ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้[1] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรค[2] และการสูญเสียน้ำมากเกินไป[3] หน้าที่อื่น คือ เป็นฉนวน ควบคุมอุณหภูมิ รับความรู้สึกและผลิตโฟเลตวิตามินดี ผิวหนังที่เสียหายรุนแรงอาจหายโดยเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็น บางครั้ง ผิวหนังอาจเปลี่ยนสีและเกิดเป็นรอยด่างขาวได้ ความหนาของผิวหนังแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น ในมนุษย์ ผิวหนังใต้ตาและรอบหนังตาเป็นผิวหนังที่บางที่สุดในร่างกาย โดยหนา 0.5 มิลลิเมตร และเป็นบริเวณแรก ๆ ที่แสดงสัญญาณการเปลี่ยนตามวัย เช่น "รอยตีนกา" และรอยเหี่ยวย่น ผิวหนังบนฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา 4 มิลลิเมตรและเป็นผิวหนังที่หนาที่สุดในร่างกาย ความเร็วและคุณภาพของการสมานแผลในผิวหนังได้รับการสนับสนุนจากการรับเอสโตรเจน[4] [5] [6]

ผิวหนัง
แผนภาพผิวหนังมนุษย์
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินCutis
MeSHD012867
TA98A16.0.00.002
TA27041
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

อ้างอิง

แก้
  1. ""Skin care" (analysis), Health-Cares.net, 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
  2. Proksch E, Brandner JM, Jensen JM. (2008).The skin: an indispensable barrier. Exp Dermatol. 17(12):1063–72. PMID 19043850
  3. Madison KC. (2003). Barrier function of the skin: "la raison d'être" of the epidermis. J Invest Dermatol. 121(2):231-41. doi:10.1046/j.1523-1747.2003.12359.x PMID 12880413
  4. Thornton MJ (2002). "The biological actions of estrogen in skin" (PDF). Experimental Dermatology.
  5. Gillian S. Ashcroft, Teresa Greenwell-Wild, and Mark W. J. Ferguson (1999). "Topical Estrogen Accelerates Cutaneous Wound Healing in Aged Humans Associated with an Altered Inflammatory Response". The American Journal of Pathology.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Desiree May Oh, MD, Tania J. Phillips, MD (2006). "Sex Hormones and Wound Healing". Wounds.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  NODES
os 2