ไส้ติ่ง
ไส้ติ่ง (อังกฤษ: appendix, vermiform appendix, cecal (หรือ caecal) appendix, vermix) เป็นท่อตันเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum หรือ caecum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าของลำไส้ใหญ่ที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก
Vermiform Appendix | |
---|---|
Arteries of cecum and vermiform appendix (appendix visible at lower right, labeled as "vermiform process") | |
Normal location of the appendix relative to other organs of the digestive system (frontal view) | |
รายละเอียด | |
คัพภกรรม | Midgut |
ระบบ | Digestive |
หลอดเลือดแดง | appendicular artery |
หลอดเลือดดำ | appendicular vein |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | appendix vermiformis |
MeSH | D001065 |
TA98 | A05.7.02.007 |
TA2 | 2976 |
FMA | 14542 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
ชื่อ "vermiform" มากจากภาษาละติน แปลว่า "รูปตัวหนอน"
ไส้ติ่งพบได้ทั่วไปใน Euarchontoglires และมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในสัตว์กลุ่ม diprotodont และ marsupials ไส้ติ่งในสัตว์ต่างๆ จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านขนาดและรูปร่าง[1]
ในมนุษย์
แก้ไส้ติ่งมีความยาวเฉลี่ย 11 ซม. (ขนาดที่พบได้อาจเป็น 2 ถึง 20 ซม.) เส้นผ่านศูนย์กลางของไส้ติ่งปกติอยู่ระหว่าง 7-8 มม. ไส้ติ่งที่ยาวที่สุดที่ถูกผ่าตัดออกมีความยาวถึง 26 ซม. พบในคนไข้จากโครเอเชีย.[2]
อวัยวะที่ไม่ใช้งานแล้ว
แก้ไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ตอนต้นที่หดเล็กลงตามกระบวนการวิวัฒนาการ ในบรรพบุรุษของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์กินพืชลำไส้ใหญ่ส่วนนี้เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยเซลลูโลสที่พบในพืช[3]
การทำงานที่อาจเป็นไปได้
แก้ระบบภูมิคุ้มกัน
แก้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเสนอว่าไส้ติ่งอาจเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ใหญ่ของมนุษย์[4]
โรค
แก้โรคที่พบได้บ่อยบริเวณไส้ติ่งได้แก่ไส้ติ่งอักเสบและเนื้องอก มะเร็งไส้ติ่งพบได้ประมาณ 1 ใน 200 ของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร
อ้างอิง
แก้- ↑ SMITH, H. F., FISHER, R. E., EVERETT, M. L., THOMAS, A. D., RANDAL BOLLINGER, R. and PARKER, W. (2009), Comparative anatomy and phylogenetic distribution of the mammalian cecal appendix. Journal of Evolutionary Biology, 22: 1984–1999. doi: 10.1111/j.1420-9101.2009.01809.x
- ↑ "Guinness world record for longest appendix removed". Guinnessworldrecords.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-24. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03.
- ↑ "Animal Structure & Function". Sci.waikato.ac.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03.
- ↑ Associated Press. "Scientists may have found appendix's purpose". MSNBC, 5 October 2007. Accessed 17 March 2009.