โกโก้
โกโก้ | |
---|---|
ต้นและผลโกโก้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
อาณาจักรย่อย: | Tracheobionta |
หมวด: | Magnoliophyta |
ไฟลัม: | Streptophyta |
ชั้น: | Equisetopsida |
ชั้นย่อย: | Magnoliidae |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Malvaceae |
วงศ์ย่อย: | Byttnerioideae |
เผ่า: | Theobromeae |
สกุล: | Theobroma |
สปีชีส์: | T. cacao |
ชื่อทวินาม | |
Theobroma cacao L. | |
ชื่อพ้อง | |
|
โกโก้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Theobroma cacao L.) เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดเล็กในวงศ์ชบา[2] และเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนชื้นของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เมล็ดโกโก้มักนำมาใช้ทำเป็นของหวาน เช่น กานัช, ช็อกโกแลต ฯลฯ[3]
Theobroma cacao ได้รับการตั้งชื่อโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน Carl Linnaeus ในปี 1753 ชื่อสามัญ Chocolate Nut Tree, Cocoa, Cocoa tree ในไทยเรียกว่า โกโก้ โดย Theobroma แปลว่า 'อาหารของเหล่าทวยเทพ' ในภาษาลาติน โกโก้มาจากคำว่า Nahuatl (ภาษาแอซเท็ก) และ xocolatl มาจาก xococ มีความหมายว่า ขม ส่วน atl มีความหมายว่า น้ำ[4]
ถิ่นกำเนิดและการกระจาย
แก้โกโก้มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนเหนือ (โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา บราซิล กายอานา ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา) อีกทั้งยังถูกนำมาใช้เป็นพืชปลูกในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา (กาน่า ไนจีเรีย และไอวอรี่โคสต์) และเอเชีย (มาเลเซีย และอินโดนีเซีย)[5]
ในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ โกโก้เติบโตได้ดีในป่าดิบชื้นที่เขียวชอุ่มตลอดปี และเติบโตที่ระดับความสูงต่ำ โดยปกติจะอยู่เหนือระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 300 เมตร ในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝน 1,000 ถึง 3,000 มิลลิเมตรต่อปี[4] โดยโกโก้สามารถเติบโตได้ดีในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equator) ทางเหนือ ไม่เกินเส้น Tropic of Cancer (latitude ที่ 23.5 องศาเหนือ) และทางใต้ไม่เกินเส้น Tropic of Capricorn (latitude ที่ 23.5 องศาใต้) เนื่องจากเป็นบริเวณที่เหมาะสมทางภูมิอากาศ (ร้อนชื้น) มีอุณหภูมิระหว่าง 21-23 องศาเซลเซียส[5]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้โกโก้เป็นไม้ยืนต้นเขียวชอุ่มตลอดปี สูง 5 ถึง 8 เมตร พบเติบโตใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ปกคลุมชั้นบนสุดของป่าฝน มันมีรากแก้วซึ่งแทรกซึมลึกลงไปใต้ผิวดิน
ใบ: ใบสีเขียวเข้มมันวาวคล้ายหนัง รูปไข่หรือรูปรี ยาว 20 ถึง 35 ซม. กว้าง 7 ถึง 8 ซม. ผิวใบไม่มีขนหรือมีขนรูปดาวกระจายอยู่ทั่วไป โคนใบมีลักษณะกลมหรือรูปหัวใจ ปลายใบยาว
ดอกไม้: ดอกโกโก้มีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลืองถึงสีชมพูอ่อน และรวมตัวกันเป็นกระจุกที่เกิดจากลำต้นโดยตรง ออกดอกตลอดทั้งปี
ฝักโกโก้: ผลไม้เป็นผลเบอร์รี่สีแดงถึงน้ำตาลรูปไข่ (โดยทั่วไปเรียกว่า 'ฝักโกโก้') ยาว 15 ถึง 25 ซม. มีพื้นผิวเป็นปุ่มและมีเส้นจากบนลงล่างมากหรือน้อย 'ฝัก' ประกอบด้วยเมล็ด 30 ถึง 40 เมล็ด แต่ละเมล็ดล้อมรอบด้วยเนื้อสีขาวที่มีรสหวานอมขม ในป่า เมล็ดพืชจะกระจายและกินโดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่างๆ เมื่อเมล็ดแห้งจากแสงแดด เมล็ดจะมีสีน้ำตาลแดง เรียกว่าเมล็ดโกโก้[4]
การเก็บเกี่ยว
แก้โกโก้จะเริ่มให้ผลผลิตหลังปลูก 3 ปี โดยโกโก้จะออกดอกใหม่ทุก 2-3 สัปดาห์ หลังจากดอกบาน 5-6 เดือน สามารถเริ่มเก็บผลโกโก้ได้[6] ซึ่งการติดผลและการให้ผลผลิตของโกโก้มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เช่น การกระจายของฝน อุณหภูมิ แสงและความชื้นในดิน[7]
คุณสมบัติและสารสำคัญ
แก้โพลีฟีนอล (Polyphenol) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งพบได้ใน ผลไม้ ผัก ชา ไวน์ โกโก้ และช็อกโกแลต มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล และลดระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งโกโก้ยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยฟลาวานอล (Flavanols) ซึ่งสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย[8]
ประโยชน์และการนำไปใช้
แก้โกโก้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยอารยธรรมมายาในอเมริกากลาง และถูกนำกลับไปยุโรปโดยนักเดินเรือชาวสเปนในศตวรรษที่ 16 ต่อมาโกโก้กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในฐานะยาเพื่อสุขภาพ[8] ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น อาหารสัตว์ ยาพิษ ยารักษาโรค และอาหาร โกโก้หลายส่วนถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หลายประการ เมล็ดโกโก้ที่ไม่ผ่านการหมักและเปลือกหุ้มเมล็ดใช้ในการรักษาโรคต่างๆ รวมถึงโรคเบาหวาน ระบบย่อยอาหาร และอาการเจ็บหน้าอก ผงโกโก้ที่ทำจากเมล็ดโกโก้หมักใช้เพื่อป้องกันโรคหัวใจ และเนยโกโก้ถูกนำมาใช้เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล แม้ว่าประสิทธิภาพจะไม่ชัดเจนก็ตาม[4]
รายการอ้างอิง
แก้- ↑ http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2519807a[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Theobroma cacao". Encyclopedia of Life. สืบค้นเมื่อ 9 November 2012.
- ↑ "Pharmacognosy and Health Benefits of Cocoa Seeds, Cocoa Powder (Chocolate)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-23. สืบค้นเมื่อ 2017-10-04.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Theobroma cacao L. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 5.0 5.1 https://www.opsmoac.go.th/dc-dwl-files-431091791168
- ↑ npkthailand.com http://npkthailand.com/knowledge/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%A1#:~:text=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95,%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ https://hectortarr.arda.or.th/api/uploaded_file/oXfjymTW93tSaVb--5cXG
- ↑ 8.0 8.1 "โกโก้ บริโภคอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ". www.samitivejhospitals.com.