ปาปริกา (อังกฤษ: Paprika) เป็นเครื่องเทศที่ทำจากพริกแดงแห้งและบด[1] โดยปรกติจะทำจากพริกในชนิดพันธุ์ Capsicum annuum พริกที่ใช้ทำปาปริกามักจะรสเบากว่าและมีเนื้อบางกว่าพริกที่รับประทานกันทั่วไป[2][3]

ปาปริกา
ปาปริกา pimentón tap de cortí ของมาจอร์กา
พลังงาน
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
282 กิโลแคลอรี (1181 กิโลจูล)
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
โปรตีน14 กรัม
ไขมัน13 กรัม
คาร์โบไฮเดรต54 กรัม

พริกพันธุ์ต่าง ๆ สามารถสืบเชื้อสายได้ถึงบรรพบุรุษในอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเม็กซิโกกลาง ซึ่งมีการปลูกพริกมานานหลายศตวรรษ ต่อมาพริกได้ถูกนำมาสู่โลกเก่า โดยสเปนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เครื่องปรุงรสนี้ใช้เพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติให้กับอาหารหลายประเภทในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

การค้าขายปาปริกาขยายจากคาบสมุทรไอบีเรียไปยังแอฟริกาและเอเชีย[4]: 8  และในที่สุดก็ไปถึงยุโรปกลางผ่านคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมัน ซึ่งสามารถอธิบายเหตุผลที่ว่าทำไมคำว่าปาปริกามีที่มาจากภาษาฮังการี ในภาษาสเปนปาปริการู้จักกันในชื่อ pimentón ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 พริกนี้กลายเป็นส่วนผสมทั่วไปในอาหารของแคว้นเอซเตรมาดูราตะวันตก[4]: 5, 73  แม้จะปรากฏในยุโรปกลางตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการยึดโดยออตโตมัน แต่ปาปริกาก็ไม่ได้รับความนิยมในฮังการีจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[5]

ปาปริกามีความเผ็ดตั้งแต่เผ็ดน้อยถึงเผ็ดมาก รสชาติแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่พืชที่ปลูกเกือบทั้งหมดมักจะมีความหวาน[6] ปาปริกาหวานส่วนใหญ่ประกอบด้วยเปลือกพริกโดยเอาเมล็ดออกมากกว่าครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ปาปริกาเผ็ดประกอบด้วยเมล็ด ก้าน ออวุล และกลีบเลี้ยง การที่ปาปริกามีสีแดง ส้ม หรือเหลือง เป็นเพราะสารแคโรทีนอยด์[7]

ประวัติและศัพทมูลวิทยา

แก้

พริกเป็นวัตถุดิบในการผลิตพริกปาปริกา มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาเหนือ ซึ่งปลูกในป่าในเม็กซิโกกลาง และได้รับการเพาะปลูกมาเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยชาวเม็กซิโก ต่อมาได้แนะนำมาสู่โลกเก่าที่สเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนโคลัมเบีย

พริกที่ใช้ทำปาปริการูปแบบฮังการีปลูกในปี ค.ศ. 1569 โดยชาวตุรกีที่บูดอ[8] (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบูดาเปสต์ เมืองหลวงของฮังการี) ปาปริกาในยุโรปกลางมีรสชาติเผ็ดจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เมื่อเกษตรกรที่เซเกดพบพริกที่มีรสหวานจึงได้ทำการทาบกิ่งเข้ากับต้นอื่น ๆ[6]

คำว่า ปาปริกา ในภาษาไทยเป็นการทับศัพท์มาจากคำว่า paprika ในภาษาอังกฤษ พบการใช้คำว่า paprika ในภาษาอังกฤษครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1896[8] แม้ว่าจะมีการอ้างอิงถึงปาปริกาของตุรกีก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1831[9] คำนี้มาจากคำว่า paprika ในภาษาฮังการี[10] ซึ่งเป็นคำที่มาจาก piper ในภาษาละติน หรือ πιπέρι (piperi) ในภาษากรีกสมัยใหม่ ซึ่งสืบทอดมาจากคำว่า पिप्पलि (pippali) ในภาษาสันสกฤต[8]

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "pepper". สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2017 – โดยทาง The Free Dictionary.
  2. Derera, Nicholas F.; Nagy, Natalia; Hoxha, Adriana (มกราคม 2005). "Condiment paprika research in Australia". Journal of Business Chemistry. 2 (1): 4–18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2022.
  3. Vaughan, John; Geissler, Catherine (2009). The New Oxford Book of Food Plants (2 ed.). Oxford: Oxford University Press. pp. 146–147. ISBN 9780191609497.
  4. 4.0 4.1 Andrews, Jean (1995). Peppers: The Domesticated Capsicums (New ed.). Austin, Texas: University of Texas Press. p. 8. ISBN 9780292704671. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2016.
  5. Ayto, John (1990). The Glutton's Glossary: A Dictionary of Food and Drink Terms (ภาษาอังกฤษ). London: Routledge. p. 205. ISBN 9780415026475. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2016.
  6. 6.0 6.1 Sasvari, Joanne (2005). Paprika: A Spicy Memoir from Hungary. Toronto, ON: CanWest Books. p. 202. ISBN 9781897229057. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2016.
  7. Gómez-García Mdel, R; Ochoa-Alejo, N (2013). "Biochemistry and molecular biology of carotenoid biosynthesis in chili peppers (Capsicum spp.)". International Journal of Molecular Sciences. 14 (9): 19025–53. doi:10.3390/ijms140919025. PMC 3794819. PMID 24065101.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Online Etymology Dictionary". Etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011.
  9. Lieber, Francis (1831). Encyclopaedia Americana (ภาษาอังกฤษ). p. 476. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2016.
  10. A Magyar Nyelv Történeti-Etimológiai Szótára [The Historical-Etymological Dictionary of the Hungarian Language]. Vol. 3. Budapest: Akadémiai Kiadó. 1976. p. 93.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  NODES
INTERN 1