ฮ่วยซัว
ฮ่วยซัว | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของหัวฮ่วยซัว | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Dioscoreales |
วงศ์: | Dioscoreaceae |
สกุล: | Dioscorea |
สปีชีส์: | D. polystachya |
ชื่อทวินาม | |
Dioscorea polystachya Thunb. | |
ชื่อพ้อง | |
Dioscorea batatas auct. |
ฮ่วยซัว หรือ ไหฺวชาน หรือ กลอยจีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea polystachya; อังกฤษ: Chinese yam, Korean yam, nagaimo; จีน: 淮山; พินอิน: huáishān) เป็นพืชในสกุลกลอย (Diocorea) ซึ่งต่างจากสมาชิกอื่นที่สามารถรับประทานดิบได้ ในอาหารญี่ปุ่นนำไปรับประทานดิบหรือบด โดยนำทั้งหัวไปล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อล้างผลึกออกซาเลตออกก่อน
ชื่อเรียก
แก้ฮ่วยซัว (D. polystachya) มีชื่อเรียกหลายชื่อ ในมณฑลทางใต้ เช่นกวางตุ้งมักเรียกว่า "ฮ่วยซัว" ตามสำเนียงภาษาแต้จิ๋ว มณฑลอานฮุยและเจียงซูเรียก "ไหฺวชาน" ตามสำเนียงภาษาจีนกลาง แต่โดยทั่วไปในทางภาคกลางและภาคเหนือเรียก "ชานเหย้า" (山药) หรือ เถี่ยกุ้นชานเหย้า (ชานเหย้ากระบองเหล็ก) (หรือ ซัวเอี๊ยะ ตามสำเนียงภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งทั้งสองมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย[1] ในตำราแพทย์จีนเรียก "ไหฺวชานเหย้า" (怀山药 และ 淮山药) บางครั้งพืชในสกุลกลอย (Diocorea) ในภาษาจีนเรียกโดยรวม ฉู่หยู (薯蓣)
ในประเทศไทยอาจเรียก "กลอยจีน"[2] หรือ "มันแกวจีน"[3]ในบางครั้ง
ในมณีปุระเรียกว่า "ฮา"
ในเวียดนามเรียก củ mài หรือ khoai mài และเมื่อนำฮ่วยซัวไปแปรรูปเป็นยาเรียกว่า hoài sơn หรือ tỳ giải.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้ฮ่วยซัว เป็นไม้ลัมลุกเถาเลื้อย รูปทรงของใบสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปเถาจะมีความยาว 3–5 เมตร แต่สามารถยาวได้กว่านี้ เลื้อยเกลียวตามเข็มนาฬิกา ใบมีความยาวและกว้างมากถึง 11 เซนติเมตร ซอกใบมักมีกระเปาะเป็นตุ้มห้อยและขนาดใหญ่ อาจงอกเรียงติดกันหรือตรงข้ามกัน กระเปาะทรงรีมน ยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร บางครั้งมีกระเปาะตา 1-3 ตุ้ม[4][5]
หัวใต้ดิน เติบโตในแนวตั้ง มีผิวหยาบสีน้ำตาลเหลือง รากเป็นเส้นใยบาง ๆ หนาแน่น ออกตามตุ่มตา หัวทรงกระบอก[6] มี 1 หัวขึ้นไป ที่ใหญ่ที่สุดอาจมีน้ำหนัก 2-3 กก. และชอนรากได้ 1 เมตรใต้ดิน[6] ไหฺวชานมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่หนาวจัดและเย็นกว่ามันเทศ และกลอยอื่น ๆ
ดอกไม้ สีขาวนวล ออกดอกในฤดูร้อน เป็นดอกเดี่ยว แต่มักไม่ติดผล เนื่องจากส่วนใหญ่ขยายพันธุ์ทางหัว
ฮ่วยซัว | ชานเหย้า |
---|---|
|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 王霜 山药是淮山吗 เก็บถาวร 2021-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 致富热 13 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธุ์ 2564.
- ↑ ชาวจีนเน้นกินอาหารให้สมดุลถูกธาตุ จบ MGR Online, 11 สิงหาคม 2560.
- ↑ มันแกวจีน(ฮวยซัว)เป็นอย่างไร? เก็บถาวร 2021-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถานีตำรวจภูธรทุ่งช้าง, 17 ธันวาคม 2563.
- ↑ The new American landscape : leading voices on the future of sustainable gardening. Christopher, Thomas. Portland, Or.: Timber Press. 2011. ISBN 978-1-60469-186-3. OCLC 656556665.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Toensmeier, Eric, (2013). Paradise lot : two plant geeks, one-tenth of an acre, and the making of an edible garden oasis in the city. Bates, Jonathan, 1974-. White River Junction, Vt.: Chelsea Green Pub. ISBN 978-1-60358-399-2. OCLC 759171786.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 Gucker, Corey L. (2009). "Dioscorea spp". Fire Effects Information System (FEIS). US Department of Agriculture (USDA), Forest Service (USFS), Rocky Mountain Research Station, Fire Sciences Laboratory – via https://www.feis-crs.org/feis/.