มรสุม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มรสุม เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือ ลมประจำฤดู สาเหตุใหญ่ ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลในชั้นบรรยากาศ และวัฎจักรของฝน เนื่องจากความไม่เท่ากันของการรับและคายความร้อนของพื้นดินและน้ำ[1][2] โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่ใช้บรรยายช่วงของฤดูกาลเปลี่ยนแปลงที่มีฝนตก ในระดับโลกสามารถที่จะจำแนกมรสุมได้เป็น มรสุมแอฟริกันตะวันตก และ มรสุมเอเชียออสเตรเลีย คำว่า “มรสุม” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ในอินเดียของบริเตน (ปัจจุบันคือ อินเดีย บังกลาเทศ และ ปากีสถาน) เพื่อสื่อถึงลมประจำฤดูกาลที่พัดจากอ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับนำพาฝนคะนองเข้าไปสู่บริเวณอินเดียของบริเตน[3][4]
คำว่า "มรสุม" หรือ monsoon ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า موسم [mausem] ในภาษาอารบิก แปลว่า ฤดูกาล
การศึกษาความเป็นมา
แก้มรสุมของทวีปเอเชียมีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับการยกตัวขึ้นของที่ราบสูงทิเบตหลังจากการชนกันของอนุทวีปอินเดียและทวีปเอเชียเมื่อ 50 ล้านปีก่อน[5] จาการศึกษาเก็บข้อมูลจากทะเลอาหรับและจากลมที่พัดฝุ่นที่ราบสูงโลเอส(อังกฤษ: en:Loess Plateau)ในประเทศจีน นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่าลมมรสุมเพิ่มความรุนแรงขึ้นเมื่อประมาณ 8 ล้านปีที่แล้ว จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพืชในประเทศจีนและจากการเก็บข้อมูลตะกอนในทะเลจีนใต้ทำให้ทราบว่ามรสุมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ 15-20 ล้านปีที่ผ่านมาซึ่งเชื่อมโยงกับการยกตัวขึ้นของที่ราบสูงทิเบต[6]
มรสุมมีการเพิ่มกำลังขึ้นตามกาลเวลาโดยมีปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคน้ำแข็ง ไพลส์โตซีน จากการศึกษา แพลงก์ตอนทะเล พบว่า มรสุมอินเดีย เพิ่มกำลังแรงมากขึ้นเมื่อ 5 ล้านปีที่แล้ว หลังจากนั้น ในช่วงของยุคน้ำแข็งที่ระดับน้ำทะเลลดลงมีผลทำให้ร่องน้ำอินโดนีเซียปิด น้ำเย็นจากมหาสมุทรแปซิฟิกถูกกีดกวางไม่สามารถไหลไปยังมหาสมุทรอินเดียได้ จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่าด้วยเหตุนี้ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรริอินเดียเพิ่มขึ้นและเป็นผลทำให้มรสุมเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
ผลกระทบ
แก้ผลกระทบของมรสุมต่อสภาพอากาศท้องถิ่นมีความแตกต่างกันออกไปตามสถานที่ ในบางแห่งเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเล็กน้อยของปริมาณฝนที่ตก ในขณะที่บางสถานที่สามารถทำให้ภูมิประเทศที่แห้งแล้งกลับกลายเป็นสถานที่มีความเจริญงอกงามของพันธุ์พืช ยกตัวอย่างเช่น ลมมรสุมอินเดีย สามารถทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอินเดียกลายสภาพจากแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายให้เขียวขจี
กระบวนการเกิดมรสุม
แก้เมื่ออุณหภูมิของผืนดินสูงกว่าหรือต่ำกว่าอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิของน้ำ ความไม่สมดุลของอุณหภูมินี้เกิดจากความสามารถในการรับความร้อนที่ต่างกัน บริเวณเหนือพื้นผิวน้ำอุณหภูมิพื้นผิวจะมีความเสถียรด้วยเหตุผลสองอย่าง อย่างแรก คือ น้ำมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนที่สูงกว่า(3.9 ถึง 4.2 J g−1 K−1)[7] และ อย่างที่สอง จากการนำความร้อนและการพาความร้อนช่วยในการรักษาอุณหภูมิให้มีความสมดุลกับมวลน้ำที่อยู่ในระดับที่ลึกลงไป (จนถึง 50 เมตร) ในทางตรงกันข้าม พื้นดินประกอบด้วย ดิน หิน ทราย ฝุ่น ฯลฯ มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนที่ต่ำกว่า (0.19 ถึง 0.35 J g−1 K−1),[8] และสามารถถ่ายเทความร้อนสู่พื้นโลกได้เฉพาะวิธีการนำความร้อนเท่านั้น ไม่สามารถพาความร้อนได้ จึงเป็นเหตุผลให้อุณหภูมิของน้ำมีความเสถียรมากกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมา
ในช่วงที่มีสภาพอากาศอบอุ่น แสงแดดทำให้อุณหภูมิทั้งของพื้นดินและน้ำเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดีอุณหภูมิของพื้นดินจะเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่า เมื่อพื้นดินมีอุณหภูมิที่สูงกว่าทำให้อากาศเหนือพื้นดินขยายตัวขึ้นเกิดเป็นบริเวณความกดอากาศต่ำ ในขณะที่อุณหภูมิเหนือผิวน้ำมีค่าต่ำกว่า ทำให้มีความหนาแน่นมวลอากาศที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน ด้วยความแตกต่างของความกดอากาศระหว่างสองบริเวณทำให้เกิดลมทะเลซึ่งพัดจากทะเลเข้าสูงฝั่ง นำพามวลอากาศที่ชื้นเข้าสู่แผ่นดิน มวลอากาศที่ชื้นเหล่านี้จะยกตัวสูงขึ้นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านแผ่นดิน และลอยย้อนกลับไปสู่มหาสมุทร(ในลักษณะของวงจรวัฏจักร) โดยที่มวลอากาศเมื่ออยู่เหนือแผ่นดินและลอยสูงขึ้นทำให้มีการเย็นตัวลง จึงทำให้เกิดฝนตกฝนตกขึ้นในบริเวณแผ่นดิน
ในช่วงที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น จะเกิดวัฏจักรเช่นเดียวกันแต่เป็นในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ พื้นดินมีอุณหภูมิที่ลดลงเร็วกว่าพื้นน้ำ รวมทั้งบริเวณเหนือพื้นดินมีความกดอากาศที่หนาแน่นมากกว่าอากาศบริเวณเหนือพื้นน้ำ มวลอากาศบริเวณเหนือพื้นดินจะเคลื่อนตัวไปยังมหาสมุทร เมื่อมวลอากาศเย็นตัวลงจึงเป็นผลทำให้เกิดเป็นฝนตกขึ้นเหนือบริเวณพื้นน้ำ หลังจากนั้นมวลอากาศที่เย็นจะลอยตัวกลับมายังแผ่นดิน เกิดเป็นวงจรวัฏจักรขึ้นเช่นเดียวกัน
มรสุมหน้าร้อนส่วนใหญ่จะเป็นลมที่พัดมาจากฝั่งตะวันตก และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดฝนตกเป็นจำนวนมาก (เนื่องมาจากการควบแน่นของไอน้ำเมื่ออากาศยกตัวขึ้น) โดยจะมีโอกาสที่จะเกิดและระยะเวลาที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี มรสุมหน้าหนาว ในทางตรงกันข้ามเป็นลมที่พัดมาจากทางตะวันออก มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายออก และ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความแห้งแล้ง
อ้างอิง
แก้- ↑ Trenberth, .K.E., Stepaniak, D.P., Caron, J.M., 2000, The global monsoon as seen through the divergent atmospheric circulation, Journal of Climate, 13, 3969-3993.
- ↑ "On Air–Sea Interaction at the Mouth of the Gulf of California", Paquita Zuidema and Chris Fairall, in Journal of Climate, Volume 20, Issue 9, May 2007, published by the American Meteorological Society
- ↑ Glossary of Meteorology (June 2000). "Monsoon". American Meteorological Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-22. สืบค้นเมื่อ 2008-03-14.
- ↑ International Committee of the Third Workshop on Monsoons. The Global Monsoon System: Research and Forecast. เก็บถาวร 2008-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2008-03-16.
- ↑ ROYDEN, L.H., BURCHFIEL, B.C., VAN DER HILST, Rob, WHIPPLE, K.X., HODGES, K.V., KING, R.W., and CHEN, Zhiliang. UPLIFT AND EVOLUTION OF THE EASTERN TIBETAN PLATEAU. เก็บถาวร 2008-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2008-05-11.
- ↑ P. D. Clift, M. K. Clark, and L. H. Royden. An Erosional Record of the Tibetan Plateau Uplift and Monsoon Strengthening in the Asian Marginal Seas. เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2008-05-11.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-09. สืบค้นเมื่อ 2015-06-18.
- ↑ http://www.engineeringtoolbox.com/specific-heat-solids-d_154.html
ผมไม่รู้มากเกินไปนาจา ;))))))))))))))))))))0