ฮอตดอก

ไส้กรอกประกบด้วยขนมปังผ่ากลาง มักมีท็อปปิ้งประกอบด้วย

ฮอตดอก (อังกฤษ: hot dog, hotdog) เป็นไส้กรอกนึ่งหรือย่างซึ่งวางในขนมปังที่ผ่ากลางแนวยาว โดยรับประทานในรูปแบบคล้ายแซนด์วิช[2][3][4][5] ชื่อของฮอตดอกอาจทำให้บางบุคคลคิดว่ามีเนื้อสุนัขเป็นส่วนประกอบหลัก แต่เนื้อสัตว์ที่นิยมใช้ทำฮอตดอกคือเนื้อวัว, หมู หรือ ไก่ หรืออาจเป็นเนื้อสัตว์สามหรือสองชนิดนี้ผสมรวมกันก็ได้ เครื่องปรุงที่นิยมรับประทานข้างเคียงได้แก่ มัสตาร์ด, ซอสมะเขือเทศ, หอมใหญ่, มายองเนส, แตงกวาดอง, เนยแข็ง, ชิลิกอนการ์เน และเซาเออร์เคราท์

ฮอตดอก
ฮอตดอกในขนมปังกับมัสตาร์ดบีบไว้ข้างบน
แหล่งกำเนิดเยอรมนี (ต้นแบบ)
สหรัฐ (แบบทันสมัย)
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเนื้อหมู, วัว, ไก่, หรือผสมทั้งสองหรือสาม และขนมปัง
รูปแบบอื่นหลากหลาย
พลังงาน
(ต่อ หน่วยบริโภค)
210[1] กิโลแคลอรี
ข้อมูลอื่นโดยมากเป็นสีแดง แต่บางครั้งอาจเป็นสีน้ำตาลก็ได้

โดยทั่วไปมักเชื่อว่าฮอตดอกมีแหล่งกำเนิดจากชาวเยอรมันที่อพยพไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา จนทำให้เป็นอาหารข้างถนนที่มีความนิยมสูงในสหรัฐอเมริกา โดยถือว่าเป็นอาหารอเมริกันได้เลยทีเดียว ในสหรัฐอเมริกา ฮอตดอกส่วนใหญ่มักมีจำหน่ายตามรถขายอาหารเคลื่อนที่ซึ่งมักอยู่ใกล้บริเวณสนามเบสบอล จนทำให้เป็นอาหารที่ชาวอเมริกันทุกคนนึกถึงเมื่อไปชมเบสบอล

แต่ความจริงแล้ว ฮอตดอกถือกำเนิดมานานกว่า 3,500 ปีแล้วในยุคบาบิโลเนีย มีลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ชาวโรมันเรียกอาหารประเภทนี้ว่า "Salsus" และเป็นที่ของคำว่า "Sausage" หรือไส้กรอกในภาษาอังกฤษ ในยุคกลาง เมืองต่าง ๆ ของทวีปยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น

ที่มาของคำว่า "ฮอตดอก" ที่แปลว่า "หมาร้อน" มาจาก ในปี ค.ศ. 1906 นักวาดการ์ตูนชื่อ โทมัส ดอร์แกน ได้แรงบันดาลใจจากรูปร่างที่โค้งงอคล้ายสุนัขดัชชุนของไส้กรอก และจากเสียงพ่อค้า "เห่า" ตะโกนเรียกคนซื้อ กอร์ดอนจึงได้วาดรูปสุนัขดัชชุนราดด้วยมัสตาร์ดประกบด้วยขนมปัง และเขียนบรรยายใต้รูปว่า "ซื้อหมาร้อน ๆ" (Get your hot dogs!) เล่ากันว่าดอร์แกนไม่สามารถสะกดคำว่า ดัชชุนได้ถูกต้อง จึงใช้คำว่า "หมา" แทน ปรากฏว่าคำว่าฮอตดอกกลายเป็นคำที่ติดปากชาวอเมริกันทั่วไป จนเลิกเรียกไส้กรอกด้วยคำอื่น ๆ และยังทำให้ชาวโลกคิดว่าฮอตดอกเป็นอาหารที่ชาวอเมริกันคิดขึ้นมาอีกด้วย[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Brady, William (11 June 1929). "Personal Health Service" (PDF). Amsterdam Evening Recorder. p. 5.
  2. "Hot Dogs Chain Store Basis". Los Angeles Times. 11 October 1925. p. 18.
  3. "Anniversary of Hot Dog, Bun" (PDF). Binghamton (NY) Sunday Press. 29 November 1964. p. 10D.
  4. Zwilling, Leonard (27 September 1988). "Trail of Hot Dog Leads Back to 1880's". New York Times. p. A34. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  5. Lavin, Cheryl (24 September 1980). "Hot dog! 2 mustard moguls who relish their work". Chicago Tribune. p. E1.
  6. "ทำไมต้องเรียกฮอตดอก[หมาร้อน]". gettolearnnew. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015.
  NODES