หมีดำ
หมีดำ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 2.6–0Ma สมัยไพลโอซีนตอนปลาย–สมัยโฮโลซีน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Ursidae |
สกุล: | Ursus |
สปีชีส์: | U. americanus |
ชื่อทวินาม | |
Ursus americanus Pallas, 1780 | |
ชื่อพ้อง | |
|
หมีดำ (อังกฤษ: American Black Bear) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[1] มีถิ่นที่อยู่ในป่าทางตอนเหนือของอเมริกา พบได้ทั่วไปในป่าร้อนชื้น
ลักษณะทางภายภาพ
แก้ความสูง; 2-3 ฟุต (0.6-0.9 เมตร) รอบตัว; 4-7 ฟุต (1.2-2เมตร) น้ำหนัก; 150-300 ปอนด์ หรือ 68-158 กิโลกรัม ในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า เพศผู้สามารถเจริญเติบโตได้สูงสุด 500-600 ปอนด์ หรือ 227-272 กิโลกรัม อายุเฉลี่ยยืนยาว 10- 30 ปี[2]
จากการศึกษาหมีดำ พบว่าขนสีดำของหมี มีไว้เพื่อดูดซับความร้อนหรือความอบอุ่นไว้กับตัวเพื่อใช้ในยามฤดูหนาว แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ความร้อนนี้เป็นปัญหาต่อหมีอย่างมาก เคยมีการศึกษาหมีดำโดยการซ่อนเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ขนหมี พบว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 80-90 องศาเซลเซียส เลยทีเดียว นับว่าใกล้กับจุดเดือดเป็นอย่างมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บางครั้งจะพบหมีดำเข้ามาแช่น้ำในสระน้ำหรือบ่อน้ำภายในบ้านเรือนมนุษย์เพื่อดับร้อน ทั้งที่เป็นสัตว์ขี้อาย [3]
ลูกผสม
แก้หมีดำสามารถสืบพันธุ์ได้กับหมีหลายสายพันธุ์และบางครั้งก็ให้กำเนิดลูกผสม ตามรายงานในMonkeys on the Interstateของแจ็ค ฮันนา หมีที่ถูกจับได้ในแซนฟอร์ดที่รัฐฟลอริดาถูกคิดว่าเป็นลูกผสมของหมีควายตัวเมียที่หลบหนีและหมีดำตัวผู้[4] ในปี 1859 หมีดำและหมีสีน้ำตาลยูเรเซียได้รับการผสมพันธุ์กันในสวนสัตว์ลอนดอนแต่ลูกทั้งสามที่เกิดมานั้นตายก่อนที่พวกมันจะโตเต็มที่ ในหนังสือ The Variation of Animals and Plants Under Domestication, ชาลส์ ดาร์วินได้ตั้งข้อสังเกตว่า:
ในรายงานเก้าปีระบุว่ามีการแสดงหมีในสวนสัตว์เพื่อจับคู่กันอย่างอิสระ แต่ก่อนหน้านี้จนถึงปี ค.ศ. 1848 ส่วนใหญ่ไม่ค่อยตั้งครรภ์ ในรายงานที่ตีพิมพ์ตั้งแต่วันนี้ มีสามสายพันธุ์ที่ออกลูกอ่อน (ลูกผสมในหนึ่งกรณี), ...[5]
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1986 มีหมีถูกยิงที่รัฐมิชิแกนโดยถูกสันนิษฐานว่าเป็นลูกผสมระหว่างหมีดำและหมีกริซลี เนื่องจากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ สมองและกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ขึ้นตามสัดส่วน การตรวจดีเอ็นเอไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นหมีดำตัวใหญ่หรือหมีกริซลี[6][ต้องการเลขหน้า]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2011-10-18.
- ↑ http://www.defenders.org/wildlife_and_habitat/wildlife/black_bear.php
- ↑ "เหตุการณ์ธรรมชาติสุดพิลึก ตอน 1, "สุดยอดสารคดีโลก"". ไทยพีบีเอส. 21 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "Hybrid Bears". messybeast.com
- ↑ Darwin, Charles (1868). The Variation of Animals and Plants Under Domestication. Vol. 2 (1st ed.). London: John Murray. p. 151. ISBN 978-1-4068-4250-0.
- ↑ Smith, Richard P. (2007). "Hybrid Black Bear". Black Bear Hunting. Stackpole Books. ISBN 978-0-8117-0269-0.
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- Craighead, Lance (2000). Bears of the World. Voyageur Press. pp. 63–80. ISBN 0-89658-503-4.
- Powell, Roger A (1997). Ecology and behaviour of North American black bears : home ranges, habitat, and social organization. Chapman & Hall,. ISBN 0-412-57990-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)