจุติยังโลกมนุษย์ในยุคราชวงศ์ซาง ในตระกูลหลี่ (李) ประสูติเมื่อวันที่ 9 เดือน 9 (ตามปฎิทินจีน) เป็นบุตรของแม่ทัพหลี่ (หลี่เจ๊ง) และ นางฮึ่นสี ขณะที่ตั้งท้องอยู่นั้น แม่ทัพหลี่ ได้ถูกส่งให้ไปออกรบ ประมาณ 3 ปี กับอีก 6 เดือน เมื่อแม่ทัพหลี่กลับมา ภรรยาก็คลอดบุตรพอดี แต่กลับเป็นลูกแก้ว จึงเข้าใจว่าเป็นปีศาจ แม่ทัพหลี่โกรธมาก จึงใช้กระบี่ฟันไปที่ลูกแก้ว เมื่อลูกแก้วแตกก็เห็นเด็กผู้ชายหน้าตาน่ารักนอนอยู่บนผ้าแพร และมีห่วงทองอยู่ที่ตัวด้วย

นาจาในวัยเด็กเป็นเด็กที่ซนมากและไม่กลัวใคร วันหนึ่ง นาจาไปเล่นน้ำทะเล ด้วยเป็นเด็กจึงเอาผ้าเหวี่ยงเล่นที่น้ำ จึงทำให้ใต้บาดาลสะเทือน เจ้าสมุทร จึงสั่งให้ ทหารออกมาดู ก็เห็นเด็กกำลังเล่นน้ำอยู่ จึงเข้าไปขู่ นาจาจึงใช้ผ้าเหวี่ยง เพื่อไล่ให้ไปแต่ปรากฏว่าถูกตัวทหารทำให้ทหารของเจ้าสมุทรตาย ต่อมา ลูกเจ้าสมุทรเห็นว่านานแล้ว ทหารยังไม่มารายงานจึงขึ้นตามมาดูก็เห็นทหารตายอยู่ และมีเด็กกำลังเล่นน้ำอยู่ จึงเข้าไปขู่ แต่ก็ถูกผ้าแพรเหวี่ยงตายเช่นกัน ทหารก็ไปรายงานเจ้าสมุทร เจ้าสมุทรโกรธมาก จึงไปหา แม่ทัพหลี่ และบอกว่าลูกของท่านได้ฆ่าลูกของตน และเจ้าสมุทรจะเอาน้ำทะเล มาถล่มเมือง พอนาจาได้ยินรุ่งเช้า จึงไปเมืองบาดาลและถลกเส้นเอ็นมังกรและเสกมังกรให้เป็นงูเขียว แล้วเดินทางกลับบ้าน

เมื่อกลับถึงบ้าน แม่ทัพหลี่ก็ดุด่านาจาว่าเจ้าสมุทรโกรธมาก และจะถล่มเมือง นาจาจึงเอาเส้นเอ็นออกมาให้พ่อดู แล้วบอกว่า เส้นเอ็นนี้เอามาให้พ่อทำเสื้อเกราะ แล้วเจ้าสมุทรก็อยู่ที่ตัว นาจาก็ขว้างงูเขียวออกมา เห็นเป็นเจ้าสมุทร แม่ทัพหลี่โกรธมากจึงดุด่านาจา จนในที่สุด นาจาน้อยใจจึงแล่เนื้อคืนแม่ และแล่กระดูกคืนพ่อ จากนั้นจึงเข้าฝัน บอกให้แม่ทำศาลบูชาให้ แล้วนาจาจะได้ชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ แม่ทัพหลี่ทราบเรื่องก็ตามไปทำลายศาล นาจาจึงโกรธมากและคิดที่จะฆ่าพ่อ

เมื่อนาจาตายไปแล้วจึงหอบวิญญาณของตนไปพบไท่อิดจินหยิน ไท่อิดจินหยินเห็นว่า นาจามีความสามารถในการปราบมารปีศาจ จึงได้ชุบชีวิตให้กับนาจาโดยใช้ก้านบัวแทนกระดูก รากบัวแทนเนื้อ ใยบัวแทนเอ็น และใบบัวแทนเสื้อผ้าอาภรณ์ขึ้นมาใหม่

ดังนั้น รูปลักษณ์ของนาจา จะปรากฏให้ห็นเป็นรูปของเด็กผู้ชายเหยียบวงล้อไฟ มือถือหอกและห่วงเป็นอาวุธ มีอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ปราบมารปีศาจได้ ต่อมาภายหลังได้ช่วยเจียงจื่อหยานำกองทัพราชวงศ์โจวรบกับราชวงศ์ชางหลังจากได้รับชัยชนะไม่ขอรับรางวัลไดๆจึงลากลับไปอยู่กับไท่อิดจินหยินผู้เป็นอาจารย์ นาจายังมีตำนานที่แตกต่างออกไป เช่น ในไซอิ๋วได้บรรยายว่า นาจาเมื่อเกิดข้างมือขวามีอักษรว่า นา ข้างมือซ้ายมีอักษรว่า จา จึงได้ชื่อว่า นาจา เมื่อเกิดได้ 3 วันแล้วจึงออกไปเล่นน้ำทะเลและได้ไปเหยียบปราสาทของเจ้าสมุทรและจับบุตรชายของเจ้าสมุทรถลกเส้นเอ็นมังกร เจ้าสมุทรโกรธมาก จึงไปหา แม่ทัพหลี่ผู้เป็นบิดา แม่ทัพหลี่จึงคิดจะฆ่านาจา นาจาน้อยใจจึงแล่เนื้อคืนแม่ แล่กระดูกคือพ่อ เมื่องนาจาตายแล้วดวงวิญญาณจึงลอยไปหาพระยูไลในดินแดนชมพูทวีป พระยูไลเห็นจึงรู้สงสารจึงได้ชุบชีวิตให้กับนาจาโดยใช้ก้านบัวแทนกระดูก รากบัวแทนเนื้อ ใยบัวแทนเอ็น และใบบัวแทนอาภรณ์ขึ้นมาใหม่แล้วพระยูไลจึงได้ให้นาจาไปปราบปีศาจทั้ง 96 ถ้ำ เมื่อปราบได้สำเร็จ นานาจึงคิดจะแก้แค้นแม่ทัพหลี่ผู้เป็นบิดา แม่ทัทหลี่จึงไปขอความช่วยเหลือจากพระยูไล พระยูไลจึงมอบเจดีย์ให้แม่ทัพหลี่เมื่อนาจาได้เห็นเจดีย์ที่เป็นตัวแทนของพระยูไลแล้วนาจาจึงไม่กล้าทำร้ายพ่อตัวเอง พระยูไลจึงให้สองพ่อลูกคืนดีกัน ต่อมาภายหลังจึงได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพบนสวรรค์

มีความเห็นจากนักวิชาการชาวอิสราเอล เมเออร์ ชาเฮอร์ ว่านาจามีที่มาจากเทพปกรณัมฮินดู โดยเชื่อว่านาจา คือ นลกุเวร ซึ่งเป็นบุตรชายของท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับพอสมควรจากนักวิชาการชาวจีน โดยระบุว่าคำว่า "นาจา" ก็มาจากคำว่า นลกุเวร ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต ฐานยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างคำทั้งสองนี้ปรากฏในพระสูตรมหามยุรีวิทยาราชาสูตร ของพุทธศาสนาในนิกายตันตระ ที่ต้นฉบับภาษาสันสกฤตที่แปลเป็นภาษาจีน โดยการแปลแต่ละครั้งมีการแปลชื่อนี้ออกมาไม่เหมือนกัน แต่ที่สุดแล้วคำว่า นลกุเวร เรียกอย่างสั้น ๆ แบบจีนว่า นาจา โดยมีพุทธศาสนานิกายตันตระเป็นตัวเชื่อมโยง อีกทั้งยังมีความเหมือนกันในเรื่องของปมเอดิปุสด้วย[2]

นาจาในความเคารพและในวัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

ปัจจุบัน นาจาเป็นหนึ่งในเทพเจ้าของจีนที่ชาวจีนรวมทั้งชาวไทยเชื้อสายจีนให้การเคารพนับถือ โดยมีศาลหลายแห่งปรากฏอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม (ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ) ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี[3]

นาจา ยังปรากฏในบทประพันธ์เรื่อง ไซอิ๋ว อีกด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน ด้วยการเป็นแม่ทัพสวรรค์ที่พ่ายแพ้ต่อหงอคง เมื่อครั้งหงอคงมาอาละวาดที่สวรรค์ เช่นเดียวกับ เอ้อหลางเสิน

เรื่องราวของนาจาได้ถูกสร้างในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายอย่าง อาทิ ละครโทรทัศน์ เช่น Gods of Honour ในปี ค.ศ. 2001 ของฮ่องกง นำแสดงโดย เฉิน ห่าวหมิน (ในประเทศไทยฉายทางช่อง 3 ใช้ชื่อว่า นาจาเทพจอมอิทธิฤทธิ์) [4]

อ้างอิง

แก้
  1. "Dict.Concised.Moe.Gov.Tw 34.6". dict.revised.moe.edu.tw.
  2. Shahar, Meir (2014). "Indian Mythology and the Chinese Imagination: Nezha, Nalakubara, and Krshna". In John Kieschnick and Meir Shahar. India in the Chinese Imagination. University of Pennsylvania Press. pp. 27–29. ISBN 978-0-8122-4560-8.
  3. "ศาลเจ้าหน่าจาไท้จื้อ". นาจาไทยดอตเน็ต.
  4. "นาจาเทพจอมอิทธิฤทธิ์". หรรษาดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2010-11-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  NODES