บาติก (อินโดนีเซีย: batik) หรือ บาเตะ (ชวา: ꦧꦛꦶꦏ꧀) เป็นเทคนิคย้อมผ้าด้วยวิธีกันด้วยขี้ผึ้ง โดยประยุกต์ใช้กับการย้อมเสื้อผ้าทั้งชุดหรือหมายถึงผ้าที่ใช้เทคนิควิธีนี้ที่มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย[1] การทำบาติกใช้วิธีการวาดจุดหรือเส้นเพื่อกันสีโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า จันติง (canting) หรือใช้วิธีการพิมพ์ตัวกันสีที่ทำจากทองแดงที่เรียกว่า จัป (cap)[2] ช่างฝีมือจะเลือกสีโดยจุ่มผ้าเข้ากับสีเดียว จากนั้นเอาขี้ผึ้งออกด้วยน้ำเดือด จากนั้นทำซ้ำหากต้องการหลายสี[1]

บาติกอินโดนีเซีย *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
บาติกของอินโดนีเซีย
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00170
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2552 (คณะกรรมการสมัยที่ 4)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ประเพณีการทำบาติกพบได้ในหลายประเทศ แต่บาติกของอินโดนีเซียเป็นที่รู้จักมากที่สุด[3][4] บาติกของอินโดนีเซียบนเกาะชวามีประวัติอันยาวนานที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม กับลวดลายอันหลากหลายที่ได้รับมาจากวัฒนธรรมอันหลากหลาย และได้รับการพัฒนาโดยส่วนใหญ่ทั้งรูปแบบ เทคนิค และคุณภาพของฝีมือช่าง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ยูเนสโกบรรจุบาติกของอินโดนีเซียเป็นงานชิ้นเอกของมรดกมุขปาฐะและมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Masterpiece of Oral and Intangible Heritage of Humanity)[5]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "What is Batik?". The Batik Guild.
  2. The Jakarta Post Life team. "Batik: a cultural dilemma of infatuation and appreciation". The Jakarta Post.
  3. Robert Pore (12 February 2017). "A unique style, Hastings artist captures wonder of crane migration". The Independent.
  4. Sucheta Rawal (4 October 2016). "The Many Faces of Sustainable Tourism - My Week in Bali". Huffingtonpost.
  5. ""Indonesian Batik", Inscribed in 2009 on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity". UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2014. สืบค้นเมื่อ 10 October 2014.
  NODES
os 3