นกเค้า
นกเค้า ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยพาลีโอซีนตอนปลาย-ปัจจุบัน 60–0Ma | |
---|---|
นกเค้าโมง (Glaucidium cuculoides) ที่อำเภอแม่วงก์ ประเทศไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Strigiformes Wagler, 1830 |
วงศ์ | |
แผนที่แสดงการกระะจายพันธุ์ของนกเค้าแมว | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกเค้า หรือ นกฮูก เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น ค้างคาว หนู, งู สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลาหรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน
เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวันอย่างเหยี่ยวหรืออินทรีได้ บางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างนกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก[1]
เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาหลายกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก[2] หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่า[3]โดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง
นกเค้าที่พบในประเทศไทย
แก้สำหรับในประเทศไทยมีนกที่อยู่ในอันดับเค้าแมวถึง 18 ชนิด ได้แก่
วงศ์ Tytonidae
วงศ์ Strigidae
- นกเค้าโมง
- นกเค้าเหยี่ยว
- นกเค้าหน้าผากขาว
- นกเค้าแดง
- นกเค้าภูเขาหูยาว
- นกเค้าหูยาวเล็ก
- นกเค้ากู่
- นกเค้าแคระ
- นกเค้าจุด
- นกเค้าป่าหลังจุด
- นกเค้าป่าสีน้ำตาล ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Brown Wood-owl Strix leptogrammica[4]
- นกเค้าแมวหูสั้น ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Short-eared Owl Asio flammeus[5]
- นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Spot-bellied Eagle-owl Bubo nipalensis[6]
- นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Barred Eagle-owl Bubo sumatranus[7]
- นกเค้าใหญ่สีคล้ำ ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Dusky Eagle-owl Bubo coromandus[8]
- นกทึดทือพันธุ์เหนือ
- นกทึดทือมลายู
นกเค้าที่สามารถนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แก้ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ การค้าสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ จะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต (Permit) ซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้า (Import) ส่งออก (Export) นำผ่าน (Transit) และส่งกลับออกไป (Re-Export) โดยชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 (Appendix I,II,III) ของอนุสัญญา ซึ่งนกเค้าที่มีในแต่ละโซนคือ
ในทางวัฒนธรรมและความเชื่อ
แก้มีความเชื่อที่แตกต่างออกไปในบางวัฒนธรรม นกเค้าแมวหมายถึง สติปัญญา ในศาสนาฮินดู นกเค้าแมวเป็นพาหนะของพระแม่ลักษมี เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และพรรณข้าว ด้วยเชื่อว่าพระนางจะขี่นกเค้าแมวออกไปตรวจนาข้าวในเวลากลางคืน[9] ซึ่งก็คล้ายคลึงกับคติของกรีกโบราณ ที่นกเค้าแมวขนาดเล็กเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับอะธีนา เทพีแห่งสติปัญญา ดังนั้น ในทางวิทยาศาสตร์ ชื่อสกุลของนกเค้าจุดจึงใช้คำว่า Athene ซึ่งก็หมายถึง เทพีอธีนา นั่นเอง[10] ในญี่ปุ่น นกเค้าแมวถือเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและความโชคดี เนื่องจากนกเค้าแมวหรือนกฮูกในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 梟 (Fukurou) ซึ่งอาจแยกได้ว่า 福 (Fuku) แปลว่า โชคดี และ 郎 (Rou) ใช้ต่อท้ายชื่อเด็กผู้ชาย หรือ 不 (Fu) ที่แปลว่า ไม่ รวมกับ 苦労 (Kurou) ที่แปลว่า ความลำบาก ดังนั้นโดยรวมแล้ว นกเค้าแมวจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ที่เรียกว่า 縁起物 (Engimono) อีกทั้งยังใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอิบะระกิ[11]
ในพื้นที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางภาคใต้ของไทยมีการละเล่นพื้นบ้านที่เรียกว่า "รำโทนนกพิทิด" เป็นการร่ายรำอย่างสนุกสนาน ซึ่งนกพิทิดนั้นก็หมายถึง นกทึดทือ ซึ่งเป็นนกเค้าขนาดใหญ่นั่นเอง [12] [13]
ในฟุตบอลอังกฤษ มีทีมที่ใช้นกเค้าแมวเป็นสัญลักษณ์ของทีม คือ เชฟฟิลด์เวนสเดย์ ซึ่งเป็นทีมประจำเมืองเชฟฟิลด์ ก็มีฉายาว่า "นกเค้าแมว" อีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว ในวัฒนธรรมสมัยนิยม นกเค้าแมวยังถูกอ้างอิงถึงต่าง ๆ เช่น ในนวนิยายสำหรับเด็กแนวแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็มีนกเค้าแมวปรากฏในเรื่อง และในซีรีส์แนวโทคุซัทสึของญี่ปุ่นเรื่อง เจ็ทแมน นกเค้าแมวก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งในบรรดานักสู้เจ็ทแมนด้วย ด้วยการเป็นนักสู้ประจำสีเหลือง ชื่อ เยลโล่ โอว์
อ้างอิง
แก้- ↑ บางอ้อ - ฆ่าหนูด้วยนกแสก 1/2 จากรายการ, บางอ้อ
- ↑ ["How can a owl turn its head all way around? (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-31. สืบค้นเมื่อ 2012-10-30. How can a owl turn its head all way around? (อังกฤษ)]
- ↑ เค้าแมวมลายู..คู่หูแฮรี่ฯ นักล่าชีวิต..แห่งรัตติกาล จากไทยรัฐ
- ↑ http://www.siamfalconry.com/t450-topic[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.siamfalconry.com/t450-topic[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.siamfalconry.com/t450-topic[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.siamfalconry.com/t450-topic[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.siamfalconry.com/t450-topic[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตะกรุดนกทึกทือ สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระแม่ลักษมีเทวี พระชายาแห่งองค์พระวิษณุ
- ↑ Athena and the Owl? เก็บถาวร 2011-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากยาฮู
- ↑ ""นกฮูก" สัญลักษณ์แห่งความสุขและโชคดี!!!". anngle.org. 1 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 17 11 58". ฟ้าวันใหม่. 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 18 November 2015.
- ↑ "WU04นกพิทิด วัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งกรุงชิง". อาศรมวัฒนธรรม วลัยลักษณ์. 16 May 2013. สืบค้นเมื่อ 18 November 2015.
- บุญส่ง เลขะกุล. นกสามถิ่น นกสวน นกท้องนา นกป่าดง. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2537.