ดูเพิ่ม: ล่ะ

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ละ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิง
ราชบัณฑิตยสภาla
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/laʔ˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับอีสาน ละ, ลาว ລະ (ละ), คำเมือง ᩃᩡ (ละ) หรือ (), เขิน ᩃᩡ (ละ), ไทลื้อ ᦟᦰ (ละ); เทียบเขมร លះ (ละ) หรือ ស្រឡះ (สฺรฬะ), มอญ ဗၠး (พฺลห์)

คำกริยา

แก้ไข

ละ (คำอาการนาม การละ)

  1. (สกรรม) แยกตัวไปให้พ้นจากสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่
    ละถิ่นฐาน
    ละสังขาร
  2. (สกรรม) ทิ้ง, ปล่อย, วาง, เลิก
    ละพยศ
  3. (สกรรม) เว้นว่างคำหรือข้อความโดยใช้ เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ หรือเขียนว่างเป็น จุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย รูป -"แสดงว่าคำหรือข้อความดังกล่าวซ้ำกับ บรรทัดบน.

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับจ้วงแบบจั่วเจียง lah (ละ, เลอะ, ละ)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

ละ

  1. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็น หน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป
    กลุ่มละ 3 คน
    โบนัสปีละ 2 เดือน

รากศัพท์ 3

แก้ไข

กร่อนมาจาก แล้ว

คำอนุภาค

แก้ไข

ละ

  1. คำประกอบกริยาเพื่อเน้น ความให้มีน้ำหนักหรือเพื่อบอกความแน่นอน
    จบละ
    เลิกละ
  2. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ ให้เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น
    ผู้หญิง ละก็ขี้งอนทุกคน

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ละ (คำอาการนาม ก๋ารละ หรือ ก๋านละ)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩡ (ละ)
  NODES