รัชนีศ
รัชนีศ (ฮินดี: रजनीश) หรือที่รู้จักในนาม โอโช (ญี่ปุ่น: 和尚 oshō) เป็นคุรุชาวอินเดีย ผู้ก่อตั้งขบวนการรัชนีศ
รัชนีศ | |
---|---|
รัชนีศในเดือนกันยายน ค.ศ. 1984 | |
เกิด | จันทระ โมหัน ไชน 11 ธันวาคม ค.ศ. 1931 Kuchwada, รัฐโภปาล, บริติชอินเดีย |
เสียชีวิต | 19 มกราคม ค.ศ. 1990 ปูเน รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย | (58 ปี)
สัญชาติ | อินเดีย |
มีชื่อเสียงจาก | อาธยาตมิกตา, รหัสยลัทธิ |
ขบวนการ | นวสันนยาสิน |
เว็บไซต์ | osho |
ช่วงที่เขามีชีวิต ในคริสต์ทศวรรษ 1960 รัชนีศเดินทางทั่วอินเดีย แสดงปาฐกถาวิพากษ์แนวคิดสังคมนิยมว่าไม่เหมาะกับอินเดีย เพราะสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และอนาธิปไตย จะพัฒนาขึ้นได้ในสังคมที่ทุนนิยมเติบโตเต็มที่เท่านั้น นอกจากนี้เขายังวิพากษ์มหาตมา คานธี[1][2][3]และศาสนากระแสหลักในสมัยนั้นด้วย[4][5][6] เขาเน้นการฝึกสมาธิ สติ ความรัก การเฉลิมฉลอง ความกล้า ความคิดสร้างสรรค์ ความร่าเริง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ถูกความเชื่อ ศาสนา และสังคม กดทับไว้ให้แสดงออกได้ไม่เต็มที่ เขายังสนับสนุนการแสดงออกด้านเพศสภาพของมนุษย์[6] จนถูกวิจารณ์อย่างมากและได้รับฉายาว่า กามคุรุ[7][8]
ปี ค.ศ. 1970 รัชนีศอาศัยที่มุมไบ เพื่อสอนสาวกซึ่งเขาเรียกว่านวสันนยาสิน ปีต่อมาเขาเริ่มใช้ชื่อว่า ภควาน ศรี รัชนีศ (भगवान श्री रजनीश)[9] และเขียนวจนิพนธ์หลายเรื่องเกี่ยวกับศาสนา รหัสยิก และนักปรัชญาทั่วโลก ปี ค.ศ. 1974 เขาย้ายไปตั้งอาศรมที่ปูเน เพื่อให้การบำบัดแก่ชาวตะวันตกที่มาเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น[10][11] แต่ในปลายทศววรรษนั้นรัฐบาลพรรคชนตาได้เข้าตรวจสอบสำนัก และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังประมาณ 5 ล้านดอลลาร์[12]
ปี ค.ศ. 1981 รัชนีศให้ย้ายสำนักไปตั้งที่รัฐออริกอน ตั้งชื่อว่า "รัชนีศปุรัม" แต่เกิดปัญหาขัดแย้งกับประชาชนและรัฐบาลท้องถิ่นอย่างรุนแรง จนนำไปสู่การวางยาลอบสังหารประชาชนและลอบสังหารอัยการประจำรัฐออริกอน สาวกของเขารับสารภาพว่าเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด[13] ส่วนรัชนีศถูกเนรเทศจากสหรัฐ รัฐบาล 21 ประเทศปฏิเสธไม่รับเขาเข้าประเทศ[14] เขาจึงต้องกลับไปอาศัยที่อาศรมในเมืองปูเน ในช่วงนี้เขาสนใจศึกษานิกายเซน[15] เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 เขาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โอโช รัชนีศ จนถึงเดือนกันยายนจึงย่อเหลือเพียง โอโช[15][16] และให้เปลี่ยนชื่อองค์กรทั้งหมดจากรัชนีศเป็นโอโช (OSHO)[17][18] ต่อมาเขาสุขภาพอ่อนแอลง จนถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1990
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ FitzGerald 1986a, p. 77
- ↑ Carter 1990, p. 44
- ↑ Gordon 1987, pp. 26–27
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 March 2019. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Mehta 1993, p. 150
- ↑ 6.0 6.1 Joshi 1982, pp. 1–4
- ↑ Urban 1996, p. 82
- ↑ Carter 1990, p. 45
- ↑ FitzGerald 1986a, p. 78
- ↑ Joshi 1982, p. 123
- ↑ Mullan 1983, pp. 26
- ↑ Carter 1990, pp. 63–64
- ↑ FitzGerald 1986b, p. 108
- ↑ Aveling 1999, p. xxii
- ↑ 15.0 15.1 Fox 2002, p. 34
- ↑ Süss 1996, p. 30
- ↑ "OSHO: Background Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (etext)เมื่อ 20 February 2012. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
- ↑ Trademarks of Osho International Foundation เก็บถาวร 19 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 20 June 2018.
- บรรณานุกรม
- Aveling, Harry (ed.) (1999), Osho Rajneesh and His Disciples: Some Western Perceptions, Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1599-8
{{citation}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help). (Includes studies by Susan J. Palmer, Lewis F. Carter, Roy Wallis, Carl Latkin, Ronald O. Clarke and others previously published in various academic journals.) - Carter, Lewis F. (1990), Charisma and Control in Rajneeshpuram: A Community without Shared Values, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 0-521-38554-7
- FitzGerald, Frances (29 September 1986), "Rajneeshpuram", The New Yorker, สืบค้นเมื่อ 12 July 2011
- FitzGerald, Frances (22 September 1986), "Rajneeshpuram", The New Yorker, สืบค้นเมื่อ 12 July 2011
- Fox, Judith M. (2002), Osho Rajneesh – Studies in Contemporary Religion Series, No. 4, Salt Lake City: Signature Books, ISBN 1-56085-156-2.
- Gordon, James S. (1987), The Golden Guru, Lexington, MA: The Stephen Greene Press, ISBN 0-8289-0630-0
- Joshi, Vasant (1982), The Awakened One, San Francisco, CA: Harper and Row, ISBN 0-06-064205-X
- Mehta, Uday (1993), Modern Godmen in India: A Sociological Appraisal, Mumbai: Popular Prakashan, ISBN 81-7154-708-7
- Mullan, Bob (1983), Life as Laughter: Following Bhagwan Shree Rajneesh, London, Boston, Melbourne and Henley: Routledge & Kegan Paul Books Ltd, ISBN 0-7102-0043-9
- Süss, Joachim (1996), Bhagwans Erbe: Die Osho-Bewegung heute (ภาษาเยอรมัน), Munich: Claudius Verlag, ISBN 3-532-64010-4
- Urban, Hugh B. (2003), Tantra: Sex, Secrecy, Politics, and Power in the Study of Religion, Berkeley, CA: University of California Press, ISBN 0-520-23656-4