รัง

สปีชีส์ของพืช

รัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea siamensis) เป็นไม้ยืนต้นประเภทใบเดียวชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้ง และ ป่าแดงทั่วไป มีคุณสมบัติในการทนแล้งและทนไฟได้ดีมาก พบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า และไทย

รัง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ชบา
Malvales
วงศ์: วงศ์ยางนา
Dipterocarpaceae
สกุล: พะยอม
Shorea
Miq.[2]
สปีชีส์: Shorea siamensis
ชื่อทวินาม
Shorea siamensis
Miq.[2]
ชื่อพ้อง[2]
  • Hopea suavis Wall.
  • Pentacme malayana King
  • Pentacme siamensis (Miq.) Kurz
  • Pentacme suavis A.DC.
  • Pentacme tomentosa Craib
  • Shorea bracteata Pierre ex Laness.
  • Shorea mekongensis Pierre ex Laness.
  • Shorea suavis (A.DC.) Pierre ex Laness.
  • Shorea tomentosa Pierre
  • Vateria siamensis (Miq.) Burck

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูง 15–20 เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ผลรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก

เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดอุดรธานี มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "เปา, เปาดอกแดง" ในภาษาเหนือ หรือ "เรียง, เรียงพนม" ในภาษาเขมร[3]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Ashton, P. (1998). "Shorea siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. 1998: e.T32307A9694077. doi:10.2305/IUCN.UK.1998.RLTS.T32307A9694077.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. 2.0 2.1 "Shorea siamensis". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 19 May 2020.
  3. ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี
  NODES